พบเชื้อโควิด เชื้อโควิดบนสิ่งของ อยู่ที่ลูกบิดประตู ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด-19 ตามมาดู ข้อควรระวังทุกครอบครัว! เชื้อโควิดบนสิ่งของ อยู่ได้นาน ต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
เชื้อโควิดบนสิ่งของ เกาะลูกบิดประตู อยู่ได้นานแค่ไหน
สถานการณ์โควิด-19 ยังอยู่ในช่วงน่ากังวล โดยเฉพาะช่วงปลายปีอย่างนี้ที่มีลมหนาวพัดมา อากาศเย็น ๆ เอื้อต่อการติดนานอยู่ทนบนพื้นผิว ด้วยโครงสร้างของไวรัส มีงานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยจากโคโรนาไวรัส 2019 เพิ่มมากขึ้นในช่วงหน้าหนาว และล่าสุดยังมีข่าวบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 อีกด้วย โดยนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงานใน ASQ กทม. (สถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก Alternative State Quarantine) จากการสำรวจสิ่งแวดล้อมใน ASQ พบเชื้อโควิด-19 บนลูกบิดประตู จึงขอให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมต่าง ๆ นอกจากพื้นผิวด้วย
เชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น เป็นเชื้อที่สามารถอยู่ในอากาศจากฝอยละอองการไอจามของผู้ป่วย ทั้งยังสามารถเกาะอยู่บนสิ่งของ และพื้นผิวต่าง ๆ ได้ด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกครอบครัวต้องดูแลความสะอาดให้มากเป็นพิเศษ
เชื้อโควิดอยู่ได้นานแค่ไหน
เชื้อไวรัสหากอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกร่างกาย มักจะบอบบางและอ่อนแอลง แต่ก็ยังอยู่ได้เป็นเวลานาน ดังนี้
- ในอากาศ หากผู้ป่วยไอ จาม มีเชื้ออยู่ในน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา เชื้อจะอยู่ในอากาศได้นาน 5 นาที
- ลูกบิดประตู โต๊ะ เก้าอี้ พื้น หากอยู่บนพื้นผิวแบบนี้จะอยู่ได้นานถึง 7 – 8 ชั่วโมง
- เชื้อบนผ้าหรือทิชชูจะอยู่ได้นานกว่าถึง 8 – 12 ชั่วโมง
- พื้นเรียบหรือโต๊ะเรียบ ๆ จะอยู่ได้นาน 24 – 48 ชั่วโมง
- ในน้ำ เชื้อโควิดจะอยู่ได้นานถึง 4 วัน
- หากอยู่ในอากาศเย็นอย่างตู้เย็นหรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อาจอยู่ได้ยาวนานถึง 1 เดือน
เห็นอย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีทารก เด็กเล็ก หรือคนท้อง สำหรับแนวทางการทำความสะอาดบ้านเพื่อป้องกันโควิด-19 ทำได้ดังนี้
- หมั่นทำความสะอาดในบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ หรือตู้ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือแอลกอฮอล์ (เอทิลแอลกอฮอล์ 70% – 80%)
- ของใช้ส่วนตัวที่อาจมีละอองฝอยของน้ำลายหรือเสมหะ ต้องเช็ดถูด้วยน้ำและผงซักฟอก จากนั้นเช็ดออกด้วยน้ำสะอาดหรือใช้สารเคมีบางชนิด
- พื้นผิวที่เป็นโลหะสามารถใช้แอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซนต์ เช็ดลงบนพื้นผิวโดยไม่ต้องผสมน้ำ เช็ดให้ทั่วจนสะอาดใช้เวลาประมาณ 30 วินาที
- ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค น้ำยา 25 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร ทำความสะอาดผ้า หรือใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยมีอัตราส่วน น้ำยา 100 ซีซี ผสมแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซนต์) 190 ซีซี
- ผงซักฟอกใช้ในการทำความสะอาด เสื้อผ้า ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอนได้ โดยผสมน้ำร้อน 70 องศาเซลเซียส ทำความสะอาด 25 นาที
- น้ำยาฟอกขาว 5 เปอร์เซนต์ NA Hypochlorite อัตราส่วน น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 1 ลิตร เช็ด 60 วินาที ทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไป หากพื้นผิวมีน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ หรือสารคัดหลั่งอื่น ๆ เช่น ในห้องน้ำ บริเวณโถส้วม ควรราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที โดยใช้อัตราส่วน น้ำยา 10 ฝา ผสมน้ำ 1 ลิตร
- สบู่ที่ใช้ฟอกมือ ควรมีค่า PH มากกว่า 9 ฟอกมือ 20 วินาที และสามารถใช้ชำระล้างร่างกายได้ด้วย
ข้อสำคัญคือ ห้ามการฉีดพ่น ให้ใช้วิธีเช็ดทำความสะอาดจะดีกว่า เพราะการพ่นจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (Covid-19) และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เวลาที่เปิดหรือปิดประตูควรใช้ศอกหรือหัวไหล่ดันแทนการใช้มือเปิด ในกรณีที่ไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัยแล้วเผลอไอหรือจาม ควรใช้ช่วงข้อพับข้อศอกในการป้องจมูกและปาก เพื่อป้องกันละอองน้ำมูกแพร่
วิธีดูแลและป้องกันลูกน้อยจากโควิด-19
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ปกติเด็กจะเสี่ยงสูงในการได้รับเชื้อโรคจากโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่เมื่อต้องกักตัวอยู่กับบ้าน คนที่ต้องดูแลความสะอาดมากเป็นพิเศษคือผู้ที่เดินทางออกไปนอกบ้าน โดยต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงพยาบาลหรือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท และเมื่อกลับถึงบ้านให้รีบล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อแยกซักจากเสื้อผ้าเด็กและอาบน้ำทันที แยกชาม ช้อน แก้วน้ำ ของใช้อื่น ๆ โดยไม่ใช้ร่วมกับเด็ก หากลูกน้อยอยู่ในวัย 1.5 – 2 ปี พ่อแม่สามารถสอนให้ลูกไม่นำสิ่งของเข้าปาก พร้อมทั้งสอนวิธีล้างมือ โดยให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมจากคนรอบข้าง หากลูกอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรสอนให้รักษาความสะอาด เช่น ฝึกให้ล้างมือประกอบการร้องเพลง เช่น เพลงช้าง หรือ เพลง happy birthday จนครบสองรอบประมาณ 20 วินาที จะได้ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อที่มือ
♦ นอกจากนี้สำหรับการดูแลข้าวของภายในบ้านให้สะอาดปลอดจากเชื้อโรค หรือเชื้อโควิด-19 ก็สามารถใช้ UV CARE POCKET STERILIZER (WHITE) อุปกรณ์ทำความสะอาดเชื้อโรคแบบพกพา นวัตกรรมขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ไร้สาย ผลิตขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อไวรัส ฆ่าเชื้อโรคได้ทุกที ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ไหนก็ตาม โดยเฉพาะฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคหลายชนิดรวมถึง เชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นๆ
♦ ทั้งนี้หากไปยังสถานที่นอกบ้านที่มีคนพลุกพล่าน จอแจ ซึ่งล้วนมี เชื้อโควิดบนสิ่งของ เชื้อโรคต่างๆ แฝงอยู่ทั้งตามจุดสัมผัสต่างๆ เช่น ราวระเบียง ,ฝารองชักโครกในห้องน้ำสาธารณะ ,โต๊ะอาหาร ,ช้อนส้อม หรือแม้แต่ในอากาศ จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลใจถึงการได้รับเชื้อเหล่านี้โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งคงไม่มีใครอยากป่วยจากการรับเชื้อเหล่านี้
✨ UV Care Pocket Sterilizer อุปกรณ์ฆ่าเชื้อแบบพกพา จะปกป้องคุณจากเชื้อโรคในการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะช่วยทำลายสิ่งสกปรก เชื้อโควิดบนสิ่งของ และเชื้อโรคที่อาจส่งผลต่อสขุภาพ ด้วยกระบวนการฆ่าเชื้อไวรัส ,แบคทีเรีย ,สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อรา ด้วยนวัตกรรมแสง UV-C ที่มีความยาวคลื่น 253.7 นาโนเมตร โดยผ่านการทดลองและทดสอบจากห้องแล็ป ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อไช้หวัดใหญ่สายพันธ์ H1N1 และ MRSA ได้ภายในเวลา 1 วินาที
✨ เหมาะสำหรับฆ่าเชื้อโรคสิ่งของขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ รีโมทคอนโทรล คีย์บอร์ด อ่างล้างหน้า ของเล่นเด็ก ตุ๊กตา เครื่องเอทีเอ็มและอื่นๆอีกมากมาย
ใช้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว เพียงแค่ฉายแสงยูวีซีไปที่สิ่งที่คุณต้องการทำความสะอาด เชื้อโรคก็จะถูกฆ่าในทันที .. ไม่ต้องคอยเหมือนการใช้สเปร์ย์ หรือการทำความสะอาดด้วยสารเคมี ง่ายต่อการใช้งาน
***หากคุณพ่อคุณแม่สนใจ UV Care Pocket Sterilizer อุปกรณ์ฆ่าเชื้อแบบพกพา จากอเมริกา สามารถสั่งซื้อในราคาพิเศษเพียง 1,099.00 บาท (จากปกติ: 1,690.00 บาท) คลิกที่นี่เลย >> amvata.com/pocket-sterilizer-white/
ในช่วงที่โควิดยังไม่หายไป ทุกคนควรป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เมื่อเผลอไปสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ควรล้างมือทุกครั้งก่อนจับใบหน้า ดวงตา จมูก หรือปาก และหากพบอาการผิดปกติ รู้สึกไม่สบาย ควรอยู่ให้ห่างจากลูก และคอยสังเกตอาการถ้ามีไข้ ไอ จาม หายใจลำบาก ควรรีบพบแพทย์ หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษากรมควบคุมโรค สายด่วน 1422
อ้างอิงข้อมูล : amarintv, siphhospital, thairath และ healthydee.moph.go.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก มะเร็งที่พบบ่อยในเด็ก สัญญาณอันตรายโรคร้าย