ไขปัญหา! น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ตากแดด..เป็นพิษหรือไม่? - Amarin Baby & Kids
น้ำดื่ม ตากแดด

ไขปัญหา! น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ตากแดด..เป็นพิษหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำดื่ม ตากแดด
น้ำดื่ม ตากแดด

สงสัยกันมานานว่า น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ตากแดดนั้น อันตรายหรือไม่ ขวดพลาสติกที่ตากแดดนานๆ จะมีสารไดออกซิน และสาร BPA แพร่ออกมาทำให้เสี่ยงมะเร็ง วันนี้ไขข้อข้องใจกันชัดๆ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล

หากบริโภคน้ำดื่มจากขวดพลาสติกที่ทิ้งไว้ในรถ อาจได้รับสารไดออกซินที่แพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติก เนื่องจากอากาศร้อนจัด อาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆ ได้ ข้อมูลนี้เป็นจริงหรือไม่?

สารไดออกซิน คืออะไร?

สารไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้คือกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น

การสร้างกลุ่มสารไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้

สาร ไดออกซิน ขวดน้ำ

สารไดออกซินแพร่ออกจากขวด น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ ได้หรือไม่?

สำหรับขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน (PE)  และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น

ขวดน้ำดื่มที่ทำจากพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมากพอที่จะทำให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค

และจากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่มีการพิจารณาตรวจแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก

นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังทำการทดลองโดยซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิพรอพิลีน (PET)  พอลิคาร์บอเนต (PC)  และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่จำหน่ายในตลาดสดและซูเปอร์มาเก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ  และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว โดยใช้เทคนิคขั้นสูง Isotope Dilution และวัดปริมาณด้วยเครื่องมือ High Resolution Gas Chromatography/High Resolution Mass Spectrometry

ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง

ดังนั้น สรุปได้ว่า ขวดพลาสติกบรรจุ น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ กลางแดด ไม่ได้มีสารไดออกซินปนเปื้อนลงไปในน้ำดื่มแต่อย่างใด สบายใจไปได้เปราะหนึ่งแล้วนะคะ

 

สำหรับสารเคมีอีกหนึ่งชนิด ที่คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าจะสามารถแพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติกและปนเปื้อนลงในน้ำดื่ม ได้แก่ สาร BPA มาไขข้อข้องใจกันต่อในหน้าถัดไป

อ่านต่อ รู้จัก สาร BPA คืออะไร คลิกหน้า 2>>

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up