โรคความจำเสื่อม ที่คนเข้าใจว่ามักพบในกลุ่มผู้สูงนั้น ปัจจุบันพบว่า เด็กและวัยรุ่นมีปัญหาความจำเสื่อมก่อนวัยเพิ่มขึ้นเพราะเล่นเทคโนโลยี ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า digital dementia หรือความจำเสื่อมจากการเสพติดดิจิทัล พ่อแม่จึงควรรู้ทันและป้องกันก่อนสายเกินไป
ปัจจุบันต้องยอมรับว่าหลายครอบครัวใช้มือถือเป็นตัวช่วยในการให้ลูกอยู่นิ่งในเวลาที่พ่อแม่อยากมีเวลาทำอย่างอื่นสักพัก หรือในเวลาที่ลูกไม่ยอมกินข้าว แค่มีมือถืออยู่ในมือ ก็ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่จัดการกับเจ้าตัวน้อยได้ง่ายขึ้น ทั้งๆ ที่ มีรายงานถึงผลกระทบจากการเสพติดมือถือของเด็กๆ มากมาย เช่น ทำให้สมาธิสั้น อารมณ์รุนแรง เด็กจะมีปัญหาทางความคิด มีอาการซึมเศร้า กระวนกระวาย และส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และการเข้าสังคม
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีโรคใหม่ที่เรียกว่า digital dementia มาเพิ่มอีก ซึ่งโรคนี้ทำให้เด็กมีอาการความจำเสื่อมอย่างหนัก เนื่องจากเสพติดเทคโนโลยีมากเกินไป
บทความแนะนำ ผัก ผลไม้ บํารุงสมอง ป้องกัน อัลไซเมอร์
Digital Dementia คืออะไร?
Digital Dementia หรือ อาการความจำเสื่อมจากการเสพติดดิจิทัล เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปที่ใช้อุปกรณ์สำหรับสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์มากเกินไป โดยเฉพาะกับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งผลกระทบของโรคนั้น เด็กจะมีปัญหาความจำเสื่อมถอย จนจดจำรายละเอียดในชีวิตประจำวันต่างๆ ไม่ได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ และอื่นๆ เพราะสมาร์ทโฟนช่วยคิด ช่วยจำแทนเรา หรือแม้แต่การคิดเลขง่ายๆ เราก็ใช้เครื่องคิดเลขแทน เมื่อสมองไม่ได้ถูกใช้งาน ความจำก็จะเสื่อมถอยลงนั่นเอง
Digital Dementia เกิดได้อย่างไร?
สาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่สมองถูกใช้พลังไปกับการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป เช่น การใช้ social media บนสมาร์ทโฟน หรือการติดเกมออนไลน์บนคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ทำให้พัฒนาการของสมองชะงักงัน โดยสมองซีกซ้ายจะมีการพัฒนามากกว่าซีกขวา หรืออีกนัยหนึ่ง สมองซีกขวามีการพัฒนาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งสมองซีกขวานั้นนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้สมาธิ รวบรวมข้อมูล และความจำ การพัฒนาที่ต่ำจึงกระทบต่อความจำและความสนใจ ทำให้มีอาการความจำเสื่อมก่อนวัย 15% นอกจากนี้ ยังพบว่า คนกลุ่มนี้ยังมีภาวะการพัฒนาทางอารมณ์ต่ำ โดยเด็กเสี่ยงสูงกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีสมองที่จะต้องพัฒนามากกว่าผู้ใหญ่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่