ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มาซ้ำ ไม่รอให้โควิดจบ เชื้ออุบัติใหม่ก็พร้อมโจมตีผู้คนอีกครั้ง หลังนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนค้นพบ โรคไข้หวัดใหญ่ ที่ไม่เคยมีในโลกมาก่อน พร้อมสั่งเฝ้าระวังใกล้ชิด เพราะอาจระบาดรุนแรงไม่แพ้เชื้อโคโรน่าในปัจจุบัน !! เชื้อโรคจะอันตรายแค่ไหน รักษาได้หรือไม่ มาหทำความรู้จักกับไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้กันแต่เนิ่นๆ เพื่อปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัยกันดีกว่า
เตรียมรับมือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หลังค้นพบแพร่จากหมูในจีน
“หมู”เป็นพาหะแต่อาจร้ายกว่า “ไข้หวัดหมู”
สะพรึงกันทั้งโลก เมื่อนักวิทยาศาสตร์ประกาศว่ามีการค้นพบ “ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่” ซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า G4 EA H1N1 โดยมีสุกรเป็นพาหะและ “สามารถติดต่อสู่คนได้” 100 % มันสามารถเพิ่มจำนวนไวรัสได้เมื่อเข้าสู่เซลล์ทางเดินหายใจของคน อีกทั้งยังตรวจพบร่องรอยการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในกลุ่มคนงานโรงฆ่าสัตว์และอุตสาหกรรมสุกรในประเทศจีน
ถึงแม้สถานการณ์ปัจจุบันจะยังไม่น่าเป็นห่วง แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ย้ำถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ นี้มีองค์ประกอบครบทุกอย่างที่จะพัฒนากลายเป็น “ไวรัสที่ติดต่อไปสู่มนุษย์” จึงจำเป็นต้องที่ทั่วโลกจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะเหตุผลสำคัญก็คือ มนุษย์อาจมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่ำ หรืออาจไม่มีเลย!! ดังนั้นหากมันกลายพันธุ์จนติดต่อสู่คนได้ง่ายเมื่อไร ก็ย่อมจะกลายเป็นการระบาดใหญ่ในที่สุด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ได้
เพราะไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคประจำฤดูกาลที่ระบาดหนักในช่วงหน้าฝนและหนาวของทุกปี โดยในแต่ละปีพบผู้ป่วยวัยแรกเกิด จนถึงเด็กเล็ก 5 ขวบเข้ารับการรักษาจำนวนมาก และเสี่ยงติดเชื้อรุนแรงเพราะภูมิคุ้มกันร่างกายยังไม่แข็งแรงพอ เด็กกลุ่มนี้จึงควรได้รับวัคซีนต่อเนื่องทุกปี เพื่อป้องกันทั้ง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b แม้จะไม่เคยป่วยก็ตาม แต่สำหรับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่เพิ่มค้นพบนี้ยังไม่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สามารถป้องกันเชื้อได้ ซึ่งอาจต้องพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ทันทีหากมีความจำเป็น
เป็นแล้วอันตรายแค่ไหน ถ้าไวรัสแพร่จากหมูสู่คน
ถึงเวลานี้การต่อสู้กับเชื้อโควิดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่มนุษย์ก็ไม่อาจละเลยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆที่ร้ายแรงไม่แพ้กันได้ ในอดีตไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์หนึ่ง หรือไข้หวัดหมูเคยระบาดครั้งใหม่มาแล้วเมื่อปี 2009 และมีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่พัฒนาใหม่ทุกปี ส่วน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากจีนนี้ก็มีลักษณะคล้ายกับไข้หวัดหมู 2009 เช่นกัน แต่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงเพิ่มอีกหลายอย่าง ซึ่งอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
ไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์ ?
ปัจจุบันไข้หวัดใหญ่ หรือที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ Influenza เป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสายพันธุ์ด้วยกันได้แก่ สายพันธุ์ a สายพันธุ์ b ซึ่งมีความรุนแรงของเชื้อมาก ขณะที่สายพันธุ์ c มีความรุนแรงน้อยกว่าและไม่ทำให้เกิดการระบาดใด สายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดคือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ชนิด H1N1 เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก ไม่มีการปรากฎแน่ชัดว่าโรคนี้เริ่มติดต่อกับคนเป็นครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นก็จะแพร่กระจายและติดต่อจากคนสู่คน ที่สำคัญเชื้อนี้ไม่ได้พบในหมูทั่วไป จึงไม่ติดต่อโดยการสัมผัสหรือกินเนื้อหมู
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ขณะที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b จะพบเฉพาะในคน และไม่ค่อยทำให้เกิดอาการรุนแรง ส่วนมากจะระบาดในช่วงหน้าหนาว เพราะไข้หวัดชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็น ซึ่งพบมากที่สุดในระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคม และในฤดูฝนคือช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งใคร ๆ ก็ป่วยเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ bได้ แต่กลุ่มที่เสี่ยงและต้องระวังคือ คนที่ป่วยเป็นโรคปอด โรคหัวใจ และเด็กเล็ก ๆ อายุน้อยกว่า 2 ปี รวมทั้งคนแก่ และคนท้องด้วย
สำหรับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่โลกเฝ้าจับตามองอยู่ยังไม่สามารถระบุสายพันธุ์ที่ชัดเจน รวมถึงคาดคะเนความรุนแรงของโรคได้ในขณะนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญทั่วดลกจำเป็นต้องทำการค้นคว้าและติดตามโรคอย่างละเอียดต่อไป เพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดการระบาดขึ้นในมนุษย์
ถึงตอนนี้ไวรัสตัวใหม่จะยังมาไม่เกิดการแพร่ระบาด แต่พอเปิดเทอมที่เด็กได้กลับไปโรงเรียนอีกครั้ง ก็มีโอกาสที่ลูกน้อยจะป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ ก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะ ไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 ซึ่งแสดงอาการใกล้เคียงกัน วิธีแพร่เชื้อเหมือนกัน โอกาสที่ลูกเล็กวัย 6 เดือน -5 ปี จะเป็นได้ทั้งสองโรค หากเป็นแล้วทำให้อาการรุนแรงขึ้น และต้องให้ยารักษาทั้งโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
5 อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีแนวโน้มจะมีภาวะติดเชื้อร่วมด้วย ได้แก่
ข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส
เจ็บคอ ไอ
ปวดศีรษะ
คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และร่างกายอ่อนเพลีย
ฉะนั้นคุณแม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อย ทั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดและเครื่องใช้ส่วนตัว รวมถึงการฝึกฝนลูกคุ้นเคยกับมาตราการป้องกันโรคต่างๆ ทั้ง ล้างมืออย่างถูกวิธี ใส่หน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างของเด็กๆ เพื่อที่อย่างน้อยจะเป็นเกราะป้องกันให้ลูกห่างไกลจากการติดเชื้อได้ระดับหนึ่ง หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยหรือตัวเองมีอาการผิดปกติ ไข้ ไอ เหนื่อย หรือมีความเสี่ยงต้องอยู่กับกลุ่มเสี่ยงในบ้าน ให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อนำไปสูการวินิจฉัย รักษา และลดการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
แหล่งข้อมูล www.bbc.com
บทความน่าสนใจอื่นๆ
หมอเตือน! อาการไข้หวัดใหญ่ คล้ายกับโควิด-19 ติดร่วมกันได้ทำให้ป่วยหนัก