ทั้งนี้เมื่อสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป โดยพ่อแม่ และเด็ก ๆ จะอยู่กับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้งานดวงตาก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ทำให้โอกาสที่ลูกน้อยจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตา จึงมีมากขึ้นด้วย
โดยนพ.นริศ กิจณรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะเลขาธิการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า มีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากกว่าร้อยละ 80 สาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวี (UV) 400, ยูวีเอ (UVA) 1 และแสงสีฟ้าจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นเวลานานเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน
นอกจากนี้ ผู้ป่วยมีทั้งผู้สูงอายุ วัยทำงาน และเด็ก พฤติกรรมที่พบส่วนใหญ่ คือ ช่วงเวลาก่อนนอนจะหยิบสมาร์ทโฟนมาเล่นในขณะที่ปิดไฟแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่เร่งให้มีอาการทางสายตาเพิ่มขึ้น อันตรายจากแสงยูวี แสงสีฟ้าที่อยู่ในจอสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ จะทำลายดวงตาเมื่อจ้องเป็นเวลานาน เนื่องจากการกะพริบตาจะน้อยลง
ขอบคุณภาพจาก : MSI Global
เพราะโดยปกติแล้วคนเราจะกะพริบตาประมาณ 20 ครั้งต่อนาที เพื่อให้ตาได้รับความชุ่มชื้น การเพ่งมองเป็นเวลานานจะทำให้ตาแห้ง แสบตา ส่งผลให้การมองเห็นเริ่มผิดปกติ เห็นภาพซ้อน ภาพไม่ชัด พร่ามัว ปวดเบ้าตา กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นและเป็นส่วนที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ ต้อลม และจอประสาทตาเสื่อม จะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ และรักษาได้ยากจนอาจส่งผลทำให้ตาบอดได้
ด้านนายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ได้เปิดเผยว่าการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเจ้าโรคเทคโนโลยีซินโดรมนี้ไม่ได้ทำให้เกิดจุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือตาบอด แต่จะทำให้เกิดความล้าของสายตา ตาแห้ง เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพหรือตัวอักษรที่มีขนาด เล็กและอยู่ในจอ
การเพ่งจะทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด มีแอพพลิเคชั่นมาก ๆ รวมไปถึงการส่องไฟฉายอ่านหนังสือ จะมีความเสี่ยงเกิดเทคโนโลยีซินโดรมได้ง่ายเพราะต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะ ตายิ่งทำงานหนัก สร้างความเครียดให้ผู้ใช้ เพราะต้องเพ่งสายตาที่จอ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้เช่นกัน
แล้วการปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์โฟนในที่มืด จะทำให้เป็นต้อหินได้อย่างไร?
นั่นก็เพราะการใช้เทคโนโลยีมาก ๆ นาน ๆ จะทำให้สายตาล้า มีอาการตาแห้ง จึงเกิดความเครียดขึ้นได้ และไปทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของต้อหิน การที่สายตาล้าก็เกิดจากการเพ่งภาพหรือตัวอักษรหน้าจอที่มีขนาดเล็กมากเกินไป ยิ่งเราเพ่งก็จะยิ่งทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด ส่องไฟฉายอ่านหนังสือ คนกลุ่มนี้ต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะตาก็ยิ่งทำงานหนัก จึงเสี่ยงต่อโรคเทคโนโลยีซินโดรม
สำหรับโรคต้อหินนั้น นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ได้อธิบายว่า โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ สาเหตุสำคัญเกิดจากความดันในลูกตาสูงเกินไป ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และคนเป็นจะไม่รู้ตัว
ทั้งนี้ หากเป็นแล้วจะมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ หากไม่รักษา ปล่อยทิ้งไว้ จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่าสูญเสียอย่างถาวร หากบอดแล้วบอดเลย หรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต
อาการเตือน คือ เริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด สำหรับผู้ใญ่บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย
สรุปอันตรายจากการใช้มือถือในที่มืดนานๆ
- เสี่ยงต่ออาการแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล
- ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ
- สายตาไม่ชัด พร่ามัว หรือสายตาสั้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีโอกาสเป็นโรคต้อหิน
- เส้นประสาทตาถูกทำลาย จนการมองเห็นพร่ามัวมากขึ้น
- อาจมีความเสี่ยงที่จะตาบอดได้ด้วย (แต่ไม่ได้เป็นมะเร็งที่ตา)
อ่านต่อ >> “วิธีหลีกเลี่ยงลูกน้อยจากอันตรายของการใช้สมาร์ทโฟนในที่มืด” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- โทรศัพท์มือถืออันตราย กับลูกน้อยจริงหรือไม่?
- Smart Phone แก้ปัญหาลูกติดมือถือใน 7 วัน
- แชร์ประสบการณ์ลูกเสี่ยงตาบอดเพราะ เนื้องอกหลอดเลือด บนผนังตา
- มะเร็งจอตา โรคฮิตอันดับ 3 ในเด็ก!! เช็กง่ายๆ ด้วยสมาร์ทโฟน
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.whatphone.net, www.sanook.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่