ผู้เชี่ยวชาญกังวล!!ภาวะ "TikTok Brain" ทำ เด็กสมาธิสั้น - Amarin Baby & Kids
เด็กสมาธิสั้น

ผู้เชี่ยวชาญกังวล!!ภาวะ “TikTok Brain” ทำ เด็กสมาธิสั้น

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น พบสถิติมากขึ้น สาเหตุเกิดจากอะไร สื่อโซเซียลที่ใช้กันตั้งแต่เด็กเล็กยันผู้ใหญ่จะมีส่วนเกี่ยวข้องไหม และ TikTok Brain ภาวะที่ผู้เชี่ยวชาญกังวล

ผู้เชี่ยวชาญกังวล!!ภาวะ “TikTok Brain” ทำ เด็กสมาธิสั้น

เคยสังเกตลูกกันบ้างไหมว่า…เด็กไม่สามารถดูภาพยนตร์ที่มีความยาวได้จนจบ มีปัญหากับการจดจ่อกับการบ้าน การอ่านหนังสือ กันบ้างหรือไม่ หากคำตอบเป็นว่าใช่แล้วละก็ ลองมาสำรวจชีวิตประจำวันของลูกกันดูดีไหมว่า กิจวัตรประจำวันของลูกนั้นเป็นสาเหตุทำให้ลูกเป็น เด็กสมาธิสั้น หรือเปล่า

โรคสมาธิสั้น

ผลสำรวจล่าสุดของกรมสุขภาพจิตในปี 2559 พบว่า เด็กอายุ 6 – 15 ปีทั่วประเทศเป็นโรคนี้ถึงประมาณ 420,000 คน พบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 4 – 6 เท่า และในห้องเรียนที่มีจำนวนเด็กเฉลี่ย 40 – 50 คน พบเด็กที่เป็นโรคนี้แล้ว 2 – 3 คน ดังนั้นหากรู้เท่าทันและรักษาได้ทันท่วงทีย่อมช่วยให้อาการของเจ้าตัวเล็กดีขึ้นและเติบโตได้อย่างมีความสุข

โรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 – 7 ปี แต่ในรายที่เป็นไม่มาก อาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าในช่วงหลัง 7 ขวบขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียน มีงานและการบ้านต้องรับผิดชอบหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู รวมไปถึงการที่จะต้องรู้จักปรับตัวในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม โดยสาเหตุแท้จริงนั้นไม่สามารถทราบได้ชัดเจน แต่หนึ่งในนั้นคือการที่สมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจทำงานน้อยกว่าปกติ

เด็กสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมได้นาน
เด็กสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมได้นาน

สมาธิสั้นเทียม

ผศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นเทียมได้ โดยทั่วไปเด็กจะมีอาการคล้ายๆ กับโรคสมาธิสั้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจลูกมากเกินไป เด็กบางคนหมกมุ่นแต่เกม เวลาไปเรียนก็จะนึกถึงแต่เรื่องเกม จนขาดสมาธิในการเรียน บางคนถึงขั้นเอาแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนไปเล่นใต้โต๊ะเรียน หากพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจ และปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู เด็กก็จะมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา เช่น วางระเบียบวินัยในการทำกิจวัตรประจำวัน ให้เด็กๆ รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร หรือจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้มีสิ่งเร้าเยอะ เช่น เมื่อกลับถึงบ้านห้ามเปิดโทรทัศน์ทันที เก็บของเล่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อเด็กๆ จะได้ไม่วอกแวกหรือเล่นของเล่นก่อนทำการบ้าน

“พ่อแม่ ผู้ปกครองควรฝึกลูกตั้งแต่เล็กๆ เพื่อเขาจะได้เชื่อฟัง แต่สำหรับเด็กที่ต่อต้านไม่เชื่อฟังจนถึงขั้นอาละวาด พ่อแม่ต้องมีความหนักแน่น ถ้าสิ่งที่ลูกเรียกร้องไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เราต้องปล่อยให้เขาอาละวาดไป พอถึงจุดหนึ่งเขาจะเลิกอาละวาดไปเอง เมื่อรู้ว่าวิธีการที่ทำไม่ได้ผลในการเรียกร้องความสนใจเหมือนเดิม”

สมาธิ กับ สมอง

ในปี ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้ทำการวิจัยโดยการวัดคลื่นสมองของคนขณะทำกิจกรรม 3 อย่างหลักๆ คือ ตอนตื่น ตอนหลับ และ ระหว่างทำสมาธิ ผลที่ได้คือเวลาที่เราทำงาน หรือ เรียนหนังสือปกติ มนุษย์จะปล่อยคลื่นสมองที่เรียกว่าเบต้า (Beta) ออกมา ซึ่งอยู่ในช่วงความถี่อยู่ที่ 12.5 ถึง 30 เอิรทซ์ ความถี่ขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงความถี่ที่สูงมาก สมองในช่วงนี้จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าและทำงานได้เร็วมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราสามารถนึกคิด แก้โจทย์ต่างๆ ดึงความจำในอดีตมาใช้ได้

ส่วนในขณะที่เราทำสมาธิระดับต้นนั้น สมองจะปล่อยคลื่นที่เรียกว่าอัลฟ่า (Alpha) ออกมา และเมื่อเราสามารถพัฒนาในการทำสมาธิขั้นสูงขึ้นได้สมองจะปล่อยคลื่นเธต้า (Theta) โดยจะมีความถี่ที่ 4-12 เฮิรทซ์ ซึ่งในขั้นนี้สมองจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าน้อยลง เรียบเรียงข้อมูลได้เป็นระบบขึ้น จึงส่งผลให้จิตใจผ่อนคลายและสงบมากขึ้น และในกิจกรรมสุดท้ายคือขณะหลับสนิท สมองนั้นจะปล่อยคลื่น เดลต้า (Delta) โดยอยู่ในช่วงความถี่ที่ต่ำสุด มีช่วงความถี่ที่ 0.5-4 เฮิรทซ์ ในกรณีของผู้ปฎิบัติธรรมสมาธิขั้นสูง เมื่อเราทำการวัดค่าคลื่นสมอง คลื่นสมองที่วัดค่าได้จะเปลี่ยนเป็นเดลต้า เหมือนขณะที่เราหลับอยู่ แต่ทว่าผู้ที่ทำสมาธิคนนั้นยังตื่นรู้และมีสติอยู่ ในทางวิจัยค้นพบว่าหากใครสามารถทำได้จะสามารถทำให้สามารถตัดสินใจเฉียบคมขึ้น ระบบการจัดเรียงความคิดจะมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลในด้านดีกับตัวผู้ทำสมาธิได้

ที่มา : https://neurobalanceasia.com
สมอง กับสมาธิ
สมอง กับสมาธิ

อ้างอิงจากผลการทดลองระหว่างสมาธิ กับสมองที่มีความเกี่ยวโยงกัน และสมาธิยังช่วยส่งเสริมให้สมองสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้พ่อแม่อย่างเรา ๆ คงต้องกลับมานั่งคิดทบทวนกันเสียแล้วละว่า ความกังวลของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อผลกระทบของสื่อโซเซียล เทคโนโลยีที่ส่งผลถึงภาวะสมาธิสั้นในเด็กนั้น เป็นเรื่องที่เราควรต้องกังวล ที่แม้ว่าผลดังกล่าวอาจยังไม่สามารถให้ผลสรุปที่แน่นอน ชัดเจนได้ก็ตามที แต่การที่พ่อแม่ไม่ควบคุม ดูแล และจัดการกับการเข้าถึงของสื่อต่าง ๆ เหล่านี้ของลูกให้ดีพอ จะทำให้เกิดผลเสียต่อลูกของเราได้ อย่างมหาศาล

อ่านต่อ >>TikTok Brain ส่งผลเสียต่อลูกอย่างไร และจะหยุดภาวะนี้ได้อย่างไร คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up