ผลกระทบเมื่อแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจนั้น ส่งผลต่อการตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นไปได้ยาก ทำให้การดูแลล่าช้า การทำงานของหัวใจที่หนักมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาการของโรครุนแรง และกำเริบได้ง่าย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม และมีโอกาสเสียชีวิต
ผลกระทบนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ และระดับความรุนแรง และส่งผลต่อโอกาสการแท้ง คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น คลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง ตกเลือดหลังคลอด และภาวะทารกโตช้าในครรภ์
การป้องกันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
เมื่อคุณแม่อยากจะมีลูกน้อย ควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตัวเอง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด เพราะปัจจุบันพบว่าคุณแม่กว่าครึ่งหนึ่งที่เป็นโรคหัวใจ ไม่มีการวางแผนที่จะมีลูกน้อยมาก่อน จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่ และลูกน้อยด้วย
ควรศึกษาข้อมูลทั้งคุณพ่อ คุณแม่ เกี่ยวกับความเสี่ยงจากโรดหัวใจ เช่น ความเสี่ยงในการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนที่แบ่งไปตามระดับความรุนแรง เพื่อหาแนวทางในป้องกัน เช่น การผ่าตัดรักษา หรือใส่สายสวนหัวใจก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีโรคหัวใจบางชนิดที่มีข้อห้ามในการตั้งครรภ์ ได้แก่
1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
2.โรคความดันเลือดในปอดสูง
3.โรคไอเซนเมนเกอร์ เนื่องจากเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
4.ภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่
5.ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว
ทั้ง 5 โรคนี้จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่จะมารับการตรวจรักษาหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว โดยที่ไม่ได้รับการเตรียมตัวมาก่อน คุณหมอจะให้คำแนะนำความเสี่ยงต่างๆ ให้กับคุณแม่ และถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์จาก 5 โรคความเสี่ยงนี้ คุณหมออาจจะพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่