อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว มีทั้งลมหนาว แดดออก และฝนเล็กๆน้อยๆ จึงทำให้เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานน้อย อาจเป็นหวัดมีน้ำมูกได้ แต่ถ้าไม่ได้เป็นหวัดแล้วมีน้ำมูก สีของน้ำมูก ก็สามารถ บอกได้เช่นกันว่าลูกของเรากำลังป่วยเป็นอะไร
สีของน้ำมูก บอกโรคได้
น้ำมูก ทำหน้าที่จับกับสิ่งต่างๆ ที่ปนมากับลมหายใจ เช่น สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อโรค นอกจากนี้ในน้ำมูกยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคอีกด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจกับน้ำมูกหรือเสมหะ ทั้งของตัวเองและของลูกมากนัก แค่ขอให้สั่ง หรือเช็ดออกไปได้ ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี … แต่เชื่อหรือไม่ ว่าสีของน้ำมูก หรือเสมหะนี้ สามารถบ่งบอกถึงโรค หรือภาวะสุขภาพของลูกน้อยได้
น้ำมูกมาจากไหน
ทางเดินหายใจและทางเดินอาหารของมนุษย์เรามีเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ซึ่งมีต่อมสร้างน้ำมูก เมือก หรือเสมหะ ไม่ว่าจะเป็นจมูก ไซนัส โพรงหลังจมูก ช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง หลอดลม ซึ่งน้ำมูก เมือก หรือเสมหะ ทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายใต้เยื่อบุจากสารพิษหรือสารระคายเคืองต่างๆ ทำให้อวัยวะดังกล่าวชื้นตลอดเวลา ถ้าเยื่อบุที่คลุมอวัยวะดังกล่าวแห้งจะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น
น้ำมูกหรือเมือกในทางเดินหายใจจะทำหน้าที่จับกับสิ่งต่างๆ ที่ปนมากับลมหายใจ เช่น สารก่อภูมิแพ้ (ไรฝุ่น ละอองเกสร) ควัน ฝุ่นบ้าน เชื้อโรค นอกจากนี้
ในน้ำมูกหรือเมือกยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคด้วย เช่น แอนติบอดี เอนไซม์ เป็นต้น ทราบหรือไม่ว่าร่างกายมนุษย์เราสามารถผลิตน้ำมูกหรือเมือกได้มากถึง 2 ลิตรต่อวัน
สีของน้ำมูก แบบไหน แปลว่าไม่สบาย
ในขณะที่ร่างกายแข็งแรงปกติ ก็อาจมีน้ำมูกได้ โดยเฉพาะในช่วงเช้า ๆ อาจจะมีน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกช่วงกลางคืน แต่เมื่อสั่งออกก็หมดไป แสดงว่าไม่ได้ป่วย แต่ถ้าน้ำมูกมีตลอดทั้งวัน สีข้นกว่าปกติ แสดงว่ามีอาการหวัด ถ้าเป็นหวัดธรรมดา (ไม่มีไข้) ประมาณ 2-3 วัน น้ำมูกก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ (ไม่ต้องใช้ยา แต่ต้องดูแลให้ถูกหลักด้วย เช่น ไม่ดื่มน้ำเย็น พักผ่อนมาก ๆ ทำร่างกายให้อบอุ่น) แต่ถ้าเป็นมากกว่า 10 วัน ต้องระวังเรื่องภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องรีบพาลูกไปหาหมอ เพราะอาจเรื้อรังเป็นโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้อีก
เพื่อให้รู้ทันโรคที่มาจากน้ำมูก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรสังเกตสีน้ำมูกหรือเสมหะ ของลูกน้อย ว่ามีสีอะไร ซึ่งสีนั้นก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับจมูกของลูกน้อยได้ และใช้วิธีนี้สังเกตดูกับคุณพ่อคุณแม่ได้เช่นกัน
1.สีใส
น้ำมูกหรือเสมหะที่ใส มักประกอบด้วยน้ำ, แอนติบอดีที่ต่อต้านเชื้อโรค, เกลือ และโปรตีน ส่วนใหญ่มักจะไหลลงคอ และเรามักจะกลืนลงไปในกระเพาะ ซึ่งสาเหตุเกิดจาก หวัด (เยื่อบุจมูกอักเสบ) หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรืออาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ไวรัสมากระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทำให้มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมา หรือไหลลงคอได้ สารก่อภูมิแพ้ก็เช่นเดียวกัน สามารถกระตุ้นเยื่อบุจมูกของผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ทำให้มีการหลั่งของฮิสทามีน (histamine) ออกมา ซึ่งฮิสทามีนสามารถกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อบุจมูกให้ผลิตน้ำมูกใสๆออกมาได้ การให้ยาต้านฮิสทามีน และการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถบรรเทาอาการน้ำมูกที่ไหลออกมา หรือไหลลงคอได้
2.สีขาว
การที่น้ำมูกไหลออกมามีลักษณะหนา เหนียว และขาวขุ่น อาจเนื่องมาจาก การที่น้ำมูกถูกขังอยู่ในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานาน จากเยื่อบุจมูกที่บวม นอกจากนั้นการที่เรารับประทานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนมมากเกินไป อาจทำให้น้ำมูกที่ออกมา หรือไหลลงคอ มีสีขาวขุ่นได้ เนื่องจากไขมันในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม สามารถทำให้น้ำมูกสูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้น้ำมูก หรือเสมหะมีลักษณะหนาและเหนียว และมีสีขาวขุ่นตามมาได้
อ่านต่อ >> “สีของน้ำมูก แบบไหนบอกถึงโรคอะไร” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่