มาป้องกันฟันน้ำนมผุก่อนซี่แรกจะขึ้น
จากความเข้าใจผิดๆ ว่า แค่ ฟันน้ำนมผุ คงไม่เป็นไร ทำให้พ่อแม่เริ่มต้นแปรงฟันให้ลูกช้าลง ส่งผลให้อัตราของเด็กฟันผุเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของศาสตราจารย์พิเศษ ทพญ.ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเด็ก ระบุว่า การแปรงฟันให้เด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นในวัย 6-7 เดือน และทำต่อเนื่องจนเด็กสามารถแปรงฟันได้เอง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จะช่วยลดโอกาสฟันผุได้มากถึง 15 – 30 %
นอกจากนี้ อาหารที่ลูกกินเป็นอีกปัจจัยสำคัญต่ออาการฟันผุของลูก โดยเฉพาะอาหารและขนมรสหวาน เพราะยิ่งเด็กกินไปมากเท่านั้น น้ำตาลบนฟันจะกลายเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรีย กลายเป็นกรดกัดกร่อนสารเคลือบฟันทีละน้อย ต้นเหตุของ ฟันน้ำนมผุ แต่ในเมื่อขนมหวานๆเป็นของโปรดของเด็กแทบทุกคน การทดแทนด้วยอาหารที่มีความหวานจากธรรมชาติ อย่างผลไม้รสหวาน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง แตงโม มะละกอ หรือผักรสออกหวาน อย่าง ข้าวโพดหวาน มันม่วง มันเทศ เป็นต้น
เมนูควรเลี่ยงถ้าไม่อยากให้ลูกฟันผุ
คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกฟันผุอย่างนึกไม่ถึง โดยเฉพาะขนมชิ้นเล็กๆอย่างลูกอม หรืออมยิ้ม ทันตแพทย์หญิงปวีณา คุณนาเมือง ทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมสำหรับเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระบุถึง 13 เมนูควรเลี่ยงถ้าไม่อยากให้ลูกฟันผุ โดยเรียงลำดับจากสิ่งที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่
- ลูกอม ยากอมลดกลิ่นปาก ยาน้ำแก้ไอ
- แครกเกอร์
- คุกกี้ เค้ก พาย
- แป้งต่างๆ : ข้าว ขนมปัง พาสต้า ซีเรียลรสหวาน
- มาร์ชแมลโล
- ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกเกด
- Pretzel ขนมมันฝรั่งกรอบ (ขนมถุงต่างๆ)
- ไอศครีม เชอร์เบท พุดดิ้ง โยเกิร์ตรสผลไม้
- ผลไม้กระป๋อง
- น้ำหวานต่างๆ เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำมะตูม นมเปรี้ยว
- น้ำผลไม้พร้อมดื่ม
- ผลไม้สด โดยเฉพาะ กล้วย
- ผักสุก
แต่การหลีกเลี่ยงรายการอาหารทั้งหมดนี้แบบ 100% คงเป็นไปไม่ได้ อาจใช้วิธีจำกัดปริมาณที่กินในแต่ละวันเพื่อไม่ให้มีน้ำตาลมากเกินไป และหลังมื้ออาหารควรให้เด็กบ้วนปากเพื่อไม่มีน้ำตาลเกาะตามซี่ฟัน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การแปรงฟันอย่างถูกวิธี ซึ่งป่วยป้องกัน ฟันน้ำนมผุ โดยมีลำดับดังต่อไปนี้
เริ่มจากแปรงฟันรอบนอก (ด้านในสุดติดกับแก้ม) —- แปรงจากฟันซี่ในสุด ถูไปมาเล่ื่อนผ่านฟันหน้าบนไปจนสุดฟันอีกด้าน จากนั้นค่อยแปลงฟันล่างโดยเริ่มจากด้านเดียวกัน
ชมคลิปวิธีแปรงฟันอย่างถูกต้องที่นี่
ในกรณีที่คุณแม่ป้องกันทุกทางแล้ว แต่เจ้าตัวน้อยยังฟันผุอยู่ดี เมื่อเห็นว่าฟันลูกเริ่มมีรอยดำ หรือเป็นรอยกร่อน ควรพาไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมก่อนฟันผุจะลุมลามเป็นโรคอื่นๆที่คาดไม่ถึงตามมา ก่อนลงมือรักษาฟันผุ พ่อแม่ควรทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ก่อน
- ก่อนแพทย์ตัดสินใจรักษาจะต้องตรวจดูลักษณะฟันที่ผุ อาการปวด บวม รวมถึงโรคประจำตัวของเด็ก เพื่อประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
- สังเกตพฤติกรรมเด็กก่อนว่า ยอมรับการรักษาหรือไม่ (แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและพื้นฐานอารมณ์เด็ก)
- พิจารณาพฤติกรรมของพ่อแม่ต่อลูก บางคนมีท่าทีปกป้องลูกมากเกินไป หรือสนใจน้อยเกินไปหรือไม่
- ตรวจความพร้อมบุคลากร แพทย์ และอุปกรณ์ว่าพร้อมให้การรักษาหรือไม่
แม้ว่าฟันน้ำนมจะอยู่กับเด็กๆแค่ 5-10 ปี แต่ฟันชุดนี้คือพื้นฐานสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการหลายๆด้าน ทั้งทักษะการกิน การพูด รวมถึงควมมั่นใจของหนูน้อย ฉะนั้นความเข้าใจที่ว่าถ้าฟันน้ำนมผุแล้วไม่จำเป็นต้องดูแลจึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเมื่อฟันผุรุนแรงจนถึงรากฟัน จะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณโพรงไซนัส จนเสี่ยงที่ลูกน้อยจะตาบอดได้
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ไม่อยากให้ “ลูกฟันผุ ต้องแปรงฟัน” และดูแลให้ถูกต้อง
ลูกฟันผุ ทำยังไงดี ปัญหาสุขภาพฟันลูกที่แม่กลุ้มใจ
เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น
ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaich8.com https://www.facebook.com/tnamcot/สำนักข่าวไทยอสมท.
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่