วิธีทำความสะอาดเขียง ให้ลูกห่างไกลจาก "เชื้อรา" - amarinbabyandkids
วิธีทำความสะอาดเขียง

วิธีทำความสะอาดเขียง ให้ลูกห่างไกลจาก “เชื้อรา”

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีทำความสะอาดเขียง
วิธีทำความสะอาดเขียง

ไม่อยากให้ลูกเป็นโรคเชื้อรา อย่ามองข้าม “เขียง” พบ วิธีทำความสะอาดเขียง ให้สะอาดปลดเปลื้องสิ่งที่มองไม่เห็น

 

เพราะ “เชื้อรา” คือบ่อเกิดของโรคนา ๆ ชนิด ที่มีขนาดเล็กจนหลาย ๆ ครั้งเราก็ไม่ได้สังเกต หรืออาจจะมองไม่เห็น จริงอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจคิดว่า ไม่จริงหรอก ถ้ามันขึ้นที่อาหารอย่างไรแล้วเราก็มองเห็น … แต่ถ้าหากมันไม่ได้ขึ้นที่อาหาร หากแต่เป็น “เขียง” ที่พวกเราใช้ทำอาหารให้ลูกและสมาชิกทุกคนในครอบครัวกินกันทุกวันละคะจะทำอย่างไร?

ด้วยตระหนักถึงสุขภาพของทุก ๆ คน ทีมงาน Amarin Baby and Kids จะขอนำเสนอ วิธีการทำความสะอาดเขียง ที่ถูกวิธีให้ห่างไกลจากเชื้อรามาฝากกันค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันนั้น เรามาทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อรากันก่อนดีกว่านะคะว่า เชื้อราคืออะไรกันแน่ และถ้าหากเราได้รับการสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณที่มากขึ้น ร่างกายของลูกและของพวกเราทุกคนจะมีผลกระทบอย่างไรกันได้บ้าง พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

วิธีทำความสะอาดเขียง
เครดิตซ Stern Mold

เชื้อรา คืออะไร?

เชื้อราคือสิ่งที่เรามักจะพบในสภาพแวดล้อมที่มืดและชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝน ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราได้มากที่สุด เชื้อรานั้นจะพัฒนาเป็นเส้นใยเล็ก ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าค่ะ

จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย?

อันตรายของเชื้อรานั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ‘ชนิดของรา‘ ค่ะ ว่าเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดโรคหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เชื้อราเหล่านี้จะก่อให้เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งทางระบบหายใจหรือผิวหนังเฉพาะกับคนที่แพ้เท่านั้น อาการที่พบโดยทั่วไปนั้น ได้แก่ น้ำมูกไหล หายใจไม่ออก น้ำตาไหล มีผื่น ผิวหนังอักเสบ จมูกอักเสบ เป็นต้น

ส่วนอาการเจ็บป่วยจากเชื้อราก็มีด้วยกันหลากหลายอาการ เช่น

  1. อาการปวดหัว ศีรษะวิงเวียน คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง และท้องเสีย
  2. ช็อค มึนงง รู้สึกชา สมองตื้อ มีปัญหาเรื่องการโฟกัสและความจำ
  3. ปัสสาวะบ่อยขึ้น กระหายน้ำตลอดเวลา
  4. อ่อนเพลียเมื่อยล้าและหลังออกกำลังกายจะมีอาการป่วยไข้
  5. มีกลิ่นโลหะในช่องปาก
  6. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว ปวดข้อโดยที่ข้อไม่ได้อักเสบ ปวดเส้นประสาทเป็นประจำและรุนแรงขึ้น
  7. น้ำหนักเพิ่มเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่พยายามคุมน้ำหนักอยู่เสมอ
  8. ตาแดง และ ตาพร่ามัวเมื่อเจอแสง
  9. สั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน และปัญหาการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  10. ไอ หายใจช้าลง ปัญหาไซนัส อาการของโรคหอบหืด และหายใจถี่

อ่านต่อวิธีทำความสะอาดเขียง ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>


เครดิต: สุขภาพน่ารู้

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up