การใช้โคเดอีนในประเทศไทย
ด้วยคุณสมบัติของโคเดอีนที่มีฤทธิ์ระงับอาการไอ ในทางการแพทย์จึงนำโคเดอีนเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตยาแก้ไอ ซึ่งปัจจุบันได้มีการขออนุญาตผลิตยาแก้ไอที่ผสมโคเดอีนหลายชื่อการค้าด้วยกัน มีทั้งชนิดน้ำและชนิดเม็ด แต่ในประเทศไทย อาจไม่น่ากังวลเช่นในต่างประเทศ เนื่องจากยาแก้ไอผสมโคเดอีน ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม มีได้เฉพาะสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาอาจจะ/มักผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารกก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารก เมื่อคลอด เด็กจะเติบโตได้ช้า มีอาการจากติดยาและมีการกดการหายใจได้
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้โคเดอีนเพราะจะเกิดการแพ้ยาได้
- ด้วยโคเดอีนมีฤทธิ์เสพติด จึงต้องระมัดระวังในการรับประทานยาอย่างถูกต้องเฉพาะตามแพทย์/พยาบาล/เภสัชกรแนะนำเท่านั้น เพื่อป้องกันการเสพติดยาโดยรู้ไม่เท่าทัน
- โคเดอีนมีฤทธิ์กดการหายใจของร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะการหายใจติดขัด จึงต้องระ วังการใช้ยากับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจโรคหืด
- ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้สูงอายุ เพราะเกิดผลข้างเคียงสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ทั่วไป โดย เฉพาะการกดการหายใจ
- ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์ โมน) เพราะโคเดอีนมักทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงทำให้รู้สึกหนาวสั่นมากขึ้น
- ผู้ที่ได้รับยาโคเดอีนไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานกับเครื่องจักร เพราะยาจะทำให้ง่วงนอนจึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความน่าสนใจ
ลูกไอมีเสมหะ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก reuters.com , fda.moph.go.th , haamor.com