สถานการณ์ มือเท้าปากระบาด 2565 เตือนพ่อแม่ โรงเรียนเฝ้าระวัง
โรค มือเท้าปากระบาด

สถานการณ์ มือเท้าปากระบาด 2565เตือนพ่อแม่โรงเรียนเฝ้าระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
โรค มือเท้าปากระบาด
โรค มือเท้าปากระบาด

มือเท้าปากระบาด ช่วงเปิดเทอมนี้ กรมควบคุมโรค แนะพ่อแม่ สถานศึกษาให้สังเกตอาการ และคัดกรองอย่างเคร่งครัด พบรีบแยกเด็กปกติออกจากกัน แจ้งพ่อแม่ให้รีบพาไปหาหมอ

สถานการณ์ มือเท้าปากระบาด 2565เตือนพ่อแม่โรงเรียนเฝ้าระวัง

สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 14 กุมภาพันธ์ 2565 มีรายงานพบผู้ป่วย 258 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบป่วยมากที่สุด 3 อันดับ คือ อายุ 2 ปี (ร้อยละ 24.81) อายุ 1 ปี (ร้อยละ 24.03) และ อายุ 3 ปี (ร้อยละ 12.40) ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ เชียงราย พะเยา น่าน จันทบุรี และอ่างทอง ตามลำดับ

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ใชช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง อากาศเย็นลงและมีความชื้น เนื่องจากมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ประกอบกับสถานศึกษาเปิดเรียนเป็นปกติ เด็กอาจมีการทำกิจกรรมรวมกลุ่ม ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งโรคดังกล่าวมีแนวโน้มพบอัตราป่วยมากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็ก และเด็กวัยเรียน ดังนั้น สถานศึกษาต้องมีมาตรการคัดกรองและสังเกตอาการของเด็กก่อนเข้าเรียนทุกเช้า เพื่อเฝ้าระวังการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

สถานการณ์ มือเท้าปากระบาด ในช่วงเปิดเทอม
สถานการณ์ มือเท้าปากระบาด ในช่วงเปิดเทอม

นายแพทย์อัษฏางค์ รวยอาจิน รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ถึงแม้จะยังไม่เข้าสู่ฤดูฝน แต่ในช่วงนี้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เด็กเล็กป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ที่ผู้ปกครอง และครูควรสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เนื่องจากโรคนี้มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก และเด็กช่วงวัยเรียน โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด – 4 ปี (83.63%) รองลงมา อายุ 5 – 6 ปี (5.24%) และ อายุ 7 – 9 ปี (4.50%)

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ และสามารถติดต่อจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าทางปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสจะติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพอง หรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน

ทำความรู้จักโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Enterovirus เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ ซึ่งอาจจะไข้ต่ำหรือไข้สูงก็ได้  และจะมีแผลในปาก มีผื่นที่มือที่เท้า

ส่วนใหญ่แผลในปากเราพบได้หลายตำแหน่ง ตั้งแต่บริเวณของเพดานแข็งเพดานอ่อนหรือบางคนก็พบที่กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้นได้ บางคนเป็นเยอะก็จะลามออกมาที่ริมฝีปากหรือรอบ ๆ ริมฝีปากเลยก็มี ส่วนผื่นที่มือที่เท้า ส่วนใหญ่จะเป็นตุ่มแดง ๆ หรือบางครั้งก็เป็นตุ่มน้ำใสได้ บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า เป็นต้น

บางคนเป็นแผลเยอะ และทำให้เจ็บปากมาก รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ จนอาจพบว่ามีอาการเพลียมาก ต้องมาโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือด ช่วยประคับประคองไป จนกว่าอาการจะดีขึ้น รับประทานได้ดีขึ้นก็กลับบ้านได้

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อ จะมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1 – 2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็ก ๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปากที่เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ

เมื่อโรค มือเท้าปากระบาด ต้องทำยังไง
เมื่อโรค มือเท้าปากระบาด ต้องทำยังไง

6 อาการที่ต้องเฝ้าระวัง!!

โรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง ภายใน 5-7 วัน แต่จะมีสิ่งที่พ่อแม่ต้องคอยเฝ้าระวัง หากพบอาการเหล่านี้ต้องรีบพากลับไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง อันที่แรงที่สุด คือ ก้านสมองอักเสบ ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ 1-5 รายต่อปี แต่ถึงอย่างไรพ่อแม่จึงควรสังเกตอาการลูกให้ดีว่า มีอาการที่น่ากังวล 6 อาการเหล่านี้หรือไม่ หากพบควรต้องรีบพากลับมาพบแพทย์

  1. มีอาการซึมลง
  2. หายใจหอบ หายใจเร็ว
  3. มีอาการชัก เกร็ง
  4. หมดสติ
  5. มือสั่น ขาสั่น
  6. เดินเซ

การแพร่เชื้อ

ระยะแพร่เชื้อเริ่มได้ตั้งแต่เด็กมีอาการ เชื้อจะออกมาทางน้ำลาย แล้วก็อุจจาระ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะแพร่ไปได้ จนกระทั่งถึงแม้ว่าโรคจะหายดีแล้วก็ตาม  เช่น ประมาณสัปดาห์หนึ่งหลังจากหายจากโรคแล้ว เรายังสามารถตรวจพบเชื้อในอุจจาระได้อีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง

ช่วงระยะที่แพร่เชื้อได้มาก ๆ ก็คือช่วงที่มีอาการ (ประมาณภายใน 7 วันแรก หลังจากเริ่มมีอาการ)

โรค มือเท้าปากระบาด อาการเป็นอย่างไร
โรค มือเท้าปากระบาด อาการเป็นอย่างไร

กรมควบคุมโรค แนะวิธีปฎิบัติป้องกัน มือเท้าปากระบาด

  1. คัดกรองเด็กก่อนเข้าเรียนทุกเช้าอย่างเคร่งครัด
  2. ให้เด็กสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เพื่อลดการสัมผัส ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  3. หมั่นทำความสะอาดของใช้ ของเล่นและพื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกันเป็นประจำ
  4. สอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังเล่นของเล่น
  5. จัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถวทำกิจกรรมหรือเล่นเป็นกลุ่มย่อย จำนวน 5-6 คน มีการเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
  6. หากเด็กไม่สบายหรือมีไข้ก่อนมาเรียน ผู้ปกครองควรพาไปพบแพทย์ และให้พักอยู่บ้าน ส่วนสถานศึกษาหากพบเด็กป่วยให้แยกออกจากเด็กปกติและแจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน เพื่อพาไปพบแพทย์โดยเร็ว พร้อมทั้งให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าจะหาย
  7. แยกของใช้ส่วนตัวของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับเด็กคนอื่น งดไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด

ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถป้องกันได้ทั้งโรคมือ เท้า ปาก โรคโควิด 19 และโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

มือเท้าปากระบาด

ภาพข่าวจากไทยรัฐ

ปัจจุบันเรายังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากโดยเฉพาะ แต่ว่าการป้องกันทำได้หลายอย่าง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลให้ลูกห่างไกลจากการที่ มือเท้าปากระบาด การหยุดการแพร่กระจายของเชื้อนั้นด้วยสุขอนามัยที่ดี จึงเป็นสิ่งจำเป็น

โรคเฮอร์แปงไจน่า vs โรคมือเท้าปาก

สำหรับแผลตุ่มพองที่ขึ้นเมื่อเป็นโรคมือเท้าปากนั้น สำหรับบางคนยังคงสับสนว่า ตุ่มพองแบบไหนที่เป็นตุ่มพองลักษณะของโรคมือเท้าปาก เนื่องจากว่ายังมีโรคระบาดที่ติดต่ออีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะอาการคล้าย ๆ กับโรคมือเท้าปาก นั่นคือ โรคเฮอร์แปงไจน่า

เฮอร์แปงไจน่า เป็นโรคที่ติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นกลุ่มของ เอนเตอโรไวรัส (Enterovirus)  แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือจะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น ขณะที่มือ เท้า ปาก นอกจากจะมีแผลที่ปากแล้วจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก ไอ จาม ลักษณะอาการจะมีไข้สูงประมาณ 39.5-40 องศาเซลเซียส และมีแผลในช่องปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในโพรงคอหอยด้านหลัง แต่ถ้าเป็นมือ เท้า ปาก ไข้จะไม่สูง และมีแผลกระจายอยู่ทั่วปาก รวมทั้งมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ และฝ่าเท้าด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมควบคุมโรค /www.rama.mahidol.ac.th/

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธีสังเกต อาการมือเท้าปาก และ วิธีดูแลรักษาลูกโดยไม่ต้องแอดมิด

ลูกกล้ามเนื้อกระตุกไม่มีเหตุผล ระวังเป็น ลมชักในเด็ก

ระวัง! โรคมือเท้าปาก EV71 สายพันธุ์รุนแรง

ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบเป็น โรคมือเท้าปาก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up