6.ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด
เป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการบริโภคแร่ธาตุไอโอดีนน้อย ภาวะนี้เป็นภาวะซ่อนเร้นที่ไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาภายใน 2 เดือนหลังคลอด จะยิ่งมีผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโต และระบบการทำงานของสมอง
คุณแม่สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยการรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีน และตรวจเลือดลูกน้อยก่อนออกจากโรงพยาบาล เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
7.ภาวะลำไส้ขาดเลือดจากการบิดขั้ว
เกิดจากการเรียงตัวของลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะผิดปกติ ทำให้เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงผนังลำไส้เกิดการบิดขั้ว ส่งผลให้ลำไส้อยู่ในภาวะขาดเลือด หากได้รับการรักษาล่าช้า อาจทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้
โดยเด็กทารกแรกเกิดจะมีลักษณะปกติทุกอย่าง แต่จะเริ่มมีอาการท้องอืด อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด หากปล่อยไว้เด็กจะมีอาการซึม ตัวซีด มีภาวะช็อก และเสียชีวิตในที่สุด จึงควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วน
8.โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม พบได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือการติดเชื้อโรค หรือจากสุขภาพของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคเบาหวานในเด็ก โรคตาขี้เกียจ หรือโรคตามัว หรือกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
9.พัฒนาการบกพร่อง
โรคเกี่ยวกับพัฒนาการบกพร่อง ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เช่น เด็กสมาธิสั้น หรือไฮเปอร์ หรือเอดีเอชดี (ADHD: Attention deficit hyperactivity disorder) และโรคออทิสติก (Autis tic)
10.โรคเกี่ยวกับระบบต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน รวมถึงโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งตา มะเร็งไต มะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น