กรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ ออกเตือนทุกครัวเรือนในกทม. กำลังเผชิญสภาวะอากาศเลวร้าย

event
กรมควบคุมมลพิษ
กรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ

PM2.5 คืออะไร ทำไมจึงสามารถก่อมะเร็ง

ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

ฝุ่นขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นตามแรงดึงดูดของโลก แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน10ไมครอน (PM10) และ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน (PM2.5) จะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นาน ปะปนกับมลพิษอื่นในอากาศ หากปะทะเข้าจมูกหรือปาก ฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่านี้บางส่วนถูกขับออกมาเป็นเสมหะ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็งหากสะสมอยู่ในอวัยวะใดนาน ๆ

กรมควบคุมมลพิษ ชี้แจง ข้อเท็จจริง สถานการณ์มลพิษทางอากาศในกทม.

ทั้งนี้ทางทางกรมควบคุมมลพิษ ได้ชี้แจงว่าข่าวที่แชร์ในเว็บเพจต่างๆ ซึ่งเป็นรูปจากเว็บไซต์ http://aqicn.org/ ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวใช้ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง เทียบกับดัชนีคุณภาพอากาศของ U.S. EPA ซึ่งต้องใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในการเทียบ จึงทำให้การรายงานดัชนีคุณภาพอากาศของเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ในช่วงสีแดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ)

กรมควบคุมมลพิษ

ขอบคุณภาพจากเพจ  Drama-addict กรมควบคุมมลพิษ

ขอบคุณภาพจากเพจ  Drama-addict 

 ข้อเท็จจริง คือ หากใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะอยู่ในเกณฑ์สีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) ซึ่งสภาพอากาศที่เหมาะสมแก่การหายใจและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคืออยู่ในช่วงค่า 0-50 ส่วนระดับ 51-100 ยังอยู่ในช่วงกลางๆ เช่นเดียวกับช่วงค่า 101-150 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม เช่น เด็กและผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดควรงดออกกำลังกายแจ้ง เป็นเวลานาน ขณะที่ค่า 151-200 ซึ่งหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ กำลังเผชิญอยู่

อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ระบบทางหายใจหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นควัน และหากพบว่าลูกน้อยหรือตัวเองมีอาการทางสุขภาพฉับพลัน ควรรีบไปพบแพทย์

ทั้งนี้ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นเจ้าของยานพาหนะ ให้ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีและไม่ปล่อยควันดำ และถ้าเป็นได้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันไปใช้ระบบขนส่งมวลชนก็จะช่วยสถานการณ์และลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ได้

อ่านต่อ >> “อันตรายจากมลพิษ ทำลายสมองลูกน้อย” คลิกหน้า 3


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กรมควบคุมมลพิษ, Drama-addict , www.one31.net , www.nationtv.tv

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up