สาร BPA คืออะไร?
Bisphenol A (BPA) เป็นสารตั้งต้นเพื่อใช้ในการผลิตพลาสติก โดยเมื่อถูก form เป็นพลาสติกแล้ว เราจะเรียกพลาสติกชนิดนี้ว่า polycarbonates (PC)
Bisphenol A หรือรู้จักกันในชื่อ’BPA’ นั้นเป็นองค์ประกอบหลักของพอลิคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่แข็งและใส พลาสติกชนิดนี้จะมีสัญลักษณ์การรีไซเคิลพลาสติกเป็นหมายเลข ‘7’ หรือ ‘other’ มักใช้ทำขวดน้ำ ขวดนมเด็ก บรรจุภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เลนส์สัมผัส ซีดี สารอุดฟัน เครื่องมือแพทย์และทันตกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์กีฬา
สาร BPA นี้ มักถูกชะออกมาจากพลาสติกพอลิคาร์บอเนต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากภาชนะพลาสติกดังกล่าวบรรจุของเหลวที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือถูกทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์แรง หรือของเหลวที่มีอุณหภูมิสูง ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มจากขวดพอลิคาร์บอเนตมีระดับสาร BPA สูงกว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มจากบรรจุภัณฑ์อื่นถึงสองในสามเท่า เช่นเดียวกับเด็กเล็กที่ดูดนมจากขวดก็พบว่ามีระดับของสารดังกล่าวสูงกว่าเด็กที่ดูดนมจากเต้า
BPA อันตรายอย่างไร?
การเกิดพิษของ BPA นั้นที่สำคัญคือ การรบกวนระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย ทั้งยังสามารถก่อให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นพิษต่อตับ ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน การก่อให้เกิดเนื้องอกและมะเร็งด้วย ถึงแม้ว่าการได้รับ BPA ที่ปนเปื้อนมาในชีวิตประจำวันนั้นจะเลี่ยงไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม US EPA ได้กำหนดขนาดของการได้รับต่อวันไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน (ถ้าคนน้ำหนัก 80 กิโลกรัม จะสามารถรับสาร BPA ได้ 4 มิลลิกรัมต่อวัน) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นปริมาณที่ปลอดภัยที่ร่างกายเมื่อได้รับ BPA จะสามารถกำจัดทิ้งหรือไม่เกิดพิษได้
เมื่อก่อนพลาสติก PC จะถูกนำมาใช้มากในขวดนมเด็ก ซึ่งหลังจากที่มีรายงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปนเปื้อนของ BPA ออกมาตีพิมพ์อย่างมากมาย ทำให้หลายๆ ประเทศในกลุ่ม USA และ EU ทำการห้ามใช้ BPA ในขวดนมเด็ก รวมถึงของใช้และของเล่นของเด็กเล็ก จึงทำให้แบรนด์สินค้าสำหรับเด็กเล็กมักมีคำว่า BPA free ติดข้างผลิตภัณฑ์
อ่านต่อ วิธีเลือกภาชนะบรรจุอาหารให้ลูกน้อย สะดวก ปลอดภัยไร้สารเคมี
การควบคุมการใช้ BPA นั้นถูก focus กับผลิตภัณฑ์เด็กเล็ก เนื่องด้วยว่าเด็กมีน้ำหนักตัวน้อย (3-10 กิโลกรัม) หากคิดตามตัวเลขตามด้านบนแล้ว เด็กเพิ่งเกิดที่มีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัมจะทนต่อ BPA ได้แค่ 150 ไมโครกรัม หากเทียบให้เห็นภาพ 1 ขีดหนัก 100 กรัม ถ้าปริมาณ 100 ไมโครกรัม ก็คือหนึ่งในล้านของปริมาณของ 1 ขีด ซึ่งมีโอกาสเกิดพิษสูง หากได้รับ BPA เป็นเวลานานๆ
BPA มีผลต่อสุขภาพอย่างไร?
- ทำให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ
- การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย
- ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจในผู้หญิง
- ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจในผู้ใหญ่
- ทำให้ฮอร์โมนในเพศชายมีการเปลี่ยนแปลง
- ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง
- มีผลต่อการทำงานของสมอง ความจำและการเรียนรู้
- มีผลต่อคุณภาพของไข่ในเพศหญิง
- ลดประสิทธิภาพการรักษาด้วยเคมีบำบัดในผู้ป่วย
- ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
- ทำให้เกิดโรคหืดหอบ