แม่ท้องป่วยไข้มาลาเรีย อันตรายถึงชีวิตจริงหรือ?
ผู้ป่วยไข้มาลาเรียมีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะแม่ท้องที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงกับลูกในครรภ์ ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อน กับผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์
- ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- เสี่ยงภาวะคลอดก่อนกำหนด
- ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
- ทารกอาจะเสียชีวิตระหว่างการคลอด
- เสี่ยงภาวะแท้งบุตรสูง
- ขั้นร้ายแรง อาจทำให้ผู้ป่วยตั้งครรภ์เสียชีวิตด้วย
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของไข้มาลาเรีย
- มาลาเรียขึ้นสมอง ทำให้หลอดเลือดในสมองบวม สร้างความเสียหายให้สมองได้อย่างถาวร
- ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ และอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
- ปอดบวมน้ำ เกิดการสะสมของเหลวในปอด ทำให้มีปัญหาในการหายใจ
- เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- อวัยวะภายในเกิดการล้มเหลว เช่น ตับ ไต หรือม้าม
- ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
- อาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่ค่อนข้างน่ากลัวมากๆค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนกำลังจะมีบุตร ควรดูแลสุขภาพร่างกาย และป้องกันตัวเองอย่างดีที่สุด รวมถึงอย่าลืมหมั่นตรวจสุขภาพด้วยนะคะ จะได้ทำการป้องกัน และรักษาได้ทัน ซึ่งการรักษาไข้มาลาเรียมีวิธีดังนี้
การรักษามาลาเรีย
มาลาเรียรักษาได้ หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที แพทย์จะรักษาด้วยการดูแลประคับประคองอาการ รวมทั้งบำบัดรักษาภาวะแทรกซ้อน และให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย ซึ่งการเลือกชนิดของยาหรือรูปแบบการให้ยาจะประกอบไปด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ชนิดของโปรโตซัว ความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วย การตั้งครรภ์ รวมไปถึงการดื้อยา
ยาต้าน ไข้มาลาเรีย ที่นำมาใช้บ่อย
- ยาคลอโรควิน (Chloroquine)
- ยาดอกซีไซคลิน(Doxycycline)
- ยาควินิน ซัลเฟต (Quinine Sulfate)
- ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine)
- ยาเมโฟลควิน (Mefloquine)
- ยาไพรมาควิน (Primaquine)
- การใช้ร่วมกันระหว่างยา Proguanil และ Atovaquone
- การใช้ร่วมกันระหว่างยา Artemether และ Lumefantrine
ไข้มาลาเรีย ป้องกันได้อย่างไร?
ผู้ที่อยู่อาศัยหรือจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่ ที่มีการระบาด ควรป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดได้ดังนี้
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อน และปกปิดร่างกายได้อย่างมิดชิด ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
- ใช้ยาที่มีสารไล่แมลง ทาผิวหนัง
- ควรนอนในมุ้ง หรือบริเวณที่ปลอดจากยุง อาจใช้มุ้งชุบยาไล่ยุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุง
- หากสงสัย หรือต้องการตรวจสอบ ว่าพื้นที่ที่จำเป็นต้องไป เสี่ยงต่อการระบาดของไข้มาลาเรียหรือไม่ ควรตรวจสอบหรือหาข้อมูลเพิ่มเติม จากกรมควบคุมโรคเสียก่อน เพื่อจะได้เตรียมตัวป้องกันได้
ในปัจจุบันในวงการแพทย์และทีมนักวิจัยด้านมาลาเรีย ไม่ได้หยุดค้นคว้า และยังคงมีความพยายามในการคิดค้นสูตรยาใหม่ในการกำจัดมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยา ซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ด้วย แม้ว่าจะต้องใช้เวลา แต่ก็ถือว่าตอนนี้มีแนวโน้มที่ดีค่ะ แต่จะดีที่สุดก็คือการที่ทุกคนรู้จักป้องกันตัวเอง จากวิธีต่างๆที่ได้แนะนำไป รวมถึงดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิดด้วย จะได้ไม่เจ็บไม่ป่วยกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก pobpad
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
10 ข้อห้ามคนท้อง ที่ต้องระวังขณะตั้งครรภ์
แพทย์เตือนพ่อแม่เฝ้าระวัง! 7 โรคระบาดปี 2561
สะระแหน่ ไล่แมลง หนู แมงมุมได้ เคล็ดลับ ที่คุณแม่ๆต้องรู้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่