คุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนว่าลูกเคยเจ็บป่วยด้วยไข้เลือดออก อาจไม่แน่ใจว่าอาการของโรคที่แสดงออกมานั้นเป็นเช่นไร ดังนั้นเพื่อให้ลูกหลานของเราได้ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ถ้าพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กได้รู้อาการของโรคนี้ในเร็วในเบื้องต้น ก็จะสามารถช่วยให้นำไปสู่การรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถลดอัตราเสี่ยงจากการเสียชีวิตลงได้ค่ะ
อาการของ โรคไข้เลือดออก
หากเกิดขึ้นกับเด็กในครั้งแรกมักจะไม่อาการแสดงให้เห็นมากนัก จะมีก็แค่ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการไข้ และมีผื่นขึ้นบนผิวหนัง แต่เมื่อใดก็ตามที่เด็กเกิดป่วยไข้เลือดออกอีกครั้งที่เกิดจากเชื้อต่างสายพันธุ์กับหนแรก จะมีอาการแสดงของโรคที่พ่อแม่สังเกตได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เด็กบางคนอาจชัก เนื่องจากไข้สูงเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน[1]
- ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง[2]
3. ระยะพักฟื้น อาการต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว[3]
แนะนำว่าหากลูกๆ ที่บ้านมีอาการของไข้เลือดออกไม่ว่าจะเพิ่งเป็นครั้งแรก หรือเจ็บป่วยขึ้นมาอีกครั้ง พ่อแม่อย่าชล่าใจให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทัน คือป้องกันให้การรักษากันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่าปล่อยให้ป่วยเข้าสู่ระยะ 2 ระยะ 3 แล้วเดี๋ยวจะรักษาไปทัน อาจทำให้เสี่ยงต่อชีวิตของลูกได้ค่ะ
อ่านต่อ การป้องกันลูกจากโรคไข้เลือดออก คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่