- การตรวจวัดลมหายใจ อุณหภูมิ ทีผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก ขณะหลับ
- การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอก และ กล้ามเนื้อหน้าท้องที่ใช้ในการหายใจขณะหลับ
- การนับจำนวนครั้งของการหยุดหายาใจ หรือหายใจน้อยลงขณะหลับ
- ตรวจดูพฤติกรรมดูความผิดปกติขณะนอนหลับ เช่น นอนอ้าปาก นอนขากระตุก นอนกัดฟัน นอนสำลักน้ำลาย
ทั้งหมดนี้การตรวจการนอนหลับเป็นการตรวจที่มีความระเอียดสูงใช้เวลาในช่วงกลางคืน อย่างน้อยประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาปกติในการหลับของคนทั่วไป โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูการตรวจด้วยทั้งคืน
การเตรียมตัวลูกน้อยเพื่อเข้ารับการตรวจการนอนหลับ
1. อย่านอนกลางวัน
2. รับประทานอาหารได้ตามปกติ
3. รับประทานยาที่เคยรับประทานได้ตามเวลาที่แพทย์สั่ง
4. เตรียมชุดนอนหรือชุดที่ใส่นอนประจำมาด้วย และอุปกรณ์สำหรับล้างหน้า แปรงฟัน
5. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หากอยากเข้ารับการตรวจ ห้ามรับประทานชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลัง 16.00 น.
6. สระผมให้สะอาดก่อนมา ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใส่ผม
7. ต้องมาถึงโรงพยาบาล ไม่เกิน 19.30 น.
8. เตรียมเอกสารเกี่ยวกับสิทธิการรักษามาให้เรียบร้อย ในกรณีเบิกหน่วยงานราชการ
10. ในการนัดหมายเจ้าหน้าที่จะโทรแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อน 1 อาทิตย์ และก่อนตรวจจริง 1 วัน
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกน้อยอย่างละเอียด หากมีความผิดปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ อาหารการกิน สภาพจิตใจ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ ที่เป็นสาเหตุปัญหาด้านสุขภาพ อย่าละเลยกับการดูแลสุขภาพ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- แม่แชร์แม่! ลูก นอนกรน อันตราย อย่านิ่งเฉย
- การนอนของลูก แรกเกิด ถึง 6 ปี แค่ไหนถึงจะพอ?
- วิจัยชี้! ลูกน้อยนอนตะแคงดีต่อสมอง
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.doctor.or.th , www.scimath.org , www.pobpad.com