โรคลัสสา โรคร้ายที่แม่ท้องต้องระวังให้ดี!

Alternative Textaccount_circle
event

 

 

โรคลัสสา

โรคลัสสา คืออะไร?

ไข้ลัสสา เป็นโรคในแถบแอฟริกาตะวันตก โรคนี้พบครั้งแรกในปี พ.ศ.2493 ที่โรงพยาบาลของประเทศไนจีเรีย ตั้งแต่นั้นมามีการระบาดอย่างกว้างขวางในประเทศไลบีเรีย, เซียร์ราลีโอนและกินี การระบาดของโรคเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน เป็นโรคที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยมีหนูเป็นพาหะนำโรคโดยติดต่อจากเศษอาหารหรือของใช้ในครัวเรือนปนเปื้อนกับอุจจาระหนู

อาการของโรค : มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ มีอาการไออาเจียน ท้องร่วง เจ็บหน้าอกและช่องท้อง อาการไข้จะยังคงมีอยู่ตลอด หรืออาจไข้สูงเป็นระยะ อาการตาอักเสบและคออักเสบเป็นหนอง มักพบได้บ่อย ผู้ป่วยร้อยละ 80มักมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการเลือดออก ช็อก มีอาการหน้าบวมคอบวม เกล็ดเลือดจะลดลงและการทำงานของเกล็ดเลือดจะผิดปกติ ผู้ป่วยประมาณ ร้อยละ 25 มีอาการหูหนวก

ระยะฟักตัวของโรค : 6 – 21 วัน

การแพร่ติดต่อโรค : เกิดจากการสัมผัสละอองฝอย หรือการสัมผัสจากอุจจาระของหนูที่ติดเชื้อตามพื้นผิว เช่นเตียงนอน หรือการสัมผัสอาหารและนํ้าที่ปนเปื้อนเชื้อหรือการแพร่เชื้อในห้องปฏิบัติการ และสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล เช่น การฉีดวัคซีนโดยใช้เข็มที่ปนเปื้อนเชื้อและติดต่อได้ทางสารคัดหลั่ง ปัสสาวะ อุจจาระ และโรคนี้ยังสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนทางเพศสัมพันธ์

ถึงแม้ว่าโรคดังกล่าวจะยังไม่พบในประเทศไทยก็ตาม แต่เพื่อเป็นการป้องกันนั้น สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ การควบคุมพาหะ คือ หนู โดยเก็บข้าว และอาหารอื่น ๆ ในที่ ๆ ควรเก็บเพื่อป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาเพ่นพ่านในบ้านของเรากันนะคะ

ขอบคุณที่มา: สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up