หมอแนะนำพ่อแม่!  4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน - Amarin Baby & Kids
4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

หมอแนะนำพ่อแม่!  4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

Alternative Textaccount_circle
event
4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน
4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

หมอแนะนำพ่อแม่!  4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

เมื่อลูกน้อยเป็นเบาหวาน คุณพ่อคุณแม่อาจตกใจตั้งสติไม่ทันว่าทำไมลูกเราถึงเป็นเบาหวาน แล้วจะดูแลอย่างไร แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะวันนี้ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้นำคำแนะนำ 4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาบอกต่อแล้วค่ะ

โรคเบาหวาน (Diabetes) และ 4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจากการที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งสารอินซูลินในปริมาณที่เพียงพอเพื่อมาจัดการกับระดับน้ำตาล หรือเกิด “ภาวะดื้ออินซูลิน” ที่สารอินซูลินที่ร่างกายหลั่งมานั้นมีประสิทธิภาพไม่ดีพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ที่จะส่งผลต่อไปต่อกระบวนเผาผลาญ หรือกระบวนการเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไป ให้กลายเป็นพลังงานโดยเฉพาะน้ำตาล

หากระดับน้ำตาลในเลือดไม่สามารถถูกควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ จะส่งผลกระทบที่สามารถทำลายหัวใจ หลอดเลือด ไต และระบบประสาท นอกจากนี้อาจทำให้สูญเสียการมองในระยะยาวได้

โรคเบาหวานมีหลายชนิด สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่เด็กเล็กมีแนวโน้มที่จะเป็นกันมากขึ้น เพราะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด เป็นอาหารประเภทแป้งในสัดส่วนที่สูง มีแคลอรี่สูงต่อมื้อ การเกิดโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น

สาเหตุโรคเบาหวานชนิดที่1

สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และพบได้บ่อยสำหรับโรคเบาหวานเด็กและวัยรุ่น สาเหตุเกิดจาก:

  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน โดยสาเหตุยังไม่เป็นที่แน่ชัดซึ่งวงการแพทย์ได้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป เมื่อเกิดสภาวะนี้ร่างกายจะไม่สามารถเผาผลาญและนำน้ำตาล (Glucose) ที่อยู่ภายในกระแสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้อย่างเป็นปกติ จึงทำให้เกิดสภาวะน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป

สาเหตุโรคเบาหวานชนิดที่2

มีโอกาสพบได้ในวัยรุ่น สาเหตุเกิดจาก:
● ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอและเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาล (Glucose) มาใช้ในการสร้างพลังงานได้ดีนัก
● ในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน และมีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
● ผู้ที่มีชาติพันธ์ุที่เป็นชาวเอเชียใต้ที่มีมีอายุ 25 ปีขึ้นไป
● จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป

4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน
หมอแนะนำพ่อแม่!  4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

เบาหวานในเด็กต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่ อย่างไร

  • หากเกิดโรคเบาหวานในเด็ก จะทำให้มีโอากาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้เยอะกว่าในวัยผู้ใหญ่
  • เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและการแปลงเปลี่ยนทางด้านอารมณ์ และใช้ความรู้สึกมากกว่าอารมณ์ในการตัดสินใจเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจส่งผลต่อการควบคุมการรักษา หรือควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ จึงอาจจะต้องใช้บุคคลรอบข้าง เช่น ผู้ปกครอง หรือญาติ ในการดูแลร่วมด้วย

อาการที่สังเกตได้

  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • ดื่มน้ำมากกว่าปกติ หรือกระหายน้ำบ่อยครั้ง
  • มีความอยากอาหารอยู่บ่อย ๆ
  • การมองเห็นพร่ามัวไม่ชัดเจน หรือเกิดภาพซ้อน, บาดแผลหายช้า
  • ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้หวาน
  • รู้สึกเหนื่อยล้า และหงุดหงิดง่าย
  • น้ำหนักลดลงทั้งที่กินจุ
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นแผลแล้วอักเสบง่ายหายยาก ในเด็กหญิงบางรายอาจติดเชื้อในช่องคลอด

 

การรักษาเบาหวานในเด็ก

การดูแลและรักษาโรคเบาหวานสำหรับผู้ป่วยทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะมีส่วนป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะมากับโรคเบาหวานทั้ง 2 ประเภทได้ และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

● เบาหวานชนิดที่ 1

เนื่องจากจะต้องใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงต้อง

  • ต้องตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • คำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับประทานและดื่ม วิธีนี้จะทำให้รู้ปริมาณการใช้อินซูลินต่อปริมาณสารอาหารที่บริโภคได้อย่างเหมาะสม
  • การสร้างสุขภาพที่ดี การออกกำลังกายเป็นประจำ
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ

สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานในเด็กได้

● เบาหวานชนิดที่ 2

  • จัดการการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การรักษาน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
  • แต่บางรายก็ต้องใช้ยาด้วย เช่น ยาเม็ดและอินซูลิน หรือการรักษาอื่นๆ
  • ควรทดสอบระดับกลูโคสในเลือดเหมือนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

นอกจากนี้ ก็รักษาตามหลักเวชปฏิบัติทั่วไป (GP: General Practitioner) ที่จะเป็นแนวทางได้ว่าควรจะดูแล และรักษาอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

หมอแนะนำพ่อแม่!  4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่ลูกน้อยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์หญิงนวลผ่อง เหรียญมณี กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และการเจริญเติบโต ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้อธิบายว่า การดูแลผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้จะมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะในเรื่องของอาหาร ซึ่งคุณหมอได้แนะนำหลักในการดูแลว่า…

  • นับสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต เพราะจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถคำนวณปริมาณอินซูลินที่ให้กับลูกได้ โดยทางโรงพยาบาลจะมีนักโภชนาการให้คำแนะนำตรงส่วนนี้ ในการแบ่งและนับสัดส่วนได้ถูกต้องเหมาะสม ต้องรู้ถึงปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนั้นๆ ด้วย เพราะไม่ควรงดอาหารในเด็ก แต่ควรให้ในสัดส่วนที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโต
  • เจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล เพื่อช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สำหรับการเจาะดูน้ำตาลในเลือดนั้น ควรเจาะก่อนอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน เพื่อคำนวณปริมาณอินซูลินได้ถูกต้อง
  • ฉีดยาอินซูลิน ก่อนมื้ออาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน ปัจจุบันมีการให้อินซูลินในรูปแบบ insulin pump เพื่อไม่ต้องฉีดยาบ่อย
  • พ่อแม่ต้องรู้จัก และสอนลูกน้อยให้รับมือ กับ “ภาวะน้ำตาลต่ำ” ภาวะน้ำตาลต่ำ เด็กจะมีอาการเหงื่อออก ใจสั่น จะเป็นลม หากวัดน้ำตาลในเลือดดูจะพบว่ามีค่าต่ำกว่า 60

คุณหมอยังแนะนำอีกว่า เด็กวัยนี้ยังต้องมีการทำกิจกรรม มีการเล่น ตามปกติของช่วงวัย พ่อแม่จึงควรสอนให้ลูกน้อยรู้ว่า “ก่อนทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายหนักๆ ควรมีการวัดระดับน้ำตาลก่อนออกกำลังกาย หรือควรรู้ว่าต้องกินคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนเท่าไหร่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ” 

เพราะการคุมอาหารในเด็กจะมีความยากกว่าในผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ จึงจำเป็นต้องอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่เป็นอยู่ เข้าใจถึงความสำคัญในการดูแลเรื่องอาหาร การตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมทั้งเข้าใจว่า ลูกสามารถควบคุมโรคนี้ได้หากดูแลตัวเองดีพอ หรืออยู่ร่วมกับโรคนี้ได้ โดยที่ยังสนุกกับการใช้ชีวิตในทุกวันค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

PPTV HD , pathlab, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ 

ทำไมป่วย เบาหวาน – อ้วน เสี่ยงมากเมื่อติดโควิด-19

โรคอ้วนอันตราย! จำเป็นต้อง ลดเด็กอ้วน

พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up