ลูกชักเพราะไข้สูง สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กในวัย 6 เดือน – 6 ปี ดังนั้น พ่อแม่ทุกคนจึงควรเตรียมพร้อม เพื่อรับมือกับอาการชักที่อาจเกิดขึ้นกับลูกตนเอง
3 วิธีรับมือ “ลูกชักเพราะไข้สูง” อาการชักไม่น่ากลัวเมื่อเข้าใจ
ชักจากไข้สูงคืออะไร?
ภาวะชักจากไข้ คือ อาการชักแบบเกร็ง ในระหว่างการชักจากไข้ เด็กมักจะตัวแข็ง สูญเสียสติและการควบคุม แขนและขาของจะสั่นชัก และอาจเกิดอาการปัสสาวะราด ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว เกิดขึ้นในขณะที่มีไข้สูง โดยทั่วไปจะมีอุณหภมูิสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส มักเกิดในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 6 ปี โดยพบบ่อยครั้งแรกในช่วงอายุประมาณ 1-2 ปี
ลูกชักเพราะไข้สูง เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เกิดจากการที่สมองของเด็กเล็กยังเจริญไม่เต็มที่ ทําให้มีโอกาสชักได้เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น:
- โรคอีสุกอีใส
- โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคหูชั้นกลางอักเสบ
- โรคต่อมทอนซิลอักเสบ
นอกจากนี้ ยังคาดว่ามีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับการชักจากไข้ เนื่องจากพบว่า มีโอกาสจะเกิดการชักเพิ่มขึ้นหากมีประวัติของญาติพี่น้องเคยชักมาก่อน โดย 1 ใน 4 ของเด็กที่ชักจากไข้สูงนั้น มีสมาชิกในครอบครัวเคยมีอาการนี้เช่นกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
หมอจุฬาชี้! 3 วิธีรับมือ “ลูกชักเพราะไข้สูง”
-
รวมรวมสติ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคน เมื่อเห็นว่าลูกตัวเองชักต่อหน้าต่อตา มักจะตกใจเป็นธรรมดา แต่สิ่งที่ต้องทำเมื่อลูกเกิดอาการชักนั่นคือ ต้องรวบรวมสติให้ได้มากที่สุด อย่าตกใจมากจนเกินไป ควรเรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นและเริ่มปฐมพยาบาล
2. ป้องกันไม่ให้เด็กกัดลิ้น
ควรใช้ผ้าหนา ๆ เช่น ผ้าขนหนู ใส่เข้าไปในช่องปากของเด็ก เพื่อป้องกันโอกาสที่ลูกจะกัดลิ้นตนเอง ไม่ควรใส่สิ่งของชนิดอื่น ๆ เช่น นิ้ว ช้อน ยา หรือวัตถุที่เป็นของแข็ง แหย่เข้าไปในปากเด็ดขาด การใส่สิ่งของเพื่อกันการกัดลิ้นเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างมากและโอกาสทำให้ฟันหัก หรือสิ่งของสำลักเข้าคอได้
3. ให้เด็กนอนราบลงกับพื้น
เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกตกลงจากที่สูงได้ เช่น เตียง เก้าอี้ โดยอุ้มให้ลูกอยู่ในท่านอนตะแคง โดยให้หันหน้าออกไปด้านใดด้านหนึ่ง ท่าการนอนแบบนี้จะป้องกันไม่ให้เด็กกลืนสิ่งที่อาเจียนออกมาเข้าไป เปิดทางเดินหายใจ และช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่างๆที่อาจเกิดขึ้นระหว่างชัก
อาการชักจากไข้สูง เด็กจะหยุดชักได้เองภายในไม่เกิน 2-3 นาที ส่วนใหญ่จะสามารถหายใจได้ และหัวใจเต้นเป็นปกติดี เมื่อหยุดชัก และรู้สึกตัวดี ให้ป้อนยาลดไข้ และควรทำให้ไข้ลดลงอย่างรวดเร็วโดยการเช็ดตัว โดยส่วนใหญ่เด็กจะหยุดชักได้เอง แต่หากไม่หยุดชักหลังปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกชัก
- ไม่กดตัวหรือแขนขาเด็กเพื่อพยายามหยุดอาการชักเพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หยุดชักแล้วยังอาจทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บมากขึ้น
- ห้ามยัดสิ่งใดเข้าไปในปากเด็ก รวมทั้งห้ามใช้มือของคุณพ่อคุณแม่ยัดเข้าไปด้วย กรณีเด็กกัดลิ้นอาจทำให้เลือดออก คุณหมอยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่หากสิ่งของที่ใช้ยัดเข้าไปหักหลุดติดทางเดินหายใจ กรณีนี้จะเป็นอันตรายอย่างแน่นอน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ลูกชักเพราะไข้สูง อันตรายหรือไม่?
เด็กที่เคยมีอาการชักจากไข้สูง โดยทั่วไป ประมาณ 1 ใน 3 ของเด็กที่ชัก จะมีโอกาสชักซ้ำได้ถ้ามีไข้สูง และจะมีโอกาสชักซ้ำจนกว่าจะอายุมากกว่า 5-6 ปี และสำหรับเด็กที่มีอาการชักจากไข้ครั้งแรกก่อนอายุ 1 ปี และมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้ในตอนเด็ก อาจมีโอกาสชักซ้ำได้มากขึ้น และในเด็กบางราย อาการชักจากไข้สูงนั้น อาจเกิดจากภาวะอื่น ๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นในเด็กบางราย อาจจำเป็นต้องตรวจน้ำไขสันหลัง โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมีอาการซึมลง กินน้อยลง หรืออาเจียนร่วมด้วย ดังนั้น เด็กที่เคยมีประวัติชักจากไข้สูง เมื่อลูกมีไข้อีกครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังไม่ปล่อยให้ไข้สูงจนเกินไป คอยเช็ดตัวพร้อมทั้งป้อนยาพาราเซตามอลร่วมด้วย
ภาวะชักจากไข้สูงมีผลต่อพัฒนาการของลูกหรือไม่?
จากความกังวลของคนเป็นพ่อเป็นแม่ว่า อาการชักของลูกนั้นจะไปกระทบต่อพัฒนาการหรือสติปัญญาของลูกนั้น โดยทั่วไป ภาวะนี้จะไม่มีผลต่อพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ของเด็กที่เดิมแข็งแรงดีอยู่แล้ว ยกเว้นนในบางราย ที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะอาการชักที่นานมากกว่า 30 นาที) จนมีภาวะตัวเขียว ขาดออกซิเจน ทำใหห้อาจมีผลต่อสมองได้ แต่โดยทั่วไป อาการชักชนิดนี้ มักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3-5 นาที จึงไม่มีอันตรายต่อสมองของเด็ก
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว
หยอดโรต้า ฟรี!! ปี 2562 แม่ๆ อย่าลืมพาลูกไปรับวัคซีน
หมอเตือน! 3 ภัย 4 โรคในหน้าหนาว เด็กเล็กเสี่ยงเจ็บตายสูงขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. นพ. ชิษณุ พันธุ์เจริญ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่