“เด็ก 3 เดือนติดโควิด-19 แพทย์ชี้สาเหตุมาจาก "เพื่อนพ่อ" - Amarin Baby & Kids
เด็ก 3 เดือน ติดโควิด

หมอเฉลย สาเหตุ “เด็ก 3 เดือนติดโควิด-19″ พ่อแม่ต้องระวัง!!

Alternative Textaccount_circle
event
เด็ก 3 เดือน ติดโควิด
เด็ก 3 เดือน ติดโควิด

หนึ่งในข่าวโควิด-19 ที่ทำเอาคุณแม่ทั้งหลายอดวิตกกังวลไม่ได้ คือ ข่าว เด็ก 3 เดือนติดโควิด-19 ที่เขตบางบอน กทม ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากคนใกล้ตัวในครอบครัว

หมอเฉลย สาเหตุ “เด็ก 3 เดือนติดโควิด-19 พ่อแม่ต้องระวัง!!

เด็ก 3 เดือนติดโควิด

วันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปีที่พบเชื้อโควิด-19 ในไทย ซึ่งปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศมีจำนวน 10,991 ราย รักษาหายแล้ว 6,943 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3,981 ราย เสียชีวิตสะสมรวม 67 ราย ซึ่งเป็นที่น่าตกใจเมื่อพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อายุน้อยที่สุด คือ ทารกเพศชาย วัย 3 เดือน จากเขตบางบอน

สำหรับสาเหตุการติดเชื้อโควิดเคสนี้นั้น นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ชี้แจงว่า เป็นการติดเชื้อในครอบครัว จากการสอบสวนทราบว่า เพื่อนของพ่อมาทานหมูกระทะที่บ้าน ต่อมาเพื่อนคนนี้มีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น หลังตรวจจึงพบว่าติดเชื้อโควิด-19 จึงแจ้งให้ทราบ ครอบครัวดังกล่าวจึงเข้าตรวจหาเชื้อ ผลออกมาว่าติดโควิด-19 จำนวน 3 ราย และทั้ง 3 ไม่มีอาการ แต่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการรักษาเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งครอบครัวนี้มีสมาชิกทั้งหมด 5 ราย ผู้ติดเชื้อ 3 ใน 5 ราย คือ แม่อายุ 40 ปี ลูกคนโตอายุ 7 ขวบ และลูกคนเล็กอายุ 3 เดือน 

หลังจากทราบที่มาของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กเล็ก ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ ต้องหันกลับมาระมัดระวังปกป้องลูกน้อย และสมาชิกในครอบครัว ให้รอดพ้นวิกฤตโรคระบาดไปอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะการรักษา Social Distance เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการนำเชื้อกลับมาติดลูกรัก

เนื่องจากเคสเด็กที่ติดโควิด-19 ส่วนมากมักจะติดจากพ่อแม่ และคนในครอบครัว เช่น หนูน้อยวัย 1 เดือน จากจังหวัดระยอง ที่รับเชื้อโควิด-19 จากการพ่อแม่ที่สังสรรค์กินเลี้ยงกันที่บ้านกับเพื่อนๆ และเด็กหญิงวัย 4 ขวบ ที่รับเชื้อโควิด-19 จากพ่อแม่ตนเอง  ดังนั้นครอบครัวที่มีเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์กับผู้อื่นในช่วงนี้ ไม่พาตนเองไปในที่สุ่มเสี่ยง และรักษา Social Distance อย่างเข้มงวด

social-distance

Social Distancing  หมายถึงการลดการสัมผัส ใกล้ชิด ระหว่างตนเอง และผู้อื่น รวมไปถึงคนในครอบครัว เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคติดต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด วัณโรค รวมไปถึง COVID-19 ที่กำลังระบาดในตอนนี้ด้วย

SOCIAL DISTANCING ต้องทำอย่างไรบ้าง?

  1. อยู่บ้านให้มากขึ้น งดพบปะสังสรรค์ และเที่ยวนอกบ้าน
  2. ลี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่น เว้นระยะห่างจากผู้อื่น ยืน-นั่ง ห่างกัน 1.5-2 เมตร
  3. เลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นโดยตรง 
  4. เลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นโดยอ้อม เช่น การใช้สิ่งของร่วมกัน การรับประทานอาหารสำรับเดียวกัน
  5. เลี่ยงสถานที่ชุมชน และกิจกรรมที่มีคนแออัน
  6. เปลี่ยนมาใช้ออนไลน์ให้มากที่สุด เช่น การเรียน การประชุม การซื้อสินค้า เพื่อลดความจำเป็นที่ต้องไปอยู่รวมกัน
  7. ลดความหนาแน่นในลิฟท์  หากเป็นไปได้ให้เปลี่ยนไปใช้บันไดแทน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์แพทย์หญิงรพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Must Read >> เด็กติดโควิด ระวังเชื้อจากพ่อแม่ แพร่ Covid-19 สู่ลูก

baby-hospital

การแพร่เชื้อและโอกาสการแพร่เชื้อ COVID-19

พญ.วราลี ผดุงพรรค กุมารแพทย์ประจำศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนครธน ได้แชร์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค COVID-19 ในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ เชื้อ COVID-19 จะติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม การไอหรือจามที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จะมีการแพร่กระจายของเชื้อเป็นละอองฝอยอยู่ในอากาศได้ในระยะ 1-2 เมตร หรือเชื้ออาจติดตามพื้นผิวต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ระยะเวลาหนึ่ง

เชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

  • เยื่อบุตา เช่น เมื่อเด็กๆ ไปจับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคอยู่แล้วมาขยี้ตา
  • จมูก เช่น มื่อเด็กๆ ไปจับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคอยู่แล้วมาแคะขี้มูกหรือจมูก
  • ปาก เช่น นำมือเข้าปาก อมของเล่น หรือใช้ภาชนะร่วมกัน

Must Read >> โควิด อาการ ที่ต้องสังเกต! สัญญาณอันตรายที่ต้องไปโรงพยาบาล

ข้อแนะนำในการป้องกันโควิด-19 ให้ห่างไกลลูกรัก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำวิธีดูแลเด็กๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ดังนี้
  • เด็กๆ ควรอยู่ที่บ้านตนเอง เด็ก ๆ มีความเสี่ยงสูงในการได้รับเชื้อโรคจากโรงเรียน สถานที่เรียนพิเศษ หรือ สถานรับเลี้ยงเด็ก เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น เด็ก ๆ ควรกักตัวอยู่กับบ้านของตนเอง ไม่เดินทางไปมาระหว่างบ้านญาติหรือบ้านเพื่อนสนิท
  • งดสังสรรค์พบปะกันที่บ้าน ผู้ปกครองงดนำบุคคลภายนอก หรือญาติพี่น้องเข้าพบเด็ก ๆ ในบ้าน และไม่ควรให้บุคคลภายนอกหรือญาติพี่น้องมาเล่นกับเด็กในช่วงนี้
  • สอนให้ลูกดูแลความสะอาดส่วนตัว ลูกน้อยวัย 1.5 – 2 ปี พ่อแม่ต้องคอยสอนและดูแลไม่ให้ลูกนำมือ และสิ่งของต่างๆ เข้าปาก และฝึกล้างมืออย่างง่ายให้กับลูก สำหรับลูกวัย 3 ปีขึ้นไป ควรสอนให้รักษาความสะอาด เช่น ฝึกให้ล้างมือประกอบการร้องเพลงที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 20 วินาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อที่มือ
  • คุณแม่ให้นมได้ปกติ แต่ต้องเพิ่มเกราะป้องกัน เนื่องจากน้ำนมแม่ไม่ได้เป็นแหล่งในการแพร่เชื้อโควิด-19 แต่ขณะให้นมต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสลูก ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิว
  • คนในครอบครัวทำงานในพื้นที่เสี่ยง ควรแยกห้องในทุกกิจกรรม และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเด็ก ๆ หากไม่จำเป็น
  • คนในครอบครัวควรเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงพยาบาลหรือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเทหากคนในบ้านมีความจำเป็นต้องไปทำธุระนอกบ้าน ไปทำงาน หรือทำธุระ กลับบ้านให้ปฏิบัติเหมือนว่าได้สัมผัสเชื้อโควิด-19 แล้ว ได้แก่
    1. กลับบ้านให้ล้างมือทันที
    2. ถอดเสื้อผ้า แล้วแยกซักจากเสื้อผ้าเด็ก
    3. อาบน้ำก่อนเข้าไปเจอลูก
    4. ไม่ควรใช้ของใช้ร่วมกัน แยกชาม ช้อน แก้วน้ำ ของใช้อื่น ๆ
    5. ถ้าลูกเล็กมากอยู่ในวัยทารก หรือมีร่างกายที่ไม่แข็งแรง ควรสวมหน้ากากอนามัยก่อนไปเจอลูก

เด็ก 3 เดือนติดโควิด

วิธีสร้างเกราะป้องกันโควิด-19 สำหรับเด็กโต

พ่อแม่ควรสร้างความรู้ความเข้าใจกับตัวโรคแก่เด็กอย่างกระชับ เพื่อให้ลูกเข้าใจถึงอันตรายของโรคโควิด-19 เช่น

1.บอกกับลูกว่า ตอนนี้มีเชื้อโรคตัวใหม่และรุนแรง ที่สามารถติดกันได้ง่ายจากการไอ จาม และการสัมผัสสิ่งของร่วมกันทุกคนต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น

2.สอนให้ลูกล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งอย่างถูกต้อง ก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ

3.อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าหรือเอามือเข้าปาก เพราะทำให้ติดเชื้อโรคได้

4. ต้องใส่หน้ากากอนามัยเสมอเมื่อไปนอกบ้านหรือที่มีคนเยอะ

Must Read >> ไขข้อสงสัย ‘หน้ากากอนามัย’ ชนิดไหนป้องกัน ‘โควิด-19’ และ ‘PM2.5’ ไปพร้อมกัน!!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค , รพ.นครธน , กระทรวงสาธารณสุข

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เชื้อโควิดบนสิ่งของ เกาะลูกบิดประตู อยู่ได้นานแค่ไหน

เรื่องจริงจากหมอ “ทำคลอดแม่ติดโควิด” อันตรายสุด เตือนแม่ อย่าเสี่ยง อย่าปิดข้อมูล

คนท้องตรวจโควิดได้ไหม จำเป็นต้องตรวจไหม อาการแบบไหนไม่ควรปล่อยไว้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up