5 อันดับ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พ่อแม่ต้องระวังเข้ม - Amarin Baby & Kids
โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

5 อันดับ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พ่อแม่ต้องระวังเข้ม

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน
โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

5 อันดับ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พ่อแม่ต้องระวังเข้ม

โรคระบาดที่รุนแรงในโลกเรานี้ หลายโรคสามารถติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนได้ ทั้งมาจากสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า 5 อันดับ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พ่อแม่ต้องระวังเข้ม มีโรคอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

5 อันดับ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

สำหรับโรคติดต่อระหว่างสัตว์เเละคนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 5 อันดับเเรก ได้แก่

1. โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคไข้หวัดนก (Zoonotic avian influenza)

โรคไข้หวัดนกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ที่พบในนกและสัตว์ปีก โดยอาการและความรุนแรงของโรคขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสและชนิดของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ สายพันธุ์ที่มีความสำคัญคือ H5N1 ซึ่งทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก คือผู้ที่มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการ มักมีอาการเด่นคือ

  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่มีอาการไอและหายใจเหนื่อยหอบจากปอดอักเสบ บางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนทางปอดรุนแรง คือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย
  • อาการทางระบบประสาท เช่น ซึม ชัก
ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมากจะมีภาวะการทำงานของหลายอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้
โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน
5 อันดับ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

2.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19, SARS, MERS)

ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง

อาการของไวรัสโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • มีไข้
  • เจ็บคอ
  • ไอแห้ง ๆ
  • น้ำมูกไหล
  • หายใจเหนื่อยหอบ

3.โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus)

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน ที่เกิดจากการสัมผัสมูลสัตว์ และสารคัดหลั่งของพาหะนำโรค ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ หรือสุกร ม้า แมว แพะ แกะ ที่รับเชื้อมาจากค้างคาวผลไม้อีกต่อหนึ่ง

อาการ

  1. มีลักษณะอาการคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว
  2. หายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก
  3. หากเริ่มมีอาการหนักขึ้น จะเริ่มไอเสียงดัง
  4. อาจมีอาการแทรกซ้อนที่อันตรายขึ้นมา เช่น ปอดบวม สมองอักเสบ ส่วนใหญ่เมื่ออาการหนัก จะมีอาการคล้ายโรคสมองอักเสบ (คนไทยจะเรียกโรคนี้ว่า โรคสมองอักเสบนิปาห์)
  5. เริ่มซึม สับสน หรือมีอาการชัก

4.โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

เป็นโรคติดต่อจากสัตว์เลือดอุ่น โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ติดต่อมาสู่คนโดยถูกสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลีย บริเวณที่มีแผลรอยข่วน หรือน้ำลายของสัตว์ที่มี เชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าตา ปาก จมูก

สัตว์ที่นำโรคที่สำคัญที่สุดได้แก่ สุนัข แมว และอาจพบในสัตว์อื่นๆ ทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ม้า วัว ควายและสัตว์ป่า เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น

เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว และไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากรับเชื้อ 15 – 60 วัน บางรายอาจน้อยกว่า 10 วัน หรือนานเป็นปี

เนื่องจากขณะนี้ไม่มียาที่ใช้ในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเสียชีวิตทุกราย การป้องกันโรคจึงสำคัญที่สุด ควรนำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เช็ดให้แห้งแล้วใส่สารละลายไอโอดีนที่ไม่มี แอลกอฮอล์ เช่น โพวิดีน ไอโอดีน หรือยารักษาแผลสดอื่น ๆ แทน และรีบไปพบแพทย์

5.โรคอีโบลา (Ebola)

โรคอีโบลาติดได้ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐานว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นได้จากการจับต้องสัตว์ติดเชื้อ ได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง แอนติโลปป่า และเม่น สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก

โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลันอ่อนเพลียมาก  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดศีรษะและเจ็บคอ  ตามด้วยอาการอาเจียน  ท้องเสีย  ผื่นผิวหนัง ไตและตับทำงานบกพร่อง  และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก  ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำตลอดจนระดับเอ็นไซม์ตับสูงกว่าปกติ

ทั้ง 5 โรคนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันพัฒนาระบบเฝ้าระวังเเละป้องกันโรคให้ดียิ่งขึ้น พร้อมจัดสรรทรัพยากรแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก

MGR Online, โรงพยาบาลรามคำแหง, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา, โรงพยาบาลวิภาวดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

WHO เตือน ไวรัสอีโบลา ระบาดซ้ำ โรคร้ายต่างแดนแม่ต้องระวัง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up