หากคุณกังวลว่าลูกจะเป็นออทิสติกเพราะ “ทีวี” หรือ “แท็บเล็ต” นั้นก็วางใจได้เลยค่ะว่าไม่ใช่แน่นอน การแพทย์ปัจจุบันทราบเพียงว่าออทิสติกมีอาการอย่างไร แต่ระบุสาเหตุไม่ได้อยู่ดีว่ามาจากกรรมพันธุ์หรือการเลี้ยงดู แต่ทางหลักจิตวิทยา “ออทิสติก” เป็นอาการที่เกิดขึ้นเอง
แต่ก็ไม่ใช่วา “ทีวี” และ “แท็บเล็ต” จะปลอดภัยหายห่วง 100% เพราะพัฒนาการจากสิ่งรอบตัวมากกว่า 2 อย่างนี้ย่อมให้ผลที่ดีกว่าสำหรับลูกเสมอ มาฟังแง่คิดดีๆ จากคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์กันค่ะ
ทำความเข้าใจ “ออทิสติก” กับ “อุปกรณ์หน้าจอ”
- “ออทิสติก” ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู ไม่ได้เกิดจากการดูทีวีและไม่ได้เกิดจากการเล่นแท็บเล็ต
- “ออทิสติก” เกิดเอง ไม่รู้สาเหตุ
- การดูทีวีก่อน 2 ขวบ ถือเป็นข้อห้าม อาจจะนำโรคที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการบางชนิดมาให้ แม้จะไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนแต่คำเตือนนี้ชัดเจน
- การดูจอทุกชนิดก่อน 2 ขวบ แม้ว่าจะยังไม่มีคำเตือนที่ชัดเจนเท่าทีวี แต่ไม่ควรเช่นกัน
- การดูทีวีและจอทุกชนิดหลัง 2 ขวบ ควรดูน้อยที่สุด จนกว่าพัฒนาการส่วนบุคคลจะพร้อมทุกด้าน นั่นคือประมาณ 6 – 7 ขวบ เครื่องมือเสริมพัฒนาการที่ดีที่สุดคือการเล่นอย่างเสรีในสนาม
- แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลพิสูจน์ว่า “โรคสมาธิสั้น (ADHD) เกิดจากการดูทีวีหรือหน้าจอต่างๆ มากเกินไป แต่ “สภาวะ” เหม่อลอย อยู่ไม่นิ่ง ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไม่ได้ (แต่ท่องศัพท์ พูดโฆษณา หรือร้องเพลงได้) เหล่านี้มีความสัมพันธืกับการดูทีวีหรือหน้าจออื่นมากเกินไป
- เกิดจากการเปลี่ยนภาพที่รวดเร็วในทีวีหรือหน้าจอมีการตอบสนองตลอดเวลาในแท็บเล็ต ระบบประสาทฟอร์มตัวไม่ปกติ
- เกิดจากการขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือคนจริงๆ อื่นๆ
- อะไรที่เห็นว่าดูเหมือนฉลาดจากทีวีหรือแท็บเล็ต ดูดีเท่านั้น แต่ไม่มีประโยชน์อะไร พัฒนาการอื่นๆ สำคัญกว่ามาก อะไรที่เราเห็นว่าเด็กดูคล้ายจะเร็วในตอนแรก เดกคนอื่นๆ ที่เล่นในสนาม ระบายสี ทำงานบ้านกับพ่อแม่ และฟังพ่อแม่อ่านหนังสือนิทานก่อนนอน จะรู้เท่ากัน มากกว่า และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อชีวิตตนเองได้ดีกว่าในวันหน้าเสมอ
วันหนึ่ง คือประมาณ 6 – 7 ขวบ เมื่อเด็กเป็นคนจริงๆ แล้ว ฝึกห้เขามีวินัยในตนเองเขาจะมีทักษะไอทีที่ดีและควบคุมและใช้ไอทีเป็น
ที่มาจาก : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ภาพ : asianscientist