เชื้อโรคบุกรอบตัวแล้วแม่!รวม โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65 ที่ควรระวัง - Amarin Baby & Kids
โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65

เชื้อโรคบุกรอบตัวแล้วแม่!รวม โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65 ที่ควรระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65
โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65

โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65 พ่อแม่ควรระวัง รวมมาไว้ให้แล้ว ที่นี่!!

5.ปอดบวม โรคร้ายที่ลูกเสี่ยงเจ็บป่วย

องค์กรอนามัยโลกและยูนิเซฟ ประเมินไว้ว่า โรคปอดบวมเป็นโรคที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากมีเด็กที่ต้องหมดลมหายใจจากโรคร้ายนี้ 2 ล้านคนต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส

อ่านต่อ >>โรคปอดบวมในเด็ก! รู้ทันอาการ ป้องกันลูกเสียชีวิตได้

อาการปอดบวม

  • หายใจแรง หายใจลำบาก เวลาไอมีเสียงหวีด
  • มีไข้ รู้สึกไม่สบายตัว
  • อาการคล้ายไข้หวัด ไอแห้ง ไอบ่อย
  • เบื่ออาหาร ซึม อาจมีอาการอาเจียนหรือปวดท้องร่วมด้วย

    โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65 อย่าประมาท
    โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 65 อย่าประมาท

6.ไข้เลือดออก โรคร้ายที่ลูกเสี่ยงเจ็บป่วย

โรคร้ายจากยุงลายหรือไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การดำเนินโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะไข้ ไข้สูงเฉียบพลัน ระยะวิกฤติ/ช็อก 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้นได้ ระยะฟื้นตัว หลังจากที่ไข้ลดแล้วจะฟื้นฟูได้ค่อนข้างเร็ว

อ่านต่อ>> โรคไข้เลือดออก วิธีสังเกตอาการและวิธีป้องกัน

อาการไข้เลือดออก

  • ระยะไข้: ไข้สูงลอย 2-7 วัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส มีหน้าแดง อาจพบผื่น อาการเลือดออก มีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ถ้าอาการรุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4
  • ระยะวิกฤติ/ช็อก: ปวดเมื่อยมากขึ้น เบื่ออาหาร ปวดท้อง บางราย มือเท้าเย็น มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว จนอาจเข้าใจว่าใกล้จะหายแล้ว แต่นี่เป็นสัญญาณของการเข้าสู่ภาวะช็อค
  • ระยะฟื้นตัว: ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ

7.อีสุกอีใส โรคร้ายที่ลูกเสี่ยงเจ็บป่วย

โรคสุกใสหรือโรคอีสุกอีใส (Chicken Pox) เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster (VZV) เนื่องจากติดต่อกันได้ง่าย เด็ก ๆ เลยพบได้บ่อยในกลุ่มอายุ 5-9 ปี วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน

อ่านต่อ>> อีสุกอีใสในเด็ก ลูกเล็กเสี่ยงแพ้รุนแรง พ่อแม่ต้องรู้เท่าทัน

อาการอีสุกอีใส

  • ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • มีไข้ เบื่ออาหาร
  • เกิดผื่นแดง แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นทั่วตัวภายใน 24 ชั่วโมง
  • หลังจากเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว ไวรัสจะซ่อนในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอเมื่อไหร่จะทำให้เป็นโรคงูสวัด (Herpes zoster)

    โรครายล้อมตัว ยิ่งลูกเล็กยิ่งต้องระวัง
    โรครายล้อมตัว ยิ่งลูกเล็กยิ่งต้องระวัง

8.คาวาซากิ โรคร้ายที่ลูกเสี่ยงเจ็บป่วย

โรคในเด็กเล็กที่พบมากกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบบ่อยในช่วงอายุ 1-2 ปี โรคคาวาซากิเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย มีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนสูง อาจรุนแรงจนเกิดภาวะช็อคหรือเสียชีวิตได้

อ่านต่อ >>โรคคาวาซากิ อาการที่ต้องระวัง อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนถึงชีวิต

อาการคาวาซากิ

  • ไข้สูงหลายวัน ทานยาลดไข้ไม่ค่อยลด
  • ตาแดงเรื่อโดยไม่ค่อยมีขี้ตา
  • ลิ้นแดงคล้ายผลสตรอเบอรี่ ริมฝีปากแดงแห้งแตก
  • มือเท้าบวม มีผื่นตามตัว

9.เฮอร์แปงไจน่า โรคร้ายที่ลูกเสี่ยงเจ็บป่วย

สำหรับอาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าจะคล้ายกันกับโรคมือเท้าปาก เนื่องจากติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน เฮอร์แปงไจน่า (Herpangina) ในช่วงแรกอาจมีผื่นขึ้น หรือแผลตื้น ๆ ในช่องปาก

อ่านต่อ >>โรคเฮอร์แปงไจน่า ในเด็กไม่รุนแรงแต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อน

  • อาการเด่น คือจะมีอาการเจ็บบริเวณเพดานปากและคอนำมาก่อน ต่อมา (ภายใน 1 วัน) จะมีจุดแดงๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และอาจมีตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอด้วยก็ได้ ภายใน 24 ชั่วโมง จุดแดงๆ จะกลายเป็นตุ่มแดงขนาดเริ่มต้น 1-2 มิลลิเมตร แล้วกลาย เป็นตุ่มน้ำขนาด 2-4 มิลลิเมตร อาจเป็นแผลเล็กๆตรงกลางตุ่มน้ำนั้น หรืออาจมีการอักเสบรอบ ๆแผลได้ แผลอาจใหญ่ได้ถึง 10 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตุ่มน้ำมีจำนวนไม่มาก มักไม่เกิน 6 ตุ่ม แต่ก็อาจพบมากกว่า 15 ตุ่มได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ตุ่มและแผลพอประมาณ อย่างไรก็ตาม ไข้จะลดลงภายใน 2-4 วัน แต่แผลอาจคงอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับโรคเฮอร์แปงไจน่าจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับเฉพาะในช่องปากเท่านั้น

10.โควิด-19 โรคร้ายที่ลูกเสี่ยงเจ็บป่วย

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านต่อ>> เช็ก 5 อาการโอมิครอนที่แตกต่างจากเดิมจากผู้ป่วยจริง

อาการของโควิด-19 สามารถสังเกตอาการโดยแยกจากความรุนแรงของโรค ได้ดังนี้
  • อาการทั่วไป มีดังนี้
  1. มีไข้
  2. ไอ
  3. อ่อนเพลีย
  4. สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส

    ดูแลลูกน้อย ก่อนป่วย รวมโรคเด็ก
    ดูแลลูกน้อย ก่อนป่วย รวมโรคเด็ก
  • อาการที่พบไม่บ่อยนัก มีดังนี้
  1. เจ็บคอ
  2. ปวดศีรษะ
  3. ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  4. ท้องเสีย
  5. มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
  6. ตาแดงหรือระคายเคืองตา
  • อาการรุนแรงมีดังนี้
  1. หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  2. สูญเสียความสามารถในการพูดหรือเคลื่อนไหว หรือมึนงง
  3. เจ็บหน้าอก

การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยทารกด้วยการให้กินนมแม่ ตลอดจนเสริมสร้างสุขภาพให้ลูกน้อยด้วยอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย ก็จะช่วยเป็นเกราะคุ้มกันที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงจากโรคร้ายต่าง ๆ ได้ อย่าลืมใส่ใจเจ้าตัวน้อยกันนะคะ ปีนี้เราจะผ่านพ้นไปได้ด้วยกัน

อ้างอิงข้อมูล : bangkokhospital, dcd.ddc.moph.go.th, rama.mahidol และ pharmacy.mahidol

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย 5 จังหวัดนี้ คนป่วยเยอะสุด!

 

โรคคาวาซากิ ประสบการณ์โรครุนแรงในเด็กเล็ก

15 คำถามข้องใจกับการ ล้างจมูก ให้ปลอดภัยในวัยเด็ก

เช็กเลย! อาการ โอมิครอน ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ต่างกันอย่างไร

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up