ไวรัสมาร์บวร์ก มาแล้ว ตระกูลเดียวกับอีโบลาน่ากลัวแค่ไหน?
ทางการ “กานา” ยืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อ ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg) จำนวน 2 รายในประเทศ ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงตระกูลเดียวกับ “อีโบลา“ โดยผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้เสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาล ทางภาคใต้ของประเทศ หลังจากที่ผลการตรวจไวรัสมาร์บวร์กออกมาเป็นบวก โดยสาธารณสุขกานาเผยว่า ขณะนี้มีผู้ต้องสงสัยเสี่ยงติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เกือบ 100 ราย และอยู่ระหว่างกักตัวสังเกตอาการ แม้จะยังไม่ระบาดในประเทศไทย แต่การท่องเที่ยวไทยรับชาวต่างชาติจากทวีปแอฟริกาเป็นจำนวนมาก จึงต้องระวังให้ดี เพราะการเข้ามาของโรค ฝีดาษลิง ก็เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันนี้ค่ะ
สถานการณ์ทั่วโลก และในประเทศไทยของ ไวรัสมาร์บวร์ก
ไวรัสตัวนี้พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พ.ศ. 2547
โรคนี้ เป็นกลุ่มโรคที่เป็นไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่ง อัตราการแพร่ระบาดสูง และเร็ว และอัตราค่อนข้างสูง (50-90%) สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้ และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง แต่อาจเกิดความเสี่ยงได้จากการท่องเที่ยว เพราะเชื้ออาจมาจากพื้นที่ระบาดของโรค แล้วคนจากประเทศนั้นเข้ามาในประเทศ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับบางกลุ่ม
อาการของโรค
เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงที่มีอัตราป่วยตายสูงถึง 80% ไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่รุนแรง หรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมลง โรคนี้มีระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 2 – 21 วัน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
อาจใช้วิธี RT-PCR หรือการตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจากอวัยวะ
การวินิจฉัย มักจะเป็นการตรวจผสมผสาน ระหว่างการตรวจหาแอนติเจน หรือ RNA ร่วมกับหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG (การตรวจพบแอนติบอดี IgM แสดงให้เห็นว่า เพิ่งพบการติดเชื้อไม่นานมานี้) การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ หรือการเลี้ยงในหนูตะเภา ต้องทำให้ในห้องทดลองที่มีการป้องกันอันตรายระดับสูงสุด (BSL-4)
การตรวจด้วยวิธี ELISA จะใช้เพื่อตรวจหาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgG ในนํ้าเหลือง (serum) ของผู้ป่วย บางครั้งอาจตรวจพบเชื้อได้จาก การส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ในชื้นเนื้อจากตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่น ๆ การชันสูตรศพโดยการตรวจชื้นเนื้อ (Formalin-fi xed skin biopsy) หรือการผ่าศพพิสูจน์ด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ และเนื้อเยื่อ สามารถทำได้
การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี IFA เพื่อหาแอนติบอดี มักทำให้แปลผลผิดพลาด โดยเฉพาะในการตรวจนํ้าเหลืองเพื่อดูการติดเชื้อในอดีต เนื่องจากโรคนี้มีอันตรายต่อมนุษย์สูงมาก ดังนั้นการตรวจ และศึกษาทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ ทำได้เฉพาะในระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งชุมชนในระดับสูงสุด (BSL ระดับ 4)
ส่วนการรักษานั้น ไม่มีการรักษาเฉพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรง ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ
การแพร่ระบาด
การติดเชื้อไวรัสอีโบลาของคน เกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังนี้
ในทวีปแอฟริกา เกิดขณะจัดการ หรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ตายในป่า ที่มีฝนตกชุก
สำหรับไวรัสอีโบลา สายพันธุ์เรสตัน จะพบการติดต่อสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด หรือเครื่องในของลิง cynomolgus ที่ติดเชื้อ และยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อ ผ่านทางละอองฝอย ที่ลอยในอากาศ
การติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้การติดเชื้อในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อย ผ่านทางเข็ม และหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ
มาตรการป้องกันโรค
- ยังไม่มีวัคซีน หรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง สำหรับทั้งไวรัสอีโบลา หรือมาร์บวร์ก
- ควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิ
9. มาตรการควบคุมการระบาด
แยกผู้ป่วยสงสัยจากผู้ป่วยอื่น ๆ และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิด ใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาลอย่างเข้มงวด รวมถึงดำเนินการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก แห่งประเทศไทย , กรุงเทพธุรกิจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทวามดี ๆ คลิก