การต้มน้ำดื่มในกาต้มน้ำไฟฟ้าที่ถูกต้อง
น้ำที่จะนำมาต้ม สำหรับชงนมให้ลูกน้อย ควรเป็นน้ำสะอาด และผ่านการกรอง และควรมั่นเทน้ำที่เหลือก้นกาทิ้งบ่อยๆ อย่างน้อยก็วันละ 1 ครั้ง ควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกครั้งที่เติมน้ำเพื่อต้มใหม่จะดีที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดตะกอนและตะกรันคุณแม่ไม่ควรตั้งกาต้มน้ำร้อนไว้ให้เดือดตลอดเวลา เพราะอาจจะทำให้โลหะกร่อนลงมาปนได้ ลองเปิดฝากาดูก็ได้อาจเห็นมีคราบตะกรันติดอยู่บ้าง
ทั้งนี้การต้มน้ำต้องต้มให้แน่ใจจนน้ำเดือดและปล่อยให้เดือดอยู่นานอย่างน้อย 5 นาที พอน้ำเดือดครั้งหนึ่งแล้วขอให้เลือกกดให้อยู่ในโหมดอุ่น (Warm) ก็พอแล้ว จะได้เป็นการป้องกัน “น้ำดื่มเน่าเคล้าเชื้อโรค” และ “ช่วยลดโลกร้อน” ช่วยยืดอายุกาต้มน้ำไฟฟ้าด้วย หรือจะซื้อเครื่องกรองน้ำก็ควรเลือกเครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐาน NSF รองรับก็ช่วยให้อุ่นใจได้อีกด้วย
น้ำที่คุณแม่ใช้ชงนมต้องใช้ “น้ำต้มสุก” เท่านั้น!
ทั้งนี้สำหรับการชงนมให้ลูก คุณแม่สามารใช้น้ำต้มเดือด ได้โดยนำน้ำดื่มบรรจุขวด น้ำกรอง หรือน้ำประปา (โดยต้องมั่นใจว่าอยู่ในพื้นที่ที่น้ำประปาไม่มีการปนเปื้อน) มาต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็นลง เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ คุณแม่ไม่ควรใช้น้ำดื่มบรรจุขวดมาชงนมโดยตรง เพราะอาจมีการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง หรือระหว่างการจัดเก็บได้
ที่สำคัญไม่ควรชงนมให้ลูกด้วยน้ำร้อนจัด เพราะการชงนมด้วยน้ำร้อนจัด จะทำให้สารอาหารในนมบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ถูกทำลายจากความร้อน และทำให้นมจับตัวเป็นก้อน คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่านมจะละลายไม่ดี เพราะนมผงในปัจจุบันสามารถละลายได้ง่ายในน้ำที่อุณหภูมิปกติ ดังนั้น การใช้น้ำต้มสุกที่ปล่อยให้เย็นลงประมาณ 40 องศาเซลเซียสหรือประมาณอุณหภูมิห้องบ้านเรา จึงเป็นน้ำที่สามารถใช้ชงนมได้อย่างปลอดภัยและสามารถรักษาสารอาหารต่างๆ สำหรับลูกน้อยเอาไว้ได้
สรุปเรื่องการใช้ น้ำต้มเดือด หลายครั้ง
คุณแม่ไม่ควรให้ลูก หรือตัวเอง ดื่มน้ำที่ต้มเดือดแล้วหลายๆ ครั้ง ทางที่ดี ควรต้มน้ำแต่ละครั้งให้พอดีกับที่ใช้ดื่ม และจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำทุกครั้งหากต้องต้มน้ำให้เดือดใหม่ สำหรับกาต้มน้ำที่ใช้ชงกาแฟก็ไม่ควรตั้งกาต้มน้ำร้อนไว้ให้เดือดตลอดเวลา เพราะอาจจะทำให้โลหะกร่อนลงมาปนได้ หมั่นเปิดฝากาดู หากเห็นมีคราบตะกรันติด ควรล้างกาในทันที เพียงเท่านี้…ความร้อนก็จะไม่สามารถนำพาสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโทษต่อร่างกาย มาทำร้ายสุขภาพเราได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดีมีหลักอยู่ว่า “น้ำ ใดที่นิ่งเป็นสิ่งที่ชอบของเชื้อโรค” หมายความว่า เชื้อโรคจะชอบอาศัยแบ่งตัวในน้ำนิ่งมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นน้ำในคลองแสนแสบที่นิ่งจนเน่า หรือน้ำในกระเพาะปัสสาวะของคนที่ชอบอั้นบ่อย ๆ ก็เป็นน้ำนิ่งที่เป็นบ้านของเชื้อร้ายได้เช่นกัน
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- แนะนำพ่อแม่มือใหม่! ขั้นตอนการเตรียมนมและวิธีชงนมที่ถูกต้องเพื่อไม่ไห้เกิดฟอง (มีคลิป)
- ระวัง! ลูกดื่มน้ำน้อย อาจทำให้เป็น นิ่ว
- เผย! ของใช้ใกล้ตัว 15 ชนิด มีเชื้อโรคสะสมมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.cityvariety.com , www.thaihealth.or.th