หมอเตือน อย่าใช้ยาลดไข้สูง รักษาโรคไข้เลือดออก - Amarin Baby & Kids
รักษาโรคไข้เลือดออก

หมอเตือน อย่าใช้ยาลดไข้สูง รักษาโรคไข้เลือดออก

account_circle
event
รักษาโรคไข้เลือดออก
รักษาโรคไข้เลือดออก

รักษาโรคไข้เลือดออก ต้องระวัง อาการเริ่มต้นอาจคล้ายโรคไข้หวัด มีไข้สูงแต่ไม่มีจุดแดงบนร่างกายให้เห็น แพทย์เตือนพ่อแม่ต้องระวัง ลูกมีไข้ อย่าให้กินยาลดไข้สูง เสี่ยงเลือดออกที่อวัยวะภายใน เป็นอันตรายถึงชีวิต

แพทย์เตือน ยาลดไข้สูงไม่ควรใช้ รักษาโรคไข้เลือดออก

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในบ้านเราปีนี้ต้องเฝ้าระวังไม่แพ้โรคโควิด-19 จากเดือนมกราคม –พฤษภาคม 2563 พบผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศแล้ว 13,006 คนเสียชีวิตแล้ว 10 คน มีผู้ป่วยในทุกภาคของประเทศโดยพบมากในกลุ่ม 3 ช่วงอายุได้แก่ อายุ 10 -14 ปี ถึง 69.81 % (ต่อประชากร 1 แสนคน) รองลงมาคือกลุ่มเด็กเล็กอายุ 5-9 ปี 54.20  % และวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี อีก 50.84 % ทางกรมโรคติดต่อพยากรณ์ไว้ว่า จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเทียบเคียงกับปี 2562 ที่พบผู้ป่วยจำนวนมากถึง 147,361 ราย

MUST READ: “ลูกเป็นไข้เลือดออก ครั้งที่ 2” อันตรายมาก เตือนอย่าให้ป่วยซ้ำ!

MUST READ : 10 ความแตกต่าง อาการไข้เลือดออก vs อาการโควิด 19

 

รักษาโรคไข้เลือดออก

ปัจจุบันยังไม่มียา รักษาโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะ แต่ใช้รักษาตามอาการเป็นหลัก อาการในช่วงแรกที่มีไข้สูงต่อเนื่องหลายวัน แต่ไม่มีจุดแดงบนผิวหนังให้เห็น อาจทำให้เข้าใจผิดว่า “เป็นโรคไข้หวัด ” และซื้อยาลดไข้สูงมากินเอง ซึ่งอันตรายมาก งเฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว ซึ่งเป็นเพจที่มีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลทางการแพทย์ ได้โพสต์เตือนประชาชนให้ระวังการใช้ยาลดไข้สำหรับผู้ป่วยไข้เลือด

เตือนภัย___ อันตรายอาจถึงชีวิต ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ช่วงนี้โรคไข้เลือดออกเริ่มระบาด เจ้าถิ่นมาทวงแชมป์จากโควิด ทั้งประเทศป่วยแล้ว เป็นหมื่น ตายเกือบ 10 ราย

ผู้ป่วยจะมีไข้สูง (ตามตัวโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่ไข้ 2-7วัน) ยาลดไข้ที่ควรกินคือ พาราเซตามอล เท่านั้น

ส่วน ยาลดไข้สูง__คือ ยากลุ่ม NSIADs ห้ามกิน ทั้งชนิดน้ำในเด็ก/เม็ดในผู้ใหญ่
ควรหลีกเลี่ยง_กรณีมีไข้อย่างเดียวและสงสัยไข้เลือดออก….

เพราะทำให้เลือดออก ตายได้ เพราะ ยาไข้สูง ส่วนใหญ่คือกลุ่ม NSIADs อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เป็นแผลที่กระเพาะอาหารและเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้ ไตวาย และเสียชีวิตได้

พ่อแม่ผู้ปกครอง บางท่านเข้าใจผิด เวลามีไข้ จะเลือกใช้ยาลดไข้สูง_เป็นตัวแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยากลุ่ม NSIADs ซึ่งระคายเคืองกระเพาะอาหาร มีผลข้างเคียงได้ ปวดท้อง เลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย ได้

ยาไข้สูง ส่วนใหญ่ ในเด็ก_น้ำสีส้ม ในผู้ใหญ่_เม็ดสีชมพูเข้ม

เวลามีไข้ สำคัญสุด คือ เช็ดตัวระบายความร้อน อาบน้ำอุ่น/ก็อกก็ได้ ไม่ก็จับแช่ในอ่างอาบน้ำ กะละมัง

รักษาโรคไข้เลือดออก

ความเข้าใจที่ว่า มีไข้ ห้ามจับอาบน้ำหรือเช็ดตัว เป็นเรื่องผิด

จริงๆสามารถอาบน้ำได้ ไข้จะลงและต้องกินยาพาราเซตามอลร่วมด้วย

มีคนถามเยอะเรื่องแผ่นแปะหน้าผากช่วยได้ไหม

แอดตอบ_ได้ แต่ไม่ดี 100% คิดง่ายๆ เวลากองไฟลุกท่วมหัว_แล้วใช้น้ำพรมแล้วไฟจะดับหมดไม่ได้

ดังนั้น ถ้ามีไข้ดีสุดคือ จับเด็กแก้ผ้า ปิดแอร์ เช็ดตัวด้วยผ้าอย่างน้อย 3-4ผื่น เช็ดผิวหนังเข้าหาหัวใจ อย่างน้อย 10-20 นาที

ผ้าที่ไม่ได้เช็ดก็วางไว้ตามซอกคอ ซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ บริเวณที่มีเส้นเลือดขนาดใหญ่ จะได้ระบายความร้อน

ส่วนยาไข้สูง อาจใช้ในบางกรณี แต่ควรสั่งจ่ายโดยแพทย์ เช่น เด็กมีคนไข้สูงทั้งเช็ดตัว กินยาพาราเซตามอล ก็ไม่ลง และไข้ขึ้นมาใหม่ไม่ถึง4ชม. หรือมีประวัติเคยชักจากไข้สูง ส่วนใหญ่จะจ่ายกรณีที่ไม่สงสัยไข้เลือดออกซึ่งยังกินยาพาราเซตามอลไม่ได้ และเด็กมีประวัติไข้แล้วชัก อาจจะให้กินได้ แต่ต้องกินหลังอาหารและทานน้ำมากๆ ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ ส่วนใหญ่จะไม่แนะนำถ้ายังสงสัยไข้เลือดออก หมอจะไม่สั่งจ่ายเด็ดขาด จำไว้

ไข้เลือดออกไม่ถูกกับยาลดไข้สูง  ไข้อย่างเดียว และไข้สูงเกิน 2 วันไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์

อาการที่สงสัยไข้เลือดออกคือ ไข้ ไม่ไอไม่มีน้ำมูก ปวด 4 ที่ (ศีรษะ กระบอกตา กล้ามเนื้อ กระดูก) อาจมีอาเจียน กินอาการไม่ได้ เบื่อ คลื่นไส้ อาจมีจุดเลือดออก หรือ อาการเลือดออก และผื่นแดง

สรุป มีไข้ อาบน้ำ เช็ดตัว กินพาราเซตามอล ก็พอ

ทำไมโรคไข้เลือดออกรุนแรงกว่าเดิม

ข้อมูลทางวิชาการพบว่า ภาวะโลกร้อนทำให้คาร์บอนไดออนไซด์ในน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคพัฒนาเป็นยุงเต็มวัยได้ในเวลาสั้นขึ้นกว่าในอดีต จากเดิมที่ไข่จะกลายเป็นตัวยุงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7- 10 วัน ปัจจุบันเวลา 5 วันเท่านั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ไวรัสในยุงแพร่เร็วขึ้นด้วย

จากรายงานการตรวจหาเชื้อไวรัสแดงกิของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกองโรคติดต่อนำโดยแมลง พบว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เชื้อไวรัสสายพันธุ์ DENV-1 และ DENV-2 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสแดงกิในยุงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทำให้อาการของโรคไข้เลือดออกรุนแรงขึ้น เท่ากับว่าผู้ป่วยจะเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มทารก เด็กเล็ก อายุ 0-4 ปี ผู้ใหญ่อายุ 25 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจำตัว

รักษาโรคไข้เลือดออก

อาการไข้เลือดออกไม่เหมือนเดิม

เวลาพูดถึงโรคไข้เลือดออก คนส่วนใหญ่มักนึกถึงจุดแดงตามตัวและอาการไข้สูง แต่ปัจจุบันอาการของโรคไม่เหมือนเดิมและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม โดยมีอาการดังต่อไปนี้

1.ผู้ป่วยจะมีไข้สูง แต่อาจไม่มีจุดแดงปรากฎให้เห็น ระยะแรกดูผิวเผินคล้ายโรคไข้หวัดทั่วไป อาจอาเจียน หรือเบื่ออาหารได้

2.ไข้ลดลง มีอาการเพลียซีม ซึ่งไม่แปลว่าผู้ป่วยดีขึ้น แต่เชื้อไวรัสกำลังเข้าจู่โจมอวัยวะภายใน ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน หรือตับวายจนเสียชีวิตได้

3.ระยะไข้สูง 40-40 องศาเซลเซียส โดยไม่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล จะมีไข้สูงลอยเช่นนี้อยู่ 2-7 วัน

4.จุดแดงบนผิวหนัง มักตรวจพบพร้อมกับภาวะเลือดออกในอวัยวะอื่นๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ทางเดินอาหาร อาเจียนเป็นเลือด หรือปะปนมาในอุจจาระ

5.ระยะวิกฤต ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกเดงกิ มีภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลว มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นอ่อน ความดันโลหิตผันผวน แต่ยังมีสติ พูดคุยปกติ หากปล่อยให้อาการหนักขึ้นอาจเสียชีวิตได้ภายใน 1 – 2 วัน

หน้าฝนนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับวิธีป้องกันและควบคุมการเกิดยุงลายมากขึ้น เพื่อให้ลูกปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก  2 อย่าง ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันยุงลายกัด ยุงลายมักจะกัดคนในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ในภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วยรองขาตู้กันมด แจกันดอกไม้ ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

แหล่งข้อมูล :  news.thaipbs.or.th/ www.bangkokbiznews.com /www.thaihealth.or.th/ bangkokhospitalphitsanulok.com

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

พ่อแม่ต้องรู้! “9 ข้อห้ามทำ” เมื่อลูกเจ็บป่วย

5 พาหะนำโรค หน้าฝน ภัยร้ายต่อสุขภาพลูกน้อย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up