คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้จักว่า ยาเขียวคืออะไร? กันอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่จะรู้ ยาเขียว ต้นตำรับยาไทยสมัยโบราณนั้น มีที่มาอย่างไรกันแน่
ทำความรู้จักกับยาเขียว
ยาเขียวนั้น ถือเป็นต้นตำรับของยาไทย ตามองค์ความรู้ของแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้านที่มีใช้กันมานานหลายทศวรรษ อีกทั้งยังเป็นยาที่มีการผลิตขายทั่วไป ในสมัยก่อนนั้น นิยมใช้ยาเขียวในเด็กที่เป็นไข้ออกผื่น เช่น อีสุกอีใส เพื่อให้กระทุ้งพิษไข้ออกมา เนื่องจากเชื่อว่าจะสามารถทำให้หายได้เร็วขึ้น
ยาเขียวนั้น มีส่วนประกอบของพืชที่ใช้ส่วนของใบเป็นองค์ประกอบหลัก จึงไม่แปลกที่จะทำให้ยามีสีเขียว สำหรับใบที่ใช้ในการปรุงยานั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นยาเย็น ยาหอมเย็น หรือบางชนิดก็มีรสขม พบว่าใบไม้ที่ใช้ในยาเขียว มีมากมายหลายชนิดเลยละคะ ยกตัวอย่างเช่น ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบพรมมิ ใบสันพร้าหอม ใบบอระเพ็ด ใบชิงช้าชาลี ใบมะระ ใบสะเดา ใบน้ำ เต้า ใบหนาด ใบกะเม็ง ใบแคแดง ใบทองหลาง ใบมน ใบมะเฟือง ใบนมพิจิตร ใบแทงทวย ใบพริกไทย ใบน้ำเต้าขม ใบปีบ ใบย่านาง ใบเท้ายายม่อม ใบหญ้าน้ำดับไฟ ใบระงับ ใบตำลึงตัวผู้ ใบฟักข้าว ใบถั่วแระ ใบระงับพิษ ใบเสนียด ใบอังกาบ ใบสะค้าน ใบดีปลี ใบมะตูม ใบสมี ใบลำพัน ใบสหัศคุณ ใบกระวาน ใบผักเสี้ยน ใบเถาวัลย์เปรียง ใบผักกาด ใบคนทีสอ ใบมะนาว ใบมะคำไก่ ใบมะยม ใบมะเฟือง ใบสลอด ใบขี้หนอน ใบสมี ใบขี้เหล็ก ใบผักเค็ด ใบพุมเรียง เป็นต้น
สรรพคุณของยานั้นช่วยดับความร้อนของเลือดที่เป็นพิษ หมายถึงการที่เลือดมีพิษและความร้อนสูงมาก จนต้องระบายทางผิวหนัง เป็นผลให้ผิวหนังเป็นผื่น หรือ ตุ่ม เช่นที่พบในไข้ออกผื่น หัด อีสุกอีใส เป็นต้น
ตำรับยาเขียวที่พบในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ มีบันทึกไว้ทั้งหมด 3 ตำรับด้วยกันค่ะ อันได้แก่
- ยาเขียวมหาพรหม สำหรับแก้โลหิตพิการ ซึ่งทำพิษให้ร้อนทั่วสรรพางค์กายดังเปลวไฟ ยานี้แก้ได้สิ้นทุกอัน
- ยาเขียวน้อย ไม่มีการระบุว่ารักษาอะไร
- และ ยาเขียวประทานพิษ เป็นยาแก้ลมต่าง ๆ
ส่วนตำรับยาเขียวที่เราใช้กันทุกวันนี้เรียกกันว่า ยาเขียวหอม ถือป็นคนละชนิดกับยาเขียวทั้ง 3 ชนิดข้างต้นค่ะ และยาเขียวหอมจะมีคุณสมบัติอย่างไร แล้ว อีสุกอีใส ยาเขียว รักษาได้จริง ๆ หรือไม่ มาดูกันค่ะ