สังเกตด่วน! ลูก นอนอ้าปาก เสี่ยงเป็น 4 โรคนี้! - Amarin Baby & Kids
นอนอ้าปาก

สังเกตด่วน! ลูก นอนอ้าปาก เสี่ยงเป็น 4 โรคนี้!

event
นอนอ้าปาก
นอนอ้าปาก

อันตราย..พ่อแม่สังเกตให้ดี หากเห็นลูกน้อยชอบ นอนอ้าปาก ลูกของคุณอาจเสี่ยงกำลังป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ 1 ใน 4 โรคนี้

ระวัง..ลูก นอนอ้าปาก ไม่ใช่เรื่องดี..เสี่ยงเป็น 4 โรคนี้!

การนอน ถือเป็นอาหารสมอง เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยได้พักผ่อน สามารถสร้างภูมิต้านทานโรค พร้อมมีร่างกายที่สดชื่นแจ่มใสอารมณ์ดี คิดอ่านหรือทำอะไรได้หลักแหลม จดจำสิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ไปได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการนอน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกน้อยนอนให้เพียงพอ

ทั้งนี้ขณะที่ลูกนอน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตด้วยว่า  ลูกนอนท่าที่ดีแล้วหรือยัง ห่มผ้าหรือเปล่า หลับสนิทไหม หรือ นอนกรน นอนอ้าปาก หรือเปล่า เพราะหากลูกมีพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ  โดยเฉพาะ นอนอ้าปาก หรือ นอนหายใจทางปาก ให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยได้เลยว่า  ลูกของคุณอาจจะกำลังไม่สบายอยู่ก็เป็นได้

ทำไมลูกทารกถึงนอนอ้าปาก

สำหรับลูกทารกวัยแรกเกิด 2-3 อาทิตย์แรก จะนอนอ้าปาก เพราะยังหายใจทางจมูกเองไม่ค่อยได้ จึงต้องหายใจทางปากร่วมด้วย แต่เมื่อโตมาหน่อยก็จะนอนหลับปากปิดและหายใจทางจมูกได้เอง

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นหากลูก นอนอ้าปาก ปกติ เวลานอนคนเราจะขากรรไกรหย่อนอยู่แล้ว แต่หย่อนแบบริมฝีปากยังปิดอยู่ เรื่องแบบนี้ ให้ลองฝึกค่ะ เมื่อรู้สึกตัวทุกครั้งให้พยายามปิดปาก หรือนึกถึงอยู่เสมอ นานๆ ไปก็จะชิน

แต่หากมีบางวันที่คุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมักนอนอ้าปาก และมีอาการกรนออกมาด้วย ให้รู้ไว้เลยว่าลูกของคุณกำลังไม่สบาย

สาเหตุของการนอนอ้าปาก

การที่ลูกน้อยนอนอ้าปาก หรือนอนหายใจทางปาก สาเหตุหลักส่วนใหญ่มาจาก ลูกหายใจทางจมูกไม่ได้ เพราะกำลังป่วย หรือเป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกนั่นเอง เมื่อใช้ชีวิตตอนกลางวันตามปกติ ก็มักจะต้องหายใจทางปาก ดังนั้นเวลานอนทำให้ลูกเคยชินกับการหายใจทางปาก หลังจากเป็นหวัด  หรือในเด็กที่เรียนว่ายน้ำมาก็มักจะเคยชินกับการหายใจทางปากนั่นเอง

ทั้งนี้นอกจากความเคยชินกับการหายใจทางปาก หลังจากเป็นหวัดแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่บ่งชี้ว่าลูกอาจกำลังป่วยเป็นโรคอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน

อ่านต่อ >> “ลูกนอนอ้าปากเสี่ยงเป็น 4 โรคนี้” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up