ญี่ปุ่นเตือนผู้ติดเชื้อโควิด-19หลังหายแล้ว อาจมีผลต่อสุขภาพระยะยาว ผู้ที่เคยติดเชื้อ โควิดอาการ มีทั้งหายใจลำบาก รับกลิ่นบกพร่อง จนถึงผมร่วงได้แม้หายแล้ว
โควิดอาการ หลังหายแล้วยังน่าห่วง..ทั้งระบบหายใจ-ผมร่วง!
โลกในปัจจุบันมีเรื่องให้ต้องระมัดระวังกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยรายวันจากผู้ไม่ประสงค์ดี ปัญหาสุขภาพทั้งโรคยอดฮิตที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหวัด หรือไข้เลือดออก เป็นต้น และที่สำคัญที่สุดในยุคที่หันไปทางไหนก็ต่างหวาดระแวงกลัวติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นั้น จึงเป็นเรื่องที่จะไม่กล่าวถึงมิได้เลย การป้องกันระมัดระวังทั้งตนเอง และครอบครัวอันเป็นที่รักของแม่ ๆ อย่างเราที่ว่ายากลำบากแล้ว รู้หรือไม่?…ว่าหลังจากหายจากโควิดอาการ ยังคงมีหลงเหลือเป็นที่น่ากังวลไม่น้อยเลยทีเดียว โดยแพทย์ญี่ปุ่นได้ออกมาระบุว่าจากการเก็บผลสำรวจผู้หายจากอาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไม่ว่าผู้ติดเชื้อนั้นจะป่วยเป็นโควิดอาการหนัก หรือไม่ก็ตาม หลังจากการติดเชื้อยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาวต่อไปอีกด้วย จึงทำให้น่าเป็นห่วงสำหรับคนที่มีอายุน้อย เช่น วัยหนุ่มสาว ที่ยังต้องต้องการความสมบูรณ์ของร่างกายเพื่อใช้ชีวิตต่อไป
แพทย์ญี่ปุ่นเตือนผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด อาจได้รับผลกระทบทางร่างกายเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว มีทั้งอาการหายใจลำบาก ไม่สบาย การรับกลิ่นบกพร่อง ไปจนถึง “ผมร่วง“สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงาน โดยอ้างความเห็นจากแพทย์ว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อย อาจได้รับผลกระทบทางร่างกายจากการติดเชื้อเป็นเวลานาน แม้จะได้รับการรักษาจนผลตรวจเป็นลบแล้วก็ตาม
รายงานข่าวระบุว่า ผลที่ตามมาซึ่งพบในผู้เคยติดเชื้อโควิด-19 เช่น อาการไม่สบายและหายใจลำบาก ขณะที่ในรายที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงแม้จะได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการของโควิด-19 ที่ไม่รุนแรงก็ตาม
ทั้งนี้จนถึงปัจจุบัน ในญี่ปุ่นยังมีสถาบันทางการแพทย์ไม่มากที่รักษาผู้ป่วยจากผลที่ตามมาดังกล่าว
แพทย์รายหนึ่ง ระบุว่า ผู้มีอาการดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 40 ปีหรือเด็กกว่านั้น และทางรัฐบาลจำเป็นต้องจริงจังกับเรื่องนี้และหามาตรการรับมือ
เมื่อปีที่แล้ว ศูนย์สุขภาพและการแพทย์ระดับโลกแห่งชาติของญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจทางโทรศัพท์สอบถามผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายและออกจากโรงพยาบาล และมีผู้ตอบการสำรวจ 63 ราย
ผลสำรวจพบว่าในบางราย ผู้ป่วยยังคงมีอาการหายใจลำบาก ไม่สบาย และการรับกลิ่นบกพร่องเป็นเวลา 4 เดือนนับจากเริ่มมีอาการของโควิด-19
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยที่มีอาการผมร่วงเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากโควิด-19 แสดงอาการ
ฮิราฮิตะ คลินิก ซึ่งทำการตรวจผู้ป่วยประเภทดังกล่าวประมาณ 700 คนทั่วประเทศ ระบุว่า มีผู้ป่วย 95% บอกว่ารู้สึกไม่สบาย ขณะที่ 80% ระบุว่ามีอาการซึมเศร้าและความสามารถด้านการคิดลดลง โดยผู้ป่วยดังกล่าวประมาณ 30% นั้นอยู่ในช่วงอายุประมาณ 40 ปี และเกือบ 50% อยู่ในช่วงอายุประมาณ 30 ปี และมีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1.4 เท่า
โคอิจิ ฮิราฮิตะ ผู้อำนวยการคลินิกคาดว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะอาการภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่องและตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยด้วยการโจมตีอวัยวะที่แข็งแรงดี
เขายังเตือนด้วยว่า ผู้ที่หายจากโควิด-19 ยังควรงดออกกำลังกายไปสักระยะ เนื่องจากแค่ออกไปเดินเล่นก็อาจทำให้อาการแย่ลงแล้ว
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.posttoday.com
จากผลสำรวจดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่า แม้ผู้ที่หายจากโรคโควิด-19 แล้ว ก็ยังคงต้องดูแลสุขภาพร่างกายต่อเนื่องไปอีกสักระยะ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู โดยคุณหมอยังไม่แนะนำให้ออกกำลังกายในช่วงพักฟื้น เพราะอาจจะทำให้อาการแย่ลงได้ แม้ในกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้สูงอายุ เชื้อไวรัสโคโรนาก็ยังคงทำลายระบบกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นระบบการหายใจ เหนื่อยง่าย การรับกลิ่นบกพร่อง ปัญหาทางด้านจิตใจ และอาจรวมไปถึงภาวะผมร่วงอีกด้วย แต่ในรายงานก็ยังไม่ได้ระบุแน่นอนว่าผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีอาการดังกล่าวทุกคน ยังคงต้องทำการสำรวจ วิจัยต่อไปอีก เพื่อความชัดเจนที่มากยิ่งขึ้น
ผลสำรวจของประเทศจีนก็ให้ผลไม่ต่างกัน!!
ประเทศจีน ประเทศที่ทราบกันดีว่า ได้เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นชาติแรก ๆ ของโลก และมีการระบาดใหญ่ที่สุด มีประชากรติดเชื้อมาก และผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวก็มากด้วยเช่นกันนั้น ได้ทำการสำรวจจากการติดเชื้อครั้งที่ผ่านมา ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 1,733 คน โดยมีรายงานผลออกมาว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลจนหายแล้ว มีปัญหาสุขภาพในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย นอนหลับยาก หายใจได้ไม่สะดวก พบระดับแอนติบอดี้ลดลง ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกันโรคในอนาคต ผมร่วง และปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยหลาย ๆ อาการก็มีความใกล้เคียงกับผลการสำรวจจากประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน
กลุ่มสื่อต่างชาติ รายงาน (11 ม.ค.) จีนพบร้อยละ 76 ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลจนหายแล้วมีปัญหาสุขภาพระยะยาว
รายงานระบุว่า แม้ผู้ป่วยเหล่านั้นจะออกจากโรงพยาบาลแล้ว 6 เดือนก็ยังมีอาการไม่ปกติของร่างกาย โดยร้อยละ 63 มีอาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 26 นอนหลับได้ยาก และร้อยละ 33 มีสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาในตับ ซึ่งจะนำมาสู่โรคต่าง ๆ รวมถึงการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ผู้ป่วยหลายร้อยคนมีร่องรอยคล้ายกระจกฝ้าในเนื้อเยื่อปอด ทำให้หายใจได้สั้นกว่าปกติ ขณะที่ผู้ป่วยบางส่วนไม่สามารถหายใจได้ลึกขนาดที่ไม่สามารถทำการทดสอบการทำงานของปอดได้เลย
ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยยังคงมีภาวะเครียด ซึ่งนักวิจัยยังไม่สามารถระบุว่าเกิดจากความเสียหายของเซลล์ประสาทหรือจากประสบการณ์อันเลวร้ายที่เคยประสบมา
นอกจากนี้ ระดับแอนติบอดี้ในร่างกายของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ในอนาคต
ก่อนหน้านี้ หลายประเทศได้ศึกษาผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 ซึ่งพบอาการที่หลากหลายตั้งแต่ผมร่วงไปจนถึงโรคหัวใจ อย่างไรก็ดี การศึกษาของจีนในครั้งนี้เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดรวมทั้งสิ้นกว่า 1,733 คน
ราวร้อยละ 15 ของกลุ่มผู้ป่วยปฏิเสธที่จะเข้าโครงการศึกษาผลกระทบระยะยาว ขณะที่อีกร้อยละ 15 เสียชีวิตหรือเจ็บป่วยเกินกว่าจะเข้าโครงการจากโรคหัวใจ โรคปอดหรือโรคไต
อย่างไรก็ดี นาย Giuseppe Remuzzi ศาสตราจารย์ด้านวักกวิทยา (ไต) ของสถาบัน Istituto Mario Negri ในอิตาลีเห็นว่า ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่านผลการวิจัยดังกล่าว เนื่องจากเป็นการศึกษาด้วยการคัดกรองอย่างรวดเร็วในกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนได้ข้อมูลอ้างอิงจาก mgronline.com
เนื่องจากโรคโควิดนี้เป็นโรคใหม่ ผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวก็เป็นสิ่งใหม่ที่การแพทย์ทั่วโลกเพิ่งได้เจอ จึงยังมีความรู้ที่จำกัดอยู่มาก จึงไม่อาจสรุปเป็นความชัดเจนได้ ดังนั้นในปัจจุบันหากมีอาการใดที่เป็นผลกระทบภายหลังจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ก็จะได้รับการดูแลรักษาตามลักษณะของแต่ละอาการไป ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลก ก็เริ่มมีแนวคิดที่จะจัดตั้งคลินิกหรือแผนกที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหลังจากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้คาดว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบในปัจจุบันน่าจะมีมาก ดังนั้น การไม่ติดเชื้อย่อมจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
แต่อย่าพึ่งกังวลใจกันมากจนเกินไป วันนี้ทาง ทีมแม่ ABK ได้นำความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และคนใกล้ชิดหลังจากหายจากโควิด-19 แล้วว่าควรต้องปฎิบัติตัวกันอย่างไร เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติอีกครั้ง จาก อ.ดร.พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ แพทย์สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากรายการ ติดจอ ฬ.จุฬา
โควิด-19 ไม่ใช่โรคเรื้อรัง หายแล้วไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น
ตามปกติแล้วเมื่อผู้ป่วยหายจากโรคโควิด-19 แล้วทีมแพทย์จะทำการกักตัวไว้ที่โรงพยาบาลต่ออีก 14 วัน และให้ดูอาการ กักตัวเองที่บ้านต่ออีก 1 เดือน ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวล หรือรังเกียจผู้ป่วยที่หายแล้ว จะได้ให้เขากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติเช่นเดิม
ผู้ป่วยโควิด-19 มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้หรือไม่?
หากผู้ป่วยไม่มีอาการโควิด-19 หลัง 14 วันเป็นต้นไป โอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งถือว่าน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ทำให้มีภูมิต่อการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตาม ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขจะยังแนะนำให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้านจนครบ 1 เดือน ให้พักผ่อน ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน โดยที่ยังใช้มาตรการ และแนวทางเดิม
วิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วย เพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัว และคนในชุมชน
- รักษาระยะห่างจากคนในบ้าน 1-2 เมตร รวมถึงตอนรับประทานอาหาร
- แยกห้องนอน
- ไม่ใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ ร่วมกัน
- แยกซักเสื้อผ้า ด้วยผงซักฟอกปกติ
- ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ร่วมกันบ่อย ๆ
- ผู้ป่วยควรพยายามไม่นำตัวเองไปเสี่ยงรับเชื้อไวรัสใหม่ ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่ร่างกายอีก
- แยกทิ้งขยะที่มีน้ำมูก หรือน้ำลายอยู่ เช่น หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว โดยใส่ถุงแยกสองชั้น
- ผู้ป่วยที่เพิ่งหาย ควรใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงคนในครอบครัวที่จำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วย
- ลดการสัมผัสบริเวณที่แตะบ่อยๆ รวมถึงการใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก
- ล้างมือบ่อย ๆ
อย่างไรก็ตามแต่ทางเราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับพ่อแม่ และทุก ๆ คนที่กำลังเผชิญกับการคุกคามของเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี หากเรามีกำลังใจที่ดีในการต่อสู้กับเชื้อโรคร้าย ก็จะช่วยให้ร่างกายของเรากลับมาฟื้นฟูเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน
ข้อมูลอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com/sanook.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ผู้เชี่ยวชาญชี้! การให้ วัคซีนโควิด คนท้อง ยังปลอดภัย หลังไม่พบเคสรุนแรงหลังฉีด
เทคนิครับมือ ลูกโดนบูลลี่ เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องรู้ให้ทัน!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่