วิธีการปฏิบัติ เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม
การช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กที่มีการอุดตันทางเดินหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเวลาที่จะช่วยกู้ชีวิตเพื่อไม่ให้สมองตายนั้น มีเพียง 4 นาที ถ้ามีการอุดตันแบบสมบูรณ์จะไม่มีทางที่อากาศเข้าไปได้ ดังนั้นจะไม่มีหน่วยฉุกเฉินใดช่วยได้ทันเวลาแน่นอน จึงจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กต้องมีความสามารถในการปฏิบัติการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม
โดยท่าที่ใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี คือ
1. อย่าใช้นิ้วหาสิ่งแปลกปลอมที่อุดตันในลำคอ
2. ให้วางเด็กคว่ำหน้าลงตามท้องแขนแล้วตบที่หลังค่อนข้างแรง 5 ครั้ง (รูปที่ 1)
3. ถ้าไม่สำเร็จจับเด็กนอนหงายบนมืออีกข้างหรือบนตัก ใช้นิ้ว 2 นิ้ว กดหน้าท้องบนกระดูกหน้าอกตอนล่าง (รูปที่ 2)
4. ตรวจดูในปากและล้วงสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นออกมา ทำซ้ำทั้งหมดได้อีกถ้าเด็กเริ่มไม่รู้สึกตัว เริ่มทำปฏิบัติการกู้ชีวิตและโทรศัพท์ขอรถพยาบาล
ท่าที่ใช้สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปีคือท่ากดท้องโดยผู้ช่วยเหลือยืนทางด้านหลัง
1. ให้เด็กที่สำลักก้มไปด้านหน้า และตบแรง ๆ 5 ครั้ง ระหว่างกระดูกสะบัก 2 ข้าง
2. ถ้าไม่สำเร็จลองกดหน้าท้อง สิ่งที่อุดตันอาจจะหลุดออกมาถ้ามีอะไรมากกระตุ้นกะบังลมทันที
3. ตบหลังและกดหน้าท้องสลับกันต่อไปอีก
4. ถ้าผู้ที่สำลักเริ่มไม่รู้สึกตัว จับนอนหงายบนพื้น คุกเข่าคร่อมและกดหน้าท้อง
วิธีการ ช่วยตนเองจากอาการสำลักด้วยวิธีเฮมลิก
วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ (Heimlich Maneuver) เป็นวิธีที่ใช้ช่วยผู้ที่มีอาการสำลักโดยทั่วไป ถ้าเกิดว่าไม่มีใครอยู่ใกล้ๆ ที่พอจะช่วยตัวเราได้เลย เราก็สามารถใช้วิธีนี้ช่วยตนเองจากอาการสำลักได้ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้
-
เตรียมพร้อมที่จะใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์
1. พยายามไอให้สิ่งแปลกปลอมออกมา
ถ้าคุณรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ที่คอ ให้ลองไอให้มันออกมา ถ้าคุณไอแรงพอจนทำให้สิ่งนั้นหลุดออกมาได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ แต่ถ้าคุณไม่สามารถไอให้มันออกมาได้และหายใจลำบาก คุณจะต้องรีบใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่เพียงคนเดีย โดยคุณต้องนำสิ่งที่ติดอยู่ในหลอดลมออกไปให้ได้ก่อนที่คุณจะหมดสติ[1] แม้ว่าจะใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์อยู่ แต่ก็ให้พยายามไอแรงๆ ต่อไปเรื่อยๆ
2. กำมือ เมื่อพร้อมที่จะเริ่มการช่วยเหลือตนเอง
ต้องกำมือไว้ที่ตำแหน่งที่ถูกต้องก่อน ให้กำมือข้างที่ถนัดไว้บริเวณท้องเหนือสะดือแต่ใต้ซี่โครง โดยคุณจะต้องแน่ใจว่ามือของคุณนั้นอยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่เป็นการทำให้ซี่โครงบาดเจ็บ และเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดออกมา ซึ่งการกำมือตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเดียวกันกับวิธีเฮมลิก แมนูเวอร์แบบพื้นฐาน[2]
3. ใช้อีกมือหนึ่งจับมือข้างที่กำไว้
เมื่อคุณกำมือที่ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ให้ใช้อีกมือหนึ่งจับมือข้างที่กำไว้จะได้มีแรงมากขึ้น กางมือออกและโอบกำปั้นไว้ คุณจะต้องแน่ใจว่ากำปั้นอยู่ตรงกลางที่ฝ่ามือ นี่จะเป็นการช่วยให้คุณกระแทกได้แรงขึ้นเมื่อคุณเริ่มการทำวิธีเฮมลิก แมนูเวอร์[3]
-
เริ่มการทำวิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ด้วยตนเอง
- กระแทกมือที่กำไว้เข้ามาและดันทางด้านบน : ในการพยายามทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา คุณจะต้องกระแทกกำมือไปยังบริเวณกะบังลมหรือบริเวณท้อง โดยกระแทกเร็วๆ ในทิศทางที่เหมือนตัว J กล่าวคือ กระแทกเข้ามาและดันขึ้นด้านบน ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ถ้าวิธีนี้ยังไม่ช่วยให้เศษอาหารหลุดออกมา คุณอาจจะต้องกระแทกเข้ากับวัตถุที่มั่นคง เช่น โต๊ะ เพื่อเพิ่มแรงเข้าไปอีก[4]
- ใช้วัตถุที่มั่นคงเพิ่มแรงกระแทก : คุณต้องหาวัตถุที่มีความมั่นคงในบริเวณนั้น โดยเป็นวัตถุที่มีความสูงระดับเอวโดยที่คุณสามารถโค้งตัวไปกระแทกได้ สิ่งที่ใช้ได้ เช่น เก้าอี้ โต๊ะ หรือเคาน์เตอร์ ให้โค้งตัวเข้าหาเก้าอี้ โต๊ะ เคาน์เตอร์ หรือสิ่งที่มั่นคงแข็งแรงอื่นๆ โดยตอนนี้มือของคุณจะกำแน่นอยู่ที่ด้านหน้าตัวคุณ ใช้อีกมือโอบรอบกำมือและให้อยู่ระหว่างเก้าอี้และท้องของคุณ จากนั้นกระแทกตัวเข้าหาวัตถุนั้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงได้มากในการกระแทกที่กระบังลม ซึ่งมันจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดแน่นอยู่หลุดออกมา[5]
- ทำซ้ำ : คุณอาจจะไม่สามารถทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาในครั้งแรกได้ คุณจะต้องทำซ้ำๆ เร็วๆ และกระแทกตัวเข้ากับโต๊ะและเก้าอี้ที่มั่นคงจนกว่าสิ่งที่ติดอยู่จะหลุดออกมา เมื่อมันหลุดออกมาแล้ว คุณจะหายใจได้อย่างเป็นปกติ [6] แม้ว่ามันจะดูน่ากลัว แต่คุณควรที่จะใจเย็นๆ ไว้ การตื่นตระหนกจะเป็นการเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและทำให้ต้องการอากาศมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้สถานการณ์แย่ขึ้น เพราะถ้าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาแล้ว ให้นั่งลงและพักเหนื่อย แต่หากยังรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บคอ คุณจะต้องรีบไปพบแพทย์[7]
ทั้งนี้หากเกิดการสำลักอาหาร หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดในลำคอและไม่สามารถทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดออกมาได้ด้วยตัวเอง ให้รีบโทรไปที่เบอร์ 1554 สายด่วนกู้ชีพ วชิรพยาบาล
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- รู้ไว้ช่วยลูกรอด! คลิปสาธิตวิธี ช่วยชีวิต CPR เมื่อลูกหยุดหายใจ
- วิธีสังเกตอาการ หายใจผิดปกติ ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
- อุทาหรณ์ 13 สิ่งของต้องระวัง ทำลูกน้อยเสี่ยงเสียชีวิต
ข้อมูลอ้างอิง ตามลำดับ :
[1] http://swallowingdisorderfoundation.com/how-to-save-your-own-life-the-self-heimlich-maneuver/
[2] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[3] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[4] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[5] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/imagepages/1100.htm
[6] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[7] http://swallowingdisorderfoundation.com/how-to-save-your-own-life-the-self-heimlich-maneuver/
[8] http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-choking/basics/art-20056637
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.siamzaa.net , th.wikihow.com , www.csip.org
ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก : www.facebook.com/LaCrosseSchools/?hc_ref=PAGES_TIMELINE