6 พาหะนำโรค หน้าฝนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี! - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
พาหะนำโรค

6 พาหะนำโรค หน้าฝนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี!

Alternative Textaccount_circle
event
พาหะนำโรค
พาหะนำโรค

นายแพทย์ดนัย ได้เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนนั้น ประชาชนส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบจากสัตว์มีพิษและแมลงที่มักจะชอบอยู่ตามบริเวณบ้าน หรือรอบ ๆ บ้านของเรา ซึ่งบางชนิดนั้นส่งผลอันตรายกับชีวิตลูกได้เลยทีเดียว ดังนั้น การรู้ให้เท่าทันเพื่อนำไปสู่การป้องกันที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้น

6 พาหะนำโรค ที่ต้องระวังให้ดีช่วงหน้าฝน

1. งู

วิธีกำจัดแมลง

สัตว์มีพิษร้ายแรงที่พบมากในช่วงฤดูฝน และมักจะชอบอาศัยอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ รก และมีแหล่งอาหาร และหากคุณพ่อคุณแม่เคยอ่านเรื่องราวที่มีการเผยแพร่บนโลกโซเชียลก็จะพบว่า บางครอบครัวนั้นเคยออกมาแชร์เตือนภัยหลังจากที่พบงูซ่อนและหลบอยู่ในรองเท้า หรือแม้แต่ช่องแอร์ก็ตาม ซึ่งวิธีป้องกันไม่ให้งูเข้ามาในบ้านนั้นสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  • ทำลายแหล่งอาหารของงูอย่างเช่น หนู เป็นต้น
  • ปิดช่องทางเข้าออกของหนู และงู
  • ตรวจสอบระบบท่อไม่ให้มีรูรั่วหรือรอยแตก

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด:

  1. รีบดูให้แน่ใจว่างูที่กัดเป็นงูอะไร พยายามจดจำ สี รูปร่าง ลักษณะศีรษะ ถ้าเป็นไปได้ ควรนำเอาตัวงู มาให้แพทย์
    ดูด้วย เพราะจะได้ทำการรักษาให้ตรงกับชนิดของงู แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จริง ๆ ก็ไม่เป็นไรค่ะ อย่าเสียเวลา เพราะยิ่งนานพิษร้ายก็อาจเข้าสู่ร่างกายได้
  2. ใช้เชือกรัดเหนือบริเวณที่ถูกกัดเล็กน้อย ไม่ควรรัดแน่น เนื่องจากจะทำให้เนื้อบริเวณนั้นขาดเลือด และในบางส่วน เช่น นิ้ว ไม่ควรรัดบริเวณนิ้ว แต่ควรรัดบริเวณส่วนข้อมือ หรือข้อเท้าแทน ทั้งนี้ควรมีการคลายที่รัดไว้เดิมทุก ๆ 15 นาที
  3. ควรให้บริเวณที่ถูกกัด มีการขยับน้อยที่สุด
  4. ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล ไม่ควรใส่ยาสมุนไพร เพราะจะทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี หากคุณพ่อคุณแม่พบงูในบ้านสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์ 199 นะคะ

2. แมลงก้นกระดก

พาหะนำโรค
เครดิตภาพ: สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

อีกหนึ่งแมลงตัวเล็กจิ๋วที่แฝงไปด้วยพิษสง ลักษณะของเจ้าแมลงก้นกระดกนี้ จะมีลักษณะลำตัวเป็นปล้อง ๆ สีดำสลับกับสีแดงหรือสีแดงอมส้ม เมื่อสัมผัสกับตัวแมลง มันจะปล่อยของเหลวออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน  มีอาการคัน ผิวไหม้ ผื่นแดง และเป็นตุ่มน้ำ

วิธีป้องกันอันตรายจากแมลงก้นกระดก:

  • ห้ามตีหรือขยี้ด้วยมือเปล่า ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษเขี่ยแมลงออกไป
  • ติดมุ้งลวดและกางมุงนอน
  • หากใช้ยาฆ่าแมลงต้องกวาดแมลงใส่ถุงและมัดปากถุงให้สนิท เพราะแมลงไม่ว่าจะมีชิวิตหรือตายก็สามารถปล่อยพิษได้

วิธีการปฐมพยาบาล: ในกรณีที่สัมผัสแมลงและมีอาการ ให้จุ่มหรือแช่บริเวณนั้นในน้ำเย็น 5-10 นาที สลับกับการเป่าให้แห้งหากมีอาการอักเสบร้ายแรง รีบพบแพทย์ทันที

3. กิ้งกือ

พาหะนำโรค

กิ้งกือ หนึ่งในสัตว์ที่หลาย ๆ คนคิดว่าไร้พิษสง แต่หารู้ไม่ว่า หากโดนเข้าไปละก็ สามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับลูกของเราได้มากเลยละค่ะ ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่ได้แชร์เตือนภัยว่า ลูกโดนพิษจากกิ้งกือจนแผลพุพอง โดยซึ่งกิ้งกือบางชนิดนั้นสามารถปล่อยสารพิษจากลำตัว หากสัมผัสจะทำให้ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อนได้เลยละค่ะ

วิธีการป้องกันไม่ให้กิ้งกือเข้าบ้าน: ให้คุณพ่อคุณแม่ปรับสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน ด้วยการกำจัดกองใบไม้ เล็มหญ้าให้สั้น ให้แดดส่องถึงพื้น และอุดรอยร้าว เพื่อป้องกันไม่ให้กิ้งกือคลานเข้าบ้าน

วิธีรักษาพิษจากคือ

  1. ให้ล้างผิวด้วยน้ำมาก ๆ และทายาฆ่าเชื้อโรค
  2. หากสารพิษเข้าตา จะทำให้ตาอักเสบ น้ำตาไหลมาก ให้ล้างด้วยน้ำอุ่นและหยอดยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up