มดตะนอย กัดเด็กเสียชีวิต จากข่าวเกิดข้อสงสัยพิษมดตะนอยถึงตายได้จริงหรือ มาทำความรู้จักมดตัวเล็กแต่ต่อยหนัก กับอาการที่บ่งบอกว่าคุณแพ้ และวิธีปฐมพยาบาลกัน
มดตะนอย กัดแพ้พิษถึงตายได้!! กับอาการบ่งบอกว่าคุณแพ้
จากกรณีเด็กหญิงวัย 11 ขวบ ชาว จ.น่าน เสียชีวิตอย่างน่าสลดใจ หลังถูกมดตะนอยกัดระหว่างไปหาพ่อในสวน ก่อนที่ไม่ถึง 2 วันต่อมา เด็กจะมีอาการป่วยรุนแรง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล ก่อนจะเสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้า โดยญาติรู้สึกติดใจ หลังนำเด็กไปรักษาตั้งแต่วันแรกๆ ที่มีอาการปวดหัว ปวดแผลที่ถูกกัด และอาเจียน แต่หมอให้ยาแล้วกลับมาดูอาการที่บ้าน ก่อนจะเสียชีวิตในวันต่อมา
นายแพทย์กนก พิพัฒน์เวช รองผู้อำนวยการรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า เด็กถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน่านเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม มีอาการเป็นผื่น แพทย์เจ้าของไข้ได้ฉีดยาแก้แพ้ และให้ยาไปรับประทาน ดูอาการที่บ้านหลังจากนั้นตอนบ่ายอีกวัน เด็กถูกส่งตัวมารักษาด้วยอาการปวดศีรษะ เวียนหัว อาเจียน ความดันโลหิต จึงนำเข้าห้องผู้ป่วยหนักรักษาช่วยชีวิตอย่างเต็มที่ แต่เด็กก็มาเสียชีวิตลงด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างรุนแรง
จากการสืบค้นประวัติการป่วยของเด็ก เคยป่วยโควิด และพ้นระยะกักตัวเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา จึงมีข้อที่จะต้องพิสูจน์ว่า อาการหัวใจอักเสบนั้นเกิดจากพิษมดตะนอย หรือจากภาวะลองโควิดหรือไม่ แพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำลังค้นคว้าหาข้อมูล
ที่มา : www.sanook.com
พระสงฆ์วัย 33 ปี ถูกมดตะนอยกัดจนช็อกหมดสติต้องหามส่งโรงพยาบาล ที่บริเวณวัดริ้วหว้า ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง แต่โชคยังดีในขณะที่เกิดเหตุมดตะนอยต่อยนั้น มีพระเณรเห็นเหตุการณ์หลายท่าน และได้ช่วยกันแจ้ง 1669 ทางโรงพยาบาลแสวงหา ส่งรถกู้ชีพมารับนำไปทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ล่าสุดอาการปลอดภัยออกจากโรงพยาบาลแล้วมาพักฟื้นอยู่ที่วัด แต่ยังคงมีอาการมึนงง คลื่นไส้อยู่
ที่มา : www.nationtv.tv
มดตะนอย ต่อยหนัก จริงหรือ??
มดตัวเล็ก ๆ ถึงแม้ว่าจะมีพิษ แต่เวลาโดนกัด โดนต่อย จะทำให้ถึงตายได้จริงหรือ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้า “มดตะนอย” ที่แม้จะตัวเล็ก แต่มีพิษสงไม่เล็กเลยทีเดียว
มดตะนอย เป็นสัตว์มีพิษชนิดหนึ่ง มีลักษณะที่เด่นชัดมาก ๆ ของมดสายพันธุ์นี้ คือ มีตัวที่ยาว เรียว บริเวณท้อง กับหัวจะมีสีเข้มค่อนไปทางดำ บริเวณอกจะมีสีน้ำตาลออกไปทางเหลือง หรือบางตัวก็เป็นสีส้ม ส่วนปลายของท้องจะมีเหล็กในแหลม ๆ กรามขนาดใหญ่กว่ามดทั่วไป อาหารของมดตะนอยมักเป็นแมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ
ที่อยู่อาศัยของมดตะนอย มักรวมกลุ่มทำรังกันบริเวณต้นไม้ที่แห้งตาย หรือต้นไม้ที่ยังมีชีวิตต้นใหญ่ ๆ อันตรายจากมดตะนอยเกิดจากเหล็กใน ในตัวมดตะนอยที่เคลือบสารพิษกลุ่มสารประกอบโปรตีน และสารอัลคาลอยด์ ทำให้ผู้ที่ถูกต่อยมีอาการแพ้ มีอาการรุนแรงกว่ามดทั่ว ๆ ไป และเหล็กในดังกล่าวนั้น มดตะนอยสามารถดึงกลับมาต่อยซ้ำ ๆ ได้อีกหลายครั้ง ต่างจากผึ้งที่ต่อยเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเหล็กในไว้ในแผล
อาการเบื้องต้นของคนที่โดนมดตะนอยกัดแต่ไม่ได้มีอาการแพ้คือ ปวดแสบปวดร้อน มีตุ่มบวมบริเวณที่ถูกกัด แต่จะไม่ได้หนักหนาสาหัสอะไรมาก เมื่อเวลาผ่านไปอาการดังกล่าวจะเบาลง และหายไป ไม่ต้องถึงขั้นต้องพบหมอ แต่สำหรับคนที่แพ้หรือไม่รู้ว่าตนเองแพ้ให้สังเกตอาการที่บ่งบอกถึงความรุนแรง ดังนี้
เช็กอาการแพ้ พิษมดตะนอย
เมื่อมดตะนอยกัด และปล่อยสารพิษเข้าสู่ร่างกายเราแล้ว จะแสดงอาการ และความรุนแรง แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. ปฏิกิริยารุนแรง
หากหลังจากถูกมดตะนอยกัด จะมีอาการเจ็บ มีตุ่มคัน บวม แดง โดยภายหลังอาการจะหายไปเอง แต่สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดบวมมากแต่ไม่คัน หน้ามืด เป็นลม เหงื่อออกมาก เดินไม่ไหว แผลที่มดกัดบวมแดง และลามไปบริเวณใกล้เคียง ตัวสั่น หาวนอนถี่ มือ-เท้าเย็น หรืออาจเป็นลมพิษทั่วตัว เจ็บ คัน ร่วมกับมีไข้
3. ปฏิกิริยาชนิดผิดธรรมดา
โดยหลังจากถูกมดกัดจะมีอาการเม็ดเลือดแดงแตก มีลิ่มเลือดแพร่กระจาย มีการอุดตันของเส้นเลือดแดง เกิดภาวะเลือดออก และคั่งทั่วตัว กล้ามเนื้อตาย ปวดตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว ปัสสาวะมีสีดำ สีน้ำปลา หรือสีแดงจากภาวะไตวาย โดยอาจพบว่ามีภาวะอุดตันในระบบการทำงานของไตได้
- แน่นหน้าอก
- หายใจลำบาก
- ตัวชา
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- มีตุ่ม แผลบวมมาก
แบบนี้ก็ถือว่าอาการไม่ปกติ และควรรีบนำตัวผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ระยะเวลาในการแสดงอาการจะต่างกันออกไป ตั้งแต่เป็นนาที จนถึงเป็นชั่วโมง
แม้เพียงตัวเดียว ก็อาจแพ้รุนแรงได้!!
ระดับความรุนแรงของพิษมดตะนอยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ
- จำนวนมดตะนอยที่กัด หากโดนรุมกัดจากมดตะนอยหลาย ๆ ตัว ได้รับพิษมดตะนอยในปริมาณมาก ก็อาจมีอาการมากไปด้วย
- มีภาวะแพ้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยอยู่แล้ว มดตะนอยกัดเพียงตัวเดียวก็อาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อร่างกายได้เช่นกัน หากคุณเป็นคนแพ้พิษแมลงอยู่แล้ว ร่างกายจึงไวต่อพิษของมดตะนอยที่เข้ามา ทำให้เกิดปฎิกิริยารุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกมดตะนอยกัด
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และสบู่
- ประคบแผลด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็นนาน 20 นาที เพื่อลดอาการบวม และอาการปวด โดยควรประคบเย็นซ้ำทุกชั่วโมงจนกว่าอาการจะทุเลา
- ทาครีมสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวดได้ แต่ไม่ควรใช้ยาทาที่ทำให้เกิดความร้อน เพราะจะทำให้มีการแพร่กระจายของพิษอย่างรวดเร็ว
- หากมีอาการปวดมากให้กินยาพาราเซตามอลช่วยบรรเทา
- ควรรับประทานยาแก้แพ้ร่วมด้วย
- ถ้าผื่นมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 2 นิ้ว หรือรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องหรือมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือถูกกัดหลายจุด ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
การดูแลเด็ก ห่างไกลสัตว์มีพิษ
นอกจากมดตะนอยแล้ว ยังมีสัตว์มีพิษอีกหลายชนิดที่เราต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ไม่รู้ถึงพิษภัย และเล่นซนตามประสาจนอาจไปเจอเข้ากับสัตว์มีพิษต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเราข้อควรระวัง และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่มักพบเจอบ่อยมาฝากกัน
งู และสัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษ
สัตว์เหล่านี้จะหลบในรูในช่วงฤดูร้อน และออกมาในช่วงฤดูฝน งู แมงป่อง ตะขาบ และสัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษ ส่วนมากมักจะออกมาจากรูมาหากินหลังฝนตก จึงควรระมัดระวังลูกหลานเวลาออกเดินเล่นนอกบ้านหลังฝนตก และจัดบ้านไม่ให้รก มีซอกมีหลืบ อันเป็นที่อยู่ของสัตว์เหล่านี้ได้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำได้โดย
- รีบทำความสะอาดบาดแผลด้วยสบู่ น้ำสะอาด และแอลกอฮอล์ล้างแผล
- ในกรณีสงสัยงูกัด แนะนำให้ใช้เชือกหรือผ้าพันเหนือแผลให้พอแน่น เพื่อชะลอเวลาเดินทางของพิษงูเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ
- รีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาตามชนิดของพิษต่างๆ ซึ่งในรายงูกัด อาจจำเป็นต้องได้รับเซรุ่มแก้พิษงู ไม่ควรรอจนกว่ามีอาการแล้ว
แมงกระพรุนไฟ
มีมากบริเวณชายทะเล และแนวชายหาด เมื่อถูกแมงกะพรุนไฟเข้าไปสัมผัสกับร่างกาย จะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปทั้งตัว ลักษณะของแมงกะพรุนไฟ ลำตัวจะมีรูปร่างคล้ายร่ม มีสีแดง มีหนวดยื่นยาว
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำได้โดย
เมื่อถูกพิษของแมงกะพรุนไฟ ควรจะใช้น้ำส้มสายชูในการล้างแผล ไม่ควรใช้น้ำจืด และหลังจากนั้นควรรีบไปให้แพทย์ทำการตรวจรักษาทันทีทันใด วิธีที่จะป้องกันอันตรายจากแมงกะพรุนที่สำคัญ นักเล่นน้ำควรหลีกเลี่ยงลงเล่นน้ำทะเลในบริเวณที่มีแมงกะพรุนไฟ ชุกชุม หรือช่วงหลังพายุฝน
เม่นทะเล บุ้งทะเล
หากโดนหนามเม่นตำ จะเกิดอาการอักเสบบวมแดง เจ็บปวด และเป็นไข้ได้ หนามของเม่นทะเลจะทำให้เกิดอาการชาอยู่นาน
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำได้โดย
เมื่อถูกหนามเม่นทะเลตำให้ถอนหนามออก หากถอนไม่ออกให้พยายามทำให้หนามบริเวณนั้นแตกเป็น ชิ้นเล็ก ๆ โดยการบิดบริเวณผิวหนังไปมา หรือแช่แผลในน้ำร้อนประมาณ 50 องศาเซลเซียส เพื่อช่วย ให้หนามย่อยสลายเร็วขึ้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก สสส./www.si.mahidol.ac.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
5 แมลงมีพิษ และสัตว์ร้ายที่มากับหน้าฝน อันตรายใกล้ตัวลูก ที่พ่อแม่ต้องระวัง!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่