สำลักขี้เทา (meconium) ลูกน้อยเสี่ยงเสียชีวิตหลังคลอด - amarinbabyandkids
สำลักขี้เทา

สำลักขี้เทา (meconium) ลูกน้อยเสี่ยงเสียชีวิต

Alternative Textaccount_circle
event
สำลักขี้เทา
สำลักขี้เทา

การสูด สำลักขี้เทา (meconium) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด จากการสูดสำลักขี้เทาของตนเองเข้าไปตอนอยู่ในท้องแม่ ปกติเด็กจะถ่ายขี้เทาประมาณ 18-24 ชั่วโมงหลังคลอด ขี้เทาคืออุจจาระของเด็กแรกเกิด ปกติเด็กจะสร้างเองได้เมื่ออยู่ในท้องแม่ ตั้งแต่ช่วง 2-3 เดือนของการตั้งครรภ์

การสำลักขี้เทาเด็กจะเริ่มสร้างขี้เทาออกมาในลำไส้ใหญ่อยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่มีภาวะบางอย่างที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ขี้เทาจะมีลักษณะ มัน เหนียว เขียวจนเกือบดำ มีตั้งแต่ไขของตัวเด็กเอง หรือขนอ่อนๆ ของเด็ก น้ำคร่ำ ปนอยู่ด้วยกัน ถ้าอยู่ในท้องแม่แล้วไม่มีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ไม่มีการถ่ายออกขณะอยู่ในครรภ์ แต่ถ้ามีปัญหาอาจทำให้ถ่ายออกมาปนอยู่ในน้ำคร่ำ ซึ่งพบได้ 12% – 13% จากสถิติในต่างประเทศ อาจทำให้สูดสำลักขี้เทาเข้าไป

 

ทำไมถึงสำลักขี้เทา?

การที่ทารกถ่ายขี้เทาออกมาก่อนกำหนด ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดที่ไปเลี้ยงทารก อาจเกิดจากโรคประจำตัวของคุณแม่ หรือทารกเอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกผ่านสายสะดือได้น้อยลง กระตุ้นให้เด็กถ่ายขี้เทาออกมา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ลูกสำลักขี้เทา ได้แก่ แม่เป็นเบาหวาน โรคหัวใจ น้ำคร่ำน้อย คลอดเกินกำหนด ผ่าคลอด

สําลักขี้เทา สาเหตุ

อันตรายจากการสำลักขี้เทา

การสำลักขี้เทาพบได้ในเด็กใกล้คลอด หรือเกินกำหนด เมื่อเด็กมีอายุครรภ์มาก สภาพเลือด หลอดเลือดที่ไปเลี้ยง และรกของแม่จะเสื่อมสภาพ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หายใจเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก มีลักษณะเหมือนปอดอักเสบ เพราะขี้เทาเหนียวมาก มีโอกาสอุดตันทางเดินหายใจ เมื่อเข้าไปแล้วจะออกไม่ได้ ทำให้ปอดโป่งพองออก และมีการอักเสบของเนื้อเยื่อ อาจทำให้ขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสี่ยงให้เสียชีวิต

อ่านต่อ “การรักษาและการป้องกันการสำลักขี้เทา” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up