โรคท้องร่วง ช่วงหน้าร้อน กับอาการที่ต้องสังเกต
การเกิดภาวะท้องร่วงขึ้นกับเด็กๆ หรือในผู้ใหญ่ บางครั้งแต่ละคนอาจจะมีอาการหนักมากน้อยแตกต่างกันไป นั่นเพราะภูมิต้านทานและความแข็งแรงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการรับเชื้ออุจจาระร่วง สามารถแยกอาการให้สังเกตว่าเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด ดังนี้
- อุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า อุจจาระจะมีลักษณะเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
- อุจจาระร่วงจากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล อุจจาระจะมีลักษณะเป็นน้ำใสเหมือนปัสสาวะ และมีกลิ่นเหม็นนคาว
- อุจจาระร่วงจากเชื้ออหิวาต์ อุจจาระจะมีสีขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว และมีกลิ่นเหม็นคาวจัด ถ่ายออกมาเป็นน้ำ และจะถ่ายออกมามากในแต่ละครั้ง
- อุจจาระร่วงจากเชื้อซัลโมเนลลา อุจจาระที่ถ่ายออกมาจะมีลักษณะเป็นน้ำสีเขียวใน 2-3 ครั้งแรก หลังจากนั้นจากถ่ายเหลวมีมูกเลือดปน ในเด็กบางคนอาจเป็นไข้ร่วมด้วย
- อุจจาระร่วงจากเชื้อซิเกลลา อุจจาระที่ถ่ายออกมาในช่วงครั้งแรกๆ จะเป็นน้ำ หลังจากนั้นจะถ่ายออกมาแบบกะปริดกะปรอยและมีมูกเลือดปน รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุดสักที(2)
Must Read >> รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซี
ถ้าลูกท้องร่วง เบื้องต้นต้องดูแลอย่างไร?
หากเด็กๆ มีอาการท้องร่วงแบบที่ไม่รุนแรงมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลบรรเทาอาการให้ลูกเบื้องต้นได้ ซึ่ง น.อ.นพ.ธนาสนธิ์ ธรรมกุล ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย(1) มีคำแนะนำ ดังนี้
- หากมีอาการท้องร่วงชนิดที่ไม่รุนแรง คือ มีการถ่ายเหลวมีน้ำปนเนื้องประมาณ 5-6 ครั้ง/วัน
- และไม่มีอาการของการขาดน้ำหรือเกลือแร่ เช่น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำ หน้ามืด หรือซึมลง มักจะไม่มีไข้หรือมีเพียงไข้ต่ำ ๆ อาจจะมีปวดท้องหรืออาเจียนมากในระยะแรก แต่อาการมักจะดีขึ้นได้เองใน 1-2 วัน
- ให้ดูแลอาการด้วยการทดแทนน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอ ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ และรับประทานยารักษาตามอาการ
- ให้รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป น้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง สำหรับนมสดไม่แนะนำให้ทานเพราะจะยิ่งทำให้อุจจาระร่วงมากขึ้นได้ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก(1)
อ่านต่อ >> “วิธีการป้องกันโรคท้องร่วงง่ายๆ ให้ลูก” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่