สถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที จนคุณแม่อาจเกิดความกังวลว่า ของใช้ใกล้ตัวที่เราต้องจับสัมผัสทุกวัน อย่างโทรศัพท์ ธนบัตร ลูกบิดประตู ตู้เย็น โถส้วม ฯลฯ อาจมีเชื้อไวรัสโควิด-19 ปนเปื้อนอยู่ แล้วจะมีวิธี ทำความสะอาดของใช้ ใกล้ตัว อย่างไร? ต้องทำบ่อยแค่ไหน? ถึงจะปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19 #ทีมแม่ABK รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแม่แล้วค่ะ
-
ตรวจโควิดฟรี ทุกรพ. แต่ต้องมีอาการเข้าข่าย เช็กเองได้ที่นี่!
-
นักโภชนาการแนะวิธี ตุนอาหาร ให้หลากหลาย ได้สารอาหาร ครบ 5 หมู่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำ วิธีทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา ดังนี้
4 วิธี ทำความสะอาดของใช้ ป้องกันไวรัสโคโรนา
- สิ่งของเครื่องใช้ที่สัมผัสบ่อย อาทิ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต
ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70 – 90% แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
- พื้นผิวที่สัมผัสบ่อย เช่น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ ของใช้รอบตัว รวมไปถึงห้องน้ำ
ให้ใช้น้ำยาฟอกผ้าขาว ( 3 – 6% โซเดียมไฮโปคลอไรท์) ผสมกับน้ำยา 1 ส่วน ต่อน้ำ 49 ส่วน ยกตัวอย่าง ไฮเตอร์ 1 ฝาขวด (ประมาณ 10 ซีซี) ผสมน้ำครึ่งลิตร เช็ดหรือแช่ทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นเช็ดออกด้วยน้ำสะอาด *
- พื้นผิวโลหะ
ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70 – 90% แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง * ห้ามใช้น้ำยาฟอกผ้าขาว เพราะมีฤทธิ์กร่อนโลหะ
- ผ้า เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูเตียง หรือ ผ้าขนหนู
สามารถซักได้ตามปกติ (ใช้ผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ) หรือ ซักด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 – 90 องศาเซลเซียส
*หากหาแอลกอฮอล์ไม่ได้ สามารถใช้เดทตอล – น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (รุ่นที่มีมงกุฎ ตัวยาคลอโรไซลีนอล) ผสมน้ำยา 1 ฝาขวด กับน้ำ 2 แก้วน้ำดื่ม และเช็ดหรือแช่ทิ้งไว้ 10 นาที
ข้อควรระวัง: โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่จะมีการเคลือบสารป้องกันรอยขีดข่วน หากสัมผัสกับแอลกอฮอล์บ่อย ๆ อาจทำให้สารเหล่านี้หลุดไป ถ้าไม่ได้ติดฟิล์มหรือกระจกกันรอยไว้
เชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานแค่ไหน?
ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 จะเกาะบนสิ่งของได้นานแค่ไหน แต่มีผลการวิเคราะห์ตัวอย่างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ซาร์ส (SARS) หรือเมอร์ส (MERS) ที่เผยแพร่ผ่านวารสารด้านการแพทย์เมื่อไม่นานนี้ สรุปว่าไวรัสโคโรนาที่แพร่ระบาดจากคนจะยังคงติดเชื้อและอยู่รอดได้นานถึง 9 วัน หากเกาะอยู่บนพื้นผิววัสดุต่างๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง แต่ไม่แน่ชัดว่าสำหรับโควิด-19 จะเป็นเช่นเดียวกันหรือไม่
ไวรัสอยู่ได้นานแบบนี้ ก็ทำให้เกิดความกังวลอีกว่า การจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันนั้น ต้องสัมผัสเหรียญหรือธนบัตรที่ผ่านมือใครมาบ้างก็ไม่รู้ แล้วเราจะป้องกันอย่างไรเมื่อต้องสัมผัสกับธนบัตร
อ่านต่อ วิธีป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 บนธนบัตร คลิกหน้า 2