ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ วินัย เกิดจากอะไร เป็นยังไง -Amarin Baby & Kid
ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ

ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ วินัย เกิดจากอะไร เป็นยังไง

Alternative Textaccount_circle
event
ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ
ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ

ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ วินัย เกิดจากอะไร เป็นยังไง

คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินข่าวว่าคุณ เมฆ วินัย ไกรบุตร นักแสดงชื่อดัง กำลังทุกข์ทรมานจากอาการ ตุ่มน้ำพอง ขึ้นทั่วตัวมาตลอดหลายปี มีทั้งช่วงที่อาการดีขึ้นและล่าสุดอาการแย่ลง จนถึงกับเป็นหนี้สิน โรคนี้เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร มาศึกษาไว้เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้ระมัดระวังตัวเองด้วยค่ะ

ตุ่มน้ำพอง คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

โรคตุ่มน้ำพอง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มพองน้ำ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อยมาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่มาทำลายโครงสร้าง ที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกัน กลายเป็นตุ่มน้ำ และแผลถลอก รวมถึงมีสาเหตุเกิดได้จาก พันธุกรรม การติดเชื้อ การแพ้ยา แพ้สารเคมี

หรืออาจเรียก โรคนี้อีกแบบว่า “ภูมิเพี้ยน” คือภูมิต้านทานที่มีหน้าที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรค สองกลุ่มด้วยกัน ได้แก่

โรคเพมฟิกัส (Pemphigus) เป็นกลุ่มอาการของโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองที่มีหนองขึ้นบริเวณผิวหนังหรือเยื่อบุผิวอื่น ๆ เช่น ในดวงตา จมูก ปาก ลำคอ หรืออวัยวะเพศ และเมื่อตุ่มน้ำแตกออกจะกลายเป็นแผลและทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้

โรคเพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) เป็นโรคในกลุ่ม ตุ่มน้ำพองทางผิวหนังที่พบบ่อย และมีอาการคล้ายคลึงกับโรคเพมฟิกัส ลักษณะเด่นของโรคนี้ ที่ต่างจากเพมฟิกัส คือ

  1. ตุ่มพองจะเต่งตึง แตกได้ยาก เนื่องจากการแยกตัวของผิว อยู่ในตำแหน่งที่ลึกกว่าเพมฟิกัส
  2. มักพบตุ่มน้ำพองมาก ในตำแหน่งท้องส่วนล่าง แขนขาด้านใน บริเวณข้อพับ และส่วนน้อยที่จะมีแผลในปาก

สามารถพบโรคเพมฟิกอยด์ได้บ่อยในคนสูงอายุ ทั้งสองโรคนี้แยกกันได้จากอาการ และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติม

โรค ตุ่มน้ำพอง อาการเป็นอย่างไร

อาการโรคกลุ่มนี้บางชนิดพบเฉพาะในเด็ก บางชนิดพบได้ในผู้ใหญ่ พบได้ทั้งเพศหญิงและชาย โดยมีลักษณะเด่นคือ

  • ตุ่มพองที่ผิวหนังหรืออาจมีตุ่มพองที่บริเวณเยื่อบุต่างๆ ร่วมด้วย อาจมีขนาดต่างกัน
  • มักมีแผลถลอกในช่องปากร่วมด้วย รวมถึงอาจพบแผลถลอกที่เยื่อบุบริเวณอื่น เช่น ทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอดและอวัยวะเพศ
  • เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดแผลถลอกหรือเป็นสะเก็ด ทำให้มีอาการเจ็บมาก
  • ผู้ป่วยในช่วงอายุ 50-60 ปีเกิดจากความผิดปกติที่ชั้นผิวหนังกำพร้าในผิวหนังชั้นตื้น แต่อาจกินบริเวณกว้าง
  • ผู้ป่วยจะมีแผลเหมือนถูกน้ำร้อนลวก
ตุ่มน้ำพอง
ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ วินัย เกิดจากอะไร เป็นยังไง

ตำแหน่งที่พบบ่อย

ศีรษะ หน้าอก หน้าท้อง และบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกัน ผู้ป่วยบางรายมีแผลที่เยื่อบุในปากเป็นอาการนำของโรค ทำให้กลืนอาหารลำบาก ทั้งอาจลามต่ำลงไปถึงคอหอย และกล่องเสียงทำให้เสียงแหบได้

ในรายที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง แผลจะมีลักษณะเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็นหายได้ยาก มักกลายเป็นรอยแผลเป็น ถ้าเป็นรุนแรง เชื้อโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้และอาการทางระบบอื่นๆ ร่วมด้วย และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

การดูแลโรคตุ่มน้ำพอง ทำได้อย่างไร

1. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง

2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลใช้น้ำเกลือ ทำความสะอาดแผล ไม่แกะเกาผื่นแผล ไม่ควรใช้ยาพ่นหรือพอกยาเพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำ จากการได้รับยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ ไม่ไปในสถานที่แออัด

4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อผิวหนังง่าย เช่น เสื้อผ้าที่รัด ความร้อน

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุกสะอาด อาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด ผลไม้ควรปอกเปลือกก่อนรับประทาน แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดคับ

6. การได้รับยากดภูมิต้านทาน อาจมีผลกระทบต่อโรคประจำตัวได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาควบคู่กันไป นอกจากนี้หากมีอาการปวดท้องอุจจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

7. ในช่วงที่โรคยังไม่สงบ ไม่ควรตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ใช้ควบคุมโรคอาจมีผลต่อทารกในครรภ์

8. ผู้ป่วยที่มีแผลในปากควรงดอาหารรสจัด และงดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ปลาแห้ง ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการ หลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก

9. หลีกเลี่ยงแสงแดด และความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ

10.ถ้ามีอาการที่บ่งถึงการติดเชื้อ เช่น ไข้สูง ไอ ปัสสาวะแสบขัด ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคตุ่มน้ำพอง

ตุ่มน้ำพอง เป็นโรคที่ใครหลายคนอาจไม่คุ้นหูมากนัก จึงอาจทำให้ได้รับความเชื่อ และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้มาบ้าง ซึ่งความจริงของโรคนี้ยังมีอยู่หลายประการ ได้แก่

  • สาเหตุในการเกิดโรค ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย การทานอาหาร และทางพันธุกรรมแต่อย่างใด
  • โรคตุ่มน้ำพองไม่สามารถติดต่อได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ จึงไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวผู้ป่วย
  • โรคนี้สามารถรักษาได้ และในปัจจุบันยังมีวิธีรักษาที่หลากหลายอีกด้วย แต่การรักษานั้นต้องใช้เวลาตามความหนักเบาของอาการ
  • เป็นโรคนี้แล้วตั้งครรภ์ได้ไหม ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ได้รับระหว่างรักษา อาจมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

การรักษา

โรคตุ่มน้ำพองชนิดเพ็มฟิกัสและเพ็มฟิกอยด์ มียาหลักที่ใช้รักษา คือ ยาเพรดนิโซโลน (prednisolone) ซึ่งจะเริ่มยาด้วยขนาดสูงก่อน เมื่อควบคุมโรคได้แล้วจึงค่อยลดยาลง การปรับขนาดยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ถ้าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงระหว่างรับประทานยา ต้องรีบปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลเพื่อพิจารณาปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่น ซึ่งยากลุ่มอื่น ๆ

ระยะเวลาที่จะสามารถคุมโรคได้อาจใช้เวลาเป็นเดือน เมื่อควบคุมโรคได้ผู้ป่วยอาจต้องกินยาต่อไปอีกระยะหนึ่ง แพทย์จะแนะนำว่าเมื่อใดควรลดหรือหยุดยา การหยุดยาอย่างกะทันหันอาจทำให้โรคกำเริบได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลเพชรเวช ,Pobpad , โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ,โรงพยาบาลเปาโล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

คัน ไม่ใช่เรื่องเล็ก! เช็คอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังพบบ่อยในหน้าฝน พบได้ทั้งแม่ลูก

โรคมือเท้าปาก อาการ เริ่มต้น เฝ้าระวังเชื้อใหม่แรงกว่าเดิม

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up