สีประจำเดือน บอกสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย - amarinbabyandkids
สีประจำเดือน บอกสุขภาพ

สีประจำเดือน บอกสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย

Alternative Textaccount_circle
event
สีประจำเดือน บอกสุขภาพ
สีประจำเดือน บอกสุขภาพ

สีและลักษณะของประจำเดือน บอกความผิดปกติของร่างกาย!!

พอจะทราบอาการก่อนมีประจำเดือนกันไปบ้างแล้วนะคะ คือจริงๆ ต้องบอกอย่างนี้ค่ะ อาการที่เกิดขึ้นก่อนมีรอบดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันไปบ้าง อย่างของผู้เขียนเองก่อนมีประจำเดือนจะมีภาวะเศร้าๆ และจะทานแต่เมนูซ้ำๆ เกือบทุกมื้อ แต่พอเมนส์มาอาการทุกอย่างหายเป็นปริดทิ้ง ใจและสมองโล่ง สดชื่น แถมไม่คิดอยากกินเมนูที่กินซ้ำๆ มาก่อนหน้านี้เลย

นั่นคืออาการก่อนมีประจำเดือน ทีนี้เราจะมาเข้าเรื่องที่ว่า “สีและลักษณะของประจำเดือน” บอกถึงสุขภาพและความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง  อย่าเพิ่งตกใจกันไปค่ะ ตั้งสติแล้วเราไปเช็กพร้อมกันค่ะ

ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เรื่อยไปจนถึง วัยสาว วัยผู้ใหญ่ วัยกลางคน (ที่ประจำเดือนจะเริ่มหมดลงประมาณอายุ 45-55 ปี ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สุขภาพร่างกายโดยรวมของแต่ละคน) ซึ่งจะมีประจำเดือนๆ ละครั้งๆ ละประมาณ 6 วัน การมีประจำเดือนก็เป็นปกติของผู้หญิงทุกคนอยู่แล้วค่ะ แต่ที่ไม่ปกติก็ตรงที่สี และลักษณะของเมนส์ที่ออกมา

อาจารย์แพทย์หญิง อรวิน วัลลิภากร สาขาวิชาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[1] ได้อธิบายถึงสีและลักษณะของประจำเดือน ดังนี้…

สีและลักษณะประจำเดือนสามารถบอกสุขภาพของผู้หญิงได้ ซึ่งโดยรวมจะบอกถึงการทำงานของมดลูก รังไข่ ซึ่งประจำเดือนของคนปกติควรจะมาตั้งแต่วันแรกของรอบที่แล้วกับวันแรกของรอบถัดไป ไม่ควรจะห่างกันเกิน 28 บวก ลบ 7 วันก็คือ 21-35 วัน  นี่คือระยะห่างของประจำเดือนปกติ ส่วนจำนวนวันที่มาก็จะอยู่ในระยะ 2-7 วัน (ปกติ) ส่วนปริมาณที่มา 1 รอบ ไม่ควรเกิน 80 CC. (ไม่เกินผ้าอนามัย 3-5 ผืนต่อวัน)

 

บทความแนะนำ คลิก>> เนื้องอกมดลูก พบบ่อย ผู้หญิง 1 ใน 4 ต้องเป็น!

ลักษณะและสีของประจำเดือน

  • ไม่ควรเป็นลิ่มเลือดก้อนใหญ่มากจนล้นผ้าอนามัย คือเปลี่ยนทุก 2 ชั่วโมง ถือว่ามาปริมาณมากเกินไป
  • สีเมนส์เข้ม คือเลือดเก่าที่ค้างอยู่
  • สีเมนส์สด คือเลือดใหม่ที่เพิ่งออกมาจากกระแสเลือด

หากคุณแม่ หรือผู้หญิงที่มีปริมาณประจำเดือนออกมาผิดปกติ อาจต้องมาเช็กกับหมอเฉพาะทางอีกครั้ง เพราะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • อาจมีเนื้องอกในมดลูก
  • มดลูกโตผิดปกติ
  • ฮอร์โมนผิดปกติ เช่น
  • ไข่ไม่ตก ทำให้เมนส์มา 2-3 เดือนครั้ง
  • เกร็ดเลือดต่ำ (กลไกการหยุดเลือดผิดปกติ)
  • การทานยาที่มีผลต่อเลือด เช่น การทานยาห้ามเลือด ยาแข็งตัวของเลือด ล้วนมีผลต่อประจำเดือนได้
  • การทานยาสตรี ยาว่านชักมดลูก ก็จะมีผลทำให้ประจำเดือนออกมาผิดปกติ[1]

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่กระตุ้นให้ประจำเดือนผิดปกติได้อีก นั่นคือ ความเครียด การอดอาหาร การอดนอน การรับประทานยา เป็นต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เพราะสุขภาพก็เป็นผลพวงที่ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติได้ค่ะ

อ่านต่อ อาหารที่ควรทานช่วงมีประจำเดือน หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up