ทำไมภาวะตัวเย็นเกินถึงอันตราย ทำเด็ก หนาวตาย ได้?
เพราะเด็กทารกหรือเด็กเล็กไม่สามารถอธิบายอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ อีกทั้งกลุ่มเด็กอ่อนแรกเกิดจนถึง 1 เดือนนั้น อวัยวะภายในและศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังทำงานได้เพียง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ รวมทั้งมีไขมันใต้ผิวหนังที่ช่วยสร้างพลังงานให้ความร้อนแก่ร่างกายน้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้อุณหภูมิร่างกายเด็กเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นแม่ ๆ ที่มีลูกเล็กและทารก ควรคอยสังเกตความผิดปกติอย่างใกล้ชิด โดยเด็กที่อาจเกิดภาวะตัวเย็น จะมีอาการ ดังต่อไปนี้
- วัดอุณหภูมิบริเวณใต้รักแร้หรือทวารหนัก พบว่ามีอุณภูมิร่างกายต่ำกว่า 36.4 องศาเซลเซียส
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ซึม
- ไม่ค่อยดูดนม
- ผิวหนังเย็นและแดง
- แขนขาและหน้าท้องเย็น
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เมื่อได้รับการตรวจวัดโดยแพทย์ จะพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ออกซิเจนในเลือดต่ำ หรืออาจมีอาการหยุดหายใจเป็นระยะ
การป้องกันลูกจากภัยหนาว ป้องกันเด็ก หนาวตาย
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตือนว่า สำหรับแม่ ๆ ที่มีลูกเล็กและทารก ควรดูแลความอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และเสื้อกันหนาว สวมหมวกไหมพรม ถุงเท้า และห่มผ้าหนา ๆ เวลานอน อย่าให้เด็กนอนใกล้ประตูหน้าต่างที่มีลมโกรก ควรอาบน้ำช่วงสาย วันละ 1 ครั้ง และใช้น้ำอุ่นอาบ ให้ทาโลชั่นป้องกันผิวแห้งแตก และให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ จะช่วยลดอาการปากแห้งแตกได้ เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพออยู่แล้ว และไม่ควรพาลูกอ่อนออกไปเที่ยวนอกบ้าน ไม่ว่าจะอุ้มหรือใส่รถเข็นเด็ก เนื่องจากเด็กยังปรับอุณหภูมิของร่างกายได้ไม่ดี อาจเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่าย
ในช่วงที่อากาศหนาวเช่นนี้ นอกจากจะต้องคอยระวังไม่ให้ลูกหนาวเกินไปจนเกิดภาวะตัวเย็นเกิน (Cold Stress) แล้ว ยังต้องคอยระวังโรคภัยต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอากาศหนาว เช่น หัด หัดเยอรมัน ไข้หวัดใหญ่ ท้องร่วงเฉียบพลัน ปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ เป็นต้น
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
โรคหน้าหนาว ที่ทุกคนในครอบครัวต้องระวัง
ระบาดหนัก!! หนาวนี้พบป่วย “ท้องร่วง” เก้าแสนกว่าคนแล้ว
หมอเตือน! 3 ภัย 4 โรคในหน้าหนาว เด็กเล็กเสี่ยงเจ็บตายสูงขึ้น
หัดลามไม่หยุด!! รณรงค์ฉีด วัคซีนหัด ฟรีถึงมีนา 63 นี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th, พบแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่