เด็กเล็กติดโควิด ดับรายวัน! มีโรคร่วม แนะรีบหาหมอ - Amarin Baby & Kids
เด็กเล็กติดโควิด

เด็กเล็กติดโควิด ดับรายวัน! มีโรคร่วม แนะรีบหาหมอ

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กเล็กติดโควิด
เด็กเล็กติดโควิด

เด็กเล็กติดโควิด ดับรายวัน! มีโรคร่วม แนะรีบหาหมอ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอนยังคงรุนแรง คนไทยติดง่าย ติดเร็ว ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก บางคนถึงขั้นติดเชื้อซ้ำ 2 ครั้ง แถมเด็ก ๆ ยังติดเชื้อจำนวนมากขึ้นและล่าสุดกรมควบคุมโรคแจ้งว่า เด็กเล็กติดโควิด อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิตจากโควิดเกือบทุกวันค่ะ อาการเมื่อลูกติดโควิด จะเป็นอย่างไรบ้าง หากคุณพ่อคุณแม่ติดพร้อมกับลูก ต้องทำอย่างไร ดูแลกันอย่างไร ทีมแม่ ABK รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ

สถานการณ์เด็กติดเชื้อโควิดที่ผ่านมา

นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ในภาพรวมเด็กติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 30 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ส่วนใหญ่ที่อาการจะรุนแรงจะเป็นผู้ป่วยในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคสมอง อัตรานอนโรงพยาบาล อยู่ที่ร้อยละ 15-17 ส่วนเด็กอีกร้อยละ 50 เด็กไม่มีอาการ

สถานการณ์ล่าสุดของเด็กติดเชื้อ

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565 มีรายงานว่า เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่สามารถรับวัคซีนโควิด-19 เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เกือบทุกวัน โดยวันที่ 19 มี.ค. เป็นเด็กอายุ 2 ขวบ วันที่ 20 มี.ค. อายุ 1 ขวบ วันที่ 22 มี.ค.อายุ 3 ขวบ วันที่ 23 มี.ค. อายุ 2 เดือน วันที่ 24 มี.ค. อายุ 1 เดือน วันที่ 25 มี.ค. อายุ 11 เดือน วันที่ 28 มี.ค. อายุ 9 เดือน โดยติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ทั้งจากในครอบครัวและชุมชน เมื่อผู้ใหญ่ติดเชื้อเยอะจึงมีโอกาสมาติดเชื้อในเด็กได้ ซึ่งเด็กที่เสียชีวิตเป็นกลุ่มที่มีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิต้านทานที่ไม่ค่อยดี เช่น เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด มีโรคประจำตัว หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ปัจจัยสำคัญคือเมื่อเข้าถึงการรักษาล่าช้าก็อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

การป้องกันเด็กเล็กจากโควิด

เนื่องจากขณะนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ก็ยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีลงไป ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้เด็กเล็กเหล่านี้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งความเสี่ยงในการติดเชื้อของเด็กเล็กยังมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวเป็นหลักที่นำเชื้อมาสู่เด็ก เพราะบางครั้งผู้ใหญ่ก็ติดเชื้อไม่มีอาการ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าติดและนำเชื้อมาสู่เด็ก ทำให้เด็กไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง

การจะลดการเสียชีวิตในเด็กเล็ก ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองประเมินดูว่า ลูกมีภาวะเสี่ยงหรือไม่ หากลูกมีภาวะโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ถือว่ามีความเสี่ยงมาก ให้สังเกตว่ามีอาการไข้สูง ไอ เหนื่อยหอบ อาเจียนหรือไม่ หากมีอาการระบบทางเดินหายใจให้รับพาไปพบแพทย์เพื่อรักษา เพราะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการรุนแรงได้
เด็กเล็กติดโควิด
เด็กเล็กติดโควิด แนะรีบหาหมอ

อาการของผู้ป่วยโควิดเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้!!

กลุ่มเด็กเล็กได้รับเชื้อโควิด-19 มาจากคนในครอบครัว อาการที่พบมีตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงมีอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบซึ่งจะพบในเด็กทารก และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เป็นส่วนมาก จึงแนะนำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องคอยสังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ซึ่งระดับอาการของเด็กแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 อาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านต่อไปได้ ซึ่งเด็กจะมีอาการป่วย ดังนี้

  • มีไข้ต่ำ
  • มีน้ำมูก
  • อาการไอเล็กน้อย
  • ไม่มีอาการหอบเหนื่อย
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่ซึม ยังคงรับประทานนม หรืออาหารได้

โดยกลุ่มนี้ยังสามารถรับการรักษาแบบ Home Isolation (HI) ได้ แต่ต้องมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่สามารถดูและประเมินอาการให้เด็กได้ตลอดเวลา โดยใช้อุปกรณ์เพื่อติดตามอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโออาการของเด็กได้ โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับสถานพยาบาลหากมีเหตุจำเป็น และยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ยาลดไข้ เช่นพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก และเกลือแร่

แบบที่ 2 อาการที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ซึ่งเด็กจะมีอาการป่วย ดังนี้

  • มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจ สังเกตว่าเด็กเวลาหายใจหน้าอกบุ๋ม ชายโครงบุ๋ม หรือปีกจมูกบาน
  • ริมฝีปาก เล็บ ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94%
  • ซึมลง ไม่รับประทานนม หรืออาหาร เพลีย ไม่มีแรง

เด็กเล็กติดโควิด พร้อมพ่อและแม่ ทำยังไง

ถ้ามีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือเด็กในบ้านติดเชื้อโควิด19 แบ่งได้เป็นหลายกรณี

กรณีที่ 1 ลูกติดเชื้อและคุณพ่อคุณแม่ติดเชื้อ สามารถเข้ารับการรักษาโดยเน้นจัดอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกลูกออกจากคุณแม่

กรณีที่ 2 ลูกติดเชื้อ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยลูกจะต้องถูกส่งตัวไปรักษาและกักตัวที่โรงพยาบาลหรือ Hospitel อย่างน้อย 14 วัน ซึ่งการกักตัวสำหรับเด็กมีความซับซ้อนกว่าเคสของผู้ใหญ่ในเรื่องของจิตใจ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องแยกห่างจากคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง คุณหมอแนะนำว่า เมื่อลูกต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลควรมีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องมีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง อายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว

กรณีที่ 3 ลูกไม่ติดเชื้อ แต่คุณพ่อคุณแม่ติดเชื้อ ควรให้ญาติที่ไม่ติดเชื้อเป็นผู้ดูแลลูก หากไม่มีผู้ดูแลควรส่งลูกไปยังสถานสงเคราะห์ หรือบ้านพักในสังกัดกระทรวงเป็นการชั่วคราว

กรณีที่ 4 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในเนิร์สเซอรี่ พิจารณาใช้พื้นที่เนิร์สเซอรี่เป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสม

แม้โดยทั่วไปแล้วเด็กจะมีอาการไม่หนักมาก แต่ก็มีเด็กเล็กกลุ่มเสี่ยงที่หากติดโควิดแล้วอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ขอให้คุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังตัวเองให้ดี รวมทั้งระวังลูกน้อยด้วยนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

ข่าวสด , โรงพยาบาลวิชัยเวช ,ไทยรัฐ ออนไลน์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เมื่อคุณและลูก ติดโควิด ทำยังไง ? เปิดขั้นตอนการรักษาที่นี่

เตือนพ่อแม่!!สังเกต อาการโควิดในเด็ก ย้ำดูแลใกล้ชิด

ระวัง ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก หวั่นระบาดซ้อนโควิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up