ไข้มาลาเรีย
ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่า เป็นโรคที่มีมานานแล้วในประเทศไทย บางคนอาจจะคุ้นหู ในอีกชื่อหนึ่งคือ โรคไข้จับสั่น เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเป็นไข้สูง และหนาวสั่น หรืออาจมีอาการอาเจียน ปวดศีรษะร่วมด้วย ไข้มาลาเรียแพร่สู่ร่างกายคนได้โดยมีพาหะตัวสำคัญ คือ ยุงก้นปล่องเพศเมีย โดยมักพบโรคนี้ในเขตที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น และมีแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติมาก
สาเหตุของมาลาเรีย มาลาเรียเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่เรียกว่า พลาสโมเดียม มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ โดยเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคนมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่
1.พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม 2. พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ 3. พลาสโมเดียม มาลาริอี่
4. พลาสโมเดียม โอวาเล่ 5. พลาสโมเดียม โนว์ไซ
แต่เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย คือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม และรองลงมา คือ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์
อาการของไข้มาลาเรีย
หากได้รับเชื้อมาลาเรีย จากการถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัด ประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มมีอาการป่วย 2-3 วันแรกอาจมีอาการปวดศีรษะ หรือปวดเมื่อยตัว ต่อมาจึงมีอาการ ไข้จับสั่น ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของไข้มาลาเรีย
ซึ่งภาวะการจับไข้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะหนาว จะเริ่มด้วยการมีไข้ขึ้น และเกิดอาการสั่น ผิวหนังเริ่มซีด
- ระยะร้อน จะมีไข้ขึ้นสูง ผู้ป่วยจะรู้สึกร้อน ปวดศีรษะมาก กระสับกระส่าย เพ้อ ผิวหนังแห้ง แดง ร้อนผ่าว กระหายน้ำ ถ้าเป็นเด็กอาจจะชัก
- ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะเริ่มเหงื่อออก และไข้ค่อยๆ ลดลงจนรู้สึกอ่อนเพลีย และหลับไป
มาลาเรียมีการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร?
การติดเชื้อมาลาเรียเริ่มต้นจากยุงที่เป็นพาหะดูดเลือดและปล่อยเชื้อที่อยู่ในน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดคน โดยประมาณ 30 นาที เชื้อจะเข้าสู่ตับและแบ่งตัวเพิ่มจำนวน หลังจากนั้น เชื้อจะกลับเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อแบ่งตัวเพิ่มจำนวน จนกระทั่งเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก เชื้อจะเข้าไปอาศัยและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ต่อไป โดยเชื้อแต่ละชนิดจะใช้เวลาในการแบ่งตัวและทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกแตกต่างกันไป
แม่ท้องป่วยไข้มาลาเรีย อันตรายถึงชีวิตจริงหรือ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่