หมอเตือน! ให้ลูก เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ เสี่ยงตาบอด - amarinbabyandkids
เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ

หมอเตือน! ให้ลูกเล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ เสี่ยงตาบอด

event
เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ
เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ

เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ

วิธีหลีกเลี่ยงจากอันตรายของการใช้เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ ในที่มืด

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
  2. ดื่มน้ำบ่อยๆ เพิ่มความชุ่มชื่นในตา หรือหากท่านใดตาแห้งมากๆ หรือใส่คอนแทคเลนส์ ควรใช้น้ำตาเทียมเมื่อมีอาการตาแห้ง
  3. ทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนาหรือผ้าเช็ดหน้า พับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาด ๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
  4. ควรเปิดไฟในห้องให้มีความสว่างเพียงพอ
  5. ไม่ควรนอนหงายเล่นสมาร์ทโฟน เพราะหน้าจอจะไม่ได้รับแสงสว่างจากโคมไฟบนเพดาน แม้กระทั่งนอนตะแคงก็อาจทำให้ดวงตาต้องเพ่งจ้องที่หน้าจอหนักกว่าปกติเหมือนกัน
  6. ไม่ควรจ้องหน้าจอโทรศัพท์นานจนเกินไป ควรมีการพักสายตาบ้าง ทุกๆ 20-30 นาที

ที่สำคัญ ควรเปิดไฟขณะที่ให้ลูกดูทีวี หรือการ์ตูนในมือถือ และอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหน ที่ชอบเปิดทีวี แท็บเล็ต หรือมือถือให้ลูกดูการ์ตูน ฟังนิทานก่อนนอน ควรที่จะงดการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ในที่มืด เพราะจะส่งผลอันตรายให้กับดวงตาของลูกน้อยได้ ควรที่จะใช้งานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่ควรใช้งานหรือจ้องเป็นเวลานาน ๆ

สารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตาของลูก

ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของวิตามินที่หลากหลายในอาหารหลากชนิด จึงไม่ยากที่คุณพ่อคุณแม่จะจัดหามาให้ลูกรับประทาน ถึงกระนั้นคนเราต้องได้รับวิตามินทุกตัวผสมผสานกัน จึงจะเสริมให้ดวงตามีศักยภาพที่ดีได้

⇒ Must read : 15 อาหาร บำรุงสุขภาพ สายตาลูกน้อย
  1. วิตามิน A มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยในการสร้างเม็ดสีสำหรับการมองเห็นภาพในที่มืดนอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการรักษาเยื่อบุต่างๆ ในร่างกาย เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารให้คงสภาพปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย

อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ได้แก่ ตับ ไข่แดง น้ำมันตับปลา น้ำนม โดยเฉพาะ ‘น้ำนมแม่’ ถือเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของวิตามินเอ นอกจากนี้ยังพบในผักที่มีสีเขียวเข้มและผลไม้ที่มีสีเหลืองส้มซึ่งจะให้สารเบต้าแคโรทีน (โดยปกติร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตามที่ร่างกายต้องการ) เช่น ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอสุก กล้วย มะม่วงสุก เป็นต้น

  1. ทอรีน คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ สติปัญญาและการมองเห็นในเด็ก นอกจากนี้ทอรีนยังช่วยทำให้ทารกดูดซึมไขมันที่จำเป็นต่อสติปัญญาและการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยทอรีน ได้แก่ น้ำนมแม่ (แต่ในนมวัวจะพบทอรีนน้อยมาก) เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น สัตว์ปีก เนื้อหมู และอาหารทะเล เป็นต้น
  2. ลูทีน ทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องเซลล์รับภาพบริเวณจอประสาทตา ที่มีความสำคัญในการมองเห็นภาพของเราในชีวิตประจำวัน โดยลูทีนจะทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของมนุษย์ รวมถึงดวงตาเด็กที่ยังบอบบาง และทำหน้าที่สำคัญในการต้านปฏิกิริยาอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในดวงตาได้อีกด้วย นอกจากนี้ สารลูทีนยังถูกพบในสมองบริเวณที่เกี่ยวกับการมองเห็นมากกว่า 66% ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าน่าจะมีส่วนช่วยให้คนเรามองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาหารที่อุดมไปด้วยลูทีน ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม และผักหรือผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ผักโขม ผักบล็อกโคลี พริกหยวกสีเหลือง เป็นต้น
  3. กรดไขมันDHA (Decosahexaenoic acid) เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะด้านความจำ การเรียนรู้ และประสาทตา ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้ ทั้งนี้ในสมองและประสาทตาของคนเราประกอบไปด้วยกรดไขมันหลายชนิด แต่ชนิดที่มีมากก็คือ AA และ DHA อาหารที่อุดมไปด้วย DHA ได้แก่ น้ำนมแม่ ปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาโอ ปลาทู ปลาซาบะ ฯลฯ
♥ Must read : 10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง

ควรพาลูกไปตรวจดวงตาเมื่อไร และที่ไหนดี?

ข้อมูลจาก American Optometric Association (AOA) แนะนำว่า การตรวจดวงตาทารกครั้งแรกในช่วง 6 เดือนความสำคัญมาก เพราะโรคเกี่ยวกับดวงตาส่วนใหญ่สามารถตรวจพบ และรักษาอาการผิดปกติของดวงตาได้ หากว่าได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

โดยระยะเวลาในการตรวจดวงตาของลูกครั้งแรก ควรเริ่มเมื่อลูกมีอายุ 6 เดือน ครั้งที่สองเมื่อลูกมีอายุ 3 ขวบ และครั้งที่สามคือก่อนเข้าโรงเรียน คุณแม่สามารถพาลูกไปตรวจตาได้ที่ โรงพยาบาลของรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.haijai.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up