เมื่อลูกเกิดอาการไอ ควรให้ลูกรับประทานยาเมื่อไหร่ ลักษณะอาการไอแบบไหนควรให้รับประทานยา ยาแก้ไอ มีกี่ชนิด เมื่อไหร่ควรพาลูกพบแพทย์
ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก
การเจ็บป่วยของลูก ทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวล แม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากละเลยไม่รักษา อาจทำให้เกิดอาการเรื้อรังได้ เช่น อาการไอ ซึ่งคุณหมอมักได้รับคำถามว่า ลูกมีอาการไอให้รับประทาน ยาแก้ไอ อะไรดี วันนี้ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วค่ะ
ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก
อาการไอ เกิดจากสาเหตุใด
ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม
สาเหตุของการเกิดอาการไอในเด็ก
- สาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น
- เชื้อไวรัส อาการเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น หวัด, โพรงจมูกและโพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน, หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น
- เชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม
- เชื้อวัณโรค
- สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น
- ภูมิแพ้โพรงจมูก
- โพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง
- โรคหืด
- หลอดลมไวมากกว่าปกติ
- กรดไหลย้อน
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
- ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดลม
- นอนกรน
- สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
- ภาวะสำลักอาหารเรื้อรัง
- โรคหัวใจบางชนิด
- การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อากาศเป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่, สารเคมี, ควันจากการเผาไหม้
- ความผิดปกติบางอย่างทางจิตใจ
- ฯลฯ
ลักษณะอาการไอ
- ไอแห้ง ๆ จากการระคายเคือง
- ไอเปียก ๆ จากมีเสมหะหรือน้ำมูกลงคอ
ควรทำอย่างไรเมื่อเด็กเกิดอาการไอ
เด็กอาจมีอาการไอมาก แต่ไอไม่ออก ไอจนเหนื่อย หรือไอจนปวดท้อง อาการไอก็ยังคงอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากเสมหะที่เหนียวมาก
การไอไม่ถูกวิธี มีเสมหะที่ค้างอยู่ในหลอดลม อาจเปรียบเสมหะเหมือนกับซอสมะเขือเทศที่เหลือติดอยู่ที่ก้นขวด การจะเอาออกมาต้องคว่ำขวดแล้วใช้สันมือเคาะที่ก้นขวด เช่นเดียวกันกับเสมหะที่อยู่ในหลอดลม ต้องจัดท่านอนหรือนั่งในแนวที่ทำให้เสมหะไหลออกมาสะดวก จากนั้นต้องมี การเคาะ เพื่อให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลม การสั่นสะเทือน เพื่อกระตุ้นการไอ ตลอดจนฝึก การไอ อย่างมีประสิทธิภาพเสมหะจึงหลุดออกมาได้
ในกรณีเด็กเล็กที่ไม่สามารถเอาเสมหะออกมาเองได้ การเคาะและไออย่างถูกต้อง จะช่วยให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลมได้ หากมีเสมหะมาก ๆ ในเด็กเล็กอาจต้องใช้ลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปาก หากมีบางส่วนกลืนลงไปบ้าง ร่างกายก็จะขับออกมาเองได้
3 ท่าเคาะปอด กระตุ้นให้เด็กไอหรือระบายเสมหะออกจากหลอดลม
การเคาะควรทำเมื่อเด็กมีอาการ ไอ มีเสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด และเด็กยังไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้สามารถช่วยลดความเหนียวของเสมหะ โดยการให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ
การเตรียมตัว สั่งน้ำมูก คายหรือดูดเสมหะที่มีในจมูกและปากออกมาก่อน ทั้งนี้ควรทำก่อนอาหารหรือหลังอาหาร 1 ชม.ครึ่ง – 2 ชม. เพื่อไม่ให้อาเจียนหรือสำลัก
ท่าที่1 อุ้มลูกให้หันหน้าเข้าหาอกคุณพ่อคุณแม่ ให้ศีรษะลูกพาดบนไหล่พ่อแม่ แล้วเคาะด้านหลังส่วนบนเหนือกระดูกสะบักขึ้นไป หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกสะบัก
ท่าที่ 3 จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ยกแขนลูกขึ้นไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้าง ต่ำจากรักแร้ลงมาเล็กน้อย
ทั้งนี้ควรนำผ้าบาง ๆ มาวางบริเวณที่เคาะ เพื่อช่วยลดแรงกระแทก ควรเคาะโดยการใช้อุ้งมือ ต้องเคาะเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ และใช้เวลาเคาะแต่ละท่า 1-3 นาทีข้อควรระวัง ควรสังเกตอาการของลูกให้ดี เช่น ถ้าลูกเจ็บหรือปวดบริเวณที่เคาะ หรือมีประวัติการกระแทกที่หน้าอก มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจจมูกบาน ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ให้หยุดก่อน เพราะอาจเป็นอันตรายได้
อ่านต่อ…ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่