hMPV ต้นเหตุ ปอดอักเสบอาการ อันตรายใกล้เคียง RSV
ทำความรู้จัก ต้นเหตุปอดอักเสบ ตัวร้าย!!
- ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ ซี่งจะกล่าวต่อไป
- ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ สำลักเศษอาหารเข้าไปในปอด หายใจเอาควัน ฝุ่น เข้าไปในร่างการในปริมาณมาก เป็นต้น
- การแพ้ภูมิตัวเอง ภูมิต้านทานต่ำ ได้แก่
-
- ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี (SLE)
- ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแฝด เด็กขาดสารอาหาร
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง
- ผู้ป่วยเอดส์
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้ที่กินยาสเตียรอยด์นาน ๆ
- ฯลฯ
ปอดอักเสบ ติดต่อกันอย่างไร?
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักอยู่ในน้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย และกระจายได้โดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น ๆ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากโรคปอดอักเสบ
- การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด กรณีติดเชื้อจากแบคทีเรีย
- ภาวะช็อก กรณีติดเชื้ออย่างรุนแรง
- ภาวะมีน้ำ หรือเป็นหนองในเยื่อหุ้มปอด
- ภาวะมีฝีในปอด
ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
- Respiratory Syncytial Virus (RSV)
- Influenza (ไข้หวัดใหญ่)
- Parainfluenza
เชื้อแบคทีเรียที่มักพบในเด็ก ได้แก่
- Streptococus Pneumonia มากที่สุด
- Haemophilus Influenza type B (HIB)
- Staphylococus Aures
- Mycoplasma Pneumonia
- Chlamydia Pneumonia
hMPV เชื้อไวรัสตัวใหม่ ของโรคทางเดินหายใจ จริงหรือ??
จริงๆ เชื้อ human metapneumovirus (hMPV) นี้ เป็นเชื้อที่มีมานานแล้ว แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้า การส่งตรวจต่าง ๆ ก็ง่ายและรวดเร็วขึ้น จึงเจอเชื้อนี้ได้มากขึ้น การตรวจเชื้อใช้วิธีการตรวจโดยวิธีการ swab ป้ายตรวจเหมือนกับการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ RSV แต่ถึงเชื้อไวรัส hMPV นี้จะไม่ใช่เชื้อตัวใหม่ แต่ก็เป็นไวรัสตัวร้ายของลูกน้อย ซึ่งมีอันตรายใกล้เคียง RSV ที่พ่อแม่รู้จักกันดี เลยทีเดียว
เชื้อไวรัสฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจในเด็ก พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี และพบในช่วงฤดูหนาว และช่วงฤดูฝนมากที่สุด
hMPV กับ ปอดอักเสบอาการ อย่างไร??
พ่อแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อย เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ แม้ว่าการสังเกตอาการในเด็กจะค่อนข้างสังเกตได้ลำบาก ซึ่งอาการมีตั้งแต่อาการหวัดเพียงเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง โดยให้เฝ้าระวังอาการต่อไปนี้ ซึ่งหากพบ และมีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ ควรรีบนำลูกไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย
- มีไข้สูง มีน้ำมูก อาจมีอาการอย่างน้อย 5-7 วัน
- ไอมาก มีเสมหะ เจ็บคอ
- หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว มีเสียงหวีดเมื่อหายใจ มีภาวะหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบรุนแรงได้
- ในรายที่รุนแรง อาจมีอาการหอบเหนื่อยมาก หรือระบบหายใจล้มเหลวได้
- เบื่ออาหาร รับประทานนมได้น้อย เพราะดูดนมได้ลำบาก สังเกตได้จากเวลาดูดนมจะจมูกบาน ซี่โครงบาน อกบุ๋ม
- เด็กหงุดหงิด งอแง รู้สึกไม่สบายตัว ร้องกวน กระสับกระส่าย หน้าสั่น
- ซึม และอาจมีอาการตัวเขียวได้
- ในเด็กโตจะมีอาการเจ็บหน้าอกตลอดเวลาที่หายใจเข้าออก
อ่านต่อ >>การรักษา และดูแลเมื่อลูกเป็นโรคปอดอักเสบ คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่