มะเร็งในเด็กสังเกตได้อย่างไร?
การบอกอาการและสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองในเด็กนั้น สามารถทำได้ยาก ต้องอาศัยการสังเกตจากพ่อแม่ โดยมีวิธีการสังเกตจากอาการที่พบได้บ่อย ดังต่อไปนี้
- คลำได้ก้อนเนื้อผิดปกติ
- มีไข้บ่อย
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ซีด หรือมีจุด/จ้ำ/ห้อเลือดง่าย
- อ่อนเพลียง่าย ไม่ซุกซนเหมือนเคย หรือโยเยผิดปกติ
มะเร็งในเด็กมีอาการรุนแรงหรือไม่? รักษาอย่างไร?
โดยธรรมชาติของโรคมะเร็งในเด็กนั้น จะมีความรุนแรงสูง แพร่กระจายได้เร็วกว่าโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ ทำให้เมื่อตรวจพบก็จะอยู่ในระยะท้าย ๆ ของโรค แต่ข้อดีคือ โรคมะเร็งในเด็กมักจะตอบสนองได้ดีต่อการรักษา เช่น ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา แม้ว่าการรักษาทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมานั้น มีผลข้างเคียงมากกว่าผู้ใหญ่
ดังนั้น แนวทางและวิธีรักษาโรคมะเร็งในเด็ก จะรักษาเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ได้แก่ การผ่าตัด ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งในกลุ่มโรคระบบโลหิตวิทยา เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว การปลูกถ่ายไขกระดูก และการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stem cell) เป็นอีกวิธีรักษาสำคัญในโรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยาในเด็ก ซึ่งให้ผลการรักษาสูงกว่าในผู้ใหญ่
สำหรับแม่ท้องทุกคน เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ นี้แล้ว คนที่สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกในท้องต้องเป็น มะเร็งในเด็ก ได้ นั่นก็คือตัวแม่ท้องเอง ดังนั้น จึงควรระวังและหลีกเลี่ยงการทาน การสัมผัส การสูดดม สารที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในเด็กทุกชนิด
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
10 อาหารก่อมะเร็ง ยิ่งกินมาก ยิ่งทำลายสุขภาพ
เบคอน อาหารปลิดชีวิตคนจากมะเร็งได้พอ ๆ กับบุหรี่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ในเด็ก โรคร้ายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
ขอบคุณข้อมูลจาก : หาหมอ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่