เลี้ยงลูกอย่างไรให้ “จิต” ปกติ เมื่อ ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต …“สุขภาพจิต” คือ ภาวะพัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการช้าเร็วไม่เท่ากัน เมื่อเกิดพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วไปก็อาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้ ซึ่งความผิดปกติทางจิตของเด็กมีอยู่มากมายหลายแบบ บางอาการเป็นเพียง “ปัญหาสุขภาพจิต” เท่านั้น ยังไม่ใช่โรคและไม่ต้องกินยา แต่อาศัยการปรับพฤติกรรมเข้าช่วยเหลือ
11 โรค เมื่อ ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต
ชีวิตลูกดี๊ดี เพราะมีหัวใจแข็งแรง
เพื่อให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เช่น ปัญหาเด็กปรับตัวช้า ปัญหาเด็กขี้อาย ปัญหาเด็กไม่พูด ปัญหาเด็กงอแง ปัญหาเด็กไม่กิน ปัญหาเด็กไม่คุยกับคนแปลกหน้า ปัญหาเด็กหงุดหงิดง่าย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่โรค อาจดูเหมือนเป็นเพียงปัญหาการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ทั่วๆ ไปก็พบเจอ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะปัญหาเล็กๆ อาจพัฒนากลายเป็น “โรคจิตเวช” ในอนาคตได้ค่ะ”
คุณหมอวิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวเปิดประเด็น เพื่อแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจ ใส่ใจ และรับมือกับสุขภาพจิตของลูกน้อยอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ลูกน้อยมีสุขภาพจิตแข็งแรง และส่งเสริมให้เขามีชีวิตดี๊ดีต่อไปในอนาคตค่ะ
ชวนคุณพ่อคุณแม่ทำความรู้จัก “โรคจิตเวช” ในเด็ก
เด็กส่วนใหญ่ในสังคมเพียงแค่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือมีปัญหาพัฒนาการเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งหมอแค่สอนพ่อแม่เรื่องการเลี้ยงดูลูกที่ถูกวิธีให้ หรือแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ประสานงานกับโรงเรียน เพื่อให้ครูดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสม เท่านี้ก็หมดปัญหาแล้ว ส่วนเด็กในกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคจิตเวช ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจังมีเพียงประมาณ 10% จากเด็กทั้งหมดเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นการทำความเข้าใจโรคจิตเวชไว้ก่อนอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตลูกได้ง่ายขึ้น หากเกิดความผิดปกติจะได้พามาปรึกษาคุณหมอทันท่วงที ซึ่งโรคจิตเวชที่พบได้ในเด็กมีดังต่อไปนี้
♥ บทความแนะนำควรอ่าน : ควรรู้! 20 เรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องบอกครู และคุณครูอยากบอกกับพ่อแม่
1. โรคออทิสติก
เด็กเล็กที่มาหาหมอส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับพัฒนาการ โรคที่หมอเจอบ่อยที่สุดคือ ออทิสติก แม้ออทิสติกจะเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่กว่าพ่อแม่จะสังเกตรู้มักจะเข้าช่วงวัยประมาณ 2 ขวบครึ่งแล้ว เนื่องจากเด็กป่วยโรคออทิสติกมักมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายปกติดี บางครั้งบางคราวก็ดูรู้เรื่องและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดี เพียงแต่ไม่สบตา มีปัญหาเรื่องพูดช้า และกว่า 75% มีปัญหาเรื่องไอคิว จึงสังเกตได้ยากในวัยเบบี๋
♥ บทความแนะนำควรอ่าน : 14 ข้อสำคัญ เพื่อรับมือกับลูกน้อยที่เป็น เด็กออทิสติก
2. โรคสมาธิสั้น
กลุ่มโรคปัญหาด้านพฤติกรรมที่หมอพบบ่อยที่สุดคือ โรคสมาธิสั้น อาการของลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ง่ายๆ คือ เขาจะซนกว่าเด็กปกติ ทำตัววุ่นวายอยู่ตลอดเวลา เล่นอะไรไม่เสร็จซักอย่างก็เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรืองานที่ไม่สนุก เช่น การเรียน ทำการบ้าน เด็กบางคนมีประวัติพูดช้ากว่าปกติ และเมื่อโตขึ้นบางส่วนก็ทั้งดื้อทั้งเกเรอย่างหนัก หรือมีพฤติกรรมที่เป็นการรบกวนผู้อื่นเสมอ
♥ บทความแนะนำควรอ่าน : ลูกไฮเปอร์ กับสมาธิสั้น แตกต่างกันอย่างไร?
3. โรคภาวะบกพร่องทางการเรียน
ภาวะบกพร่องทางการเรียน หรือ LD (Learning Disability) คือ โรคที่ทำให้เด็กมีทักษะความสามารถในการเรียนต่ำ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจและทำใจยอมรับว่า เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้เขาเรียนได้ไม่ดีไม่ใช่เพราะความขี้เกียจหรือเขาไม่ยอมเรียนหนังสือ แต่เป็นเพราะความผิดปกติของสมอง และเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นเหตุให้ในสมองไม่มีโปรแกรมสำหรับการอ่านเขียน ทำให้เขาแยกตัวหนังสือไม่ออก อ่านไม่ได้ ไม่เข้าใจการสะกดคำ และเขียนหนังสือไม่ถูก เขาจึงอ่านและเขียนหนังสือช้ากว่าเพื่อน เป็นเหตุให้มีผลการเรียนต่ำ แม้พ่อแม่จะบีบบังคับเขาหนักหนาเพียงใด หรือแม้ว่าเขาจะมีไอคิวสูงเกิน 140 ผลการเรียนก็อาจไม่ได้ตามที่พ่อแม่คาดหวังอยู่ดี
อ่านต่อ >> “11 โรคจิตเวชในเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่