โอมิครอนสายพันธุ์ XE ไทยเจอแล้ว! แพร่ง่าย-เร็วกว่า43% - Amarin Baby & Kids
โอมิครอนสายพันธุ์ XE

โอมิครอนสายพันธุ์ XE ไทยเจอแล้ว! แพร่ง่าย-เร็วกว่า43%

Alternative Textaccount_circle
event
โอมิครอนสายพันธุ์ XE
โอมิครอนสายพันธุ์ XE

 โอมิครอนสายพันธุ์ XE ไทยเจอแล้ว! แพร่ง่าย-เร็วกว่า43%

โควิดสายพันธุ์ล่าสุดคือโอมิครอน ได้พัฒนาสายพันธุ์ย่อยเพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ B.1.1.529,BA.1, BA.2 และล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับ โอมิครอนสายพันธุ์ XE ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ สายพันธุ์ XE เป็นอย่างไร กองบรรณาธิการ ABK นำข้อมูลมาฝากค่ะ

โอมิครอนสายพันธุ์ XE คืออะไร

XE เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 X BA.2 ซึ่งไม่ใช่ “เดลตาครอน” ซึ่งเป็นสายพันธู์ลูกผสมระหว่าง “เดลตา X โอมิครอน”
ทั้งนี้ WHO ยังไม่ตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการจนกว่า “XE” จะแสดงอาการทางคลินิกที่รุนแรงแตกต่างไปจากสายพันธุ์ุอื่นอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน” หรือ “XD” นั้น WHO แจ้งว่าไม่พบการระบาดที่รวดเร็ว และอาการที่รุนแรง

พบสายพันธุ์ XE ครั้งแรกที่อังกฤษ

โอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 โดยมีการถอดรหัสพันุกรรมทั้งจีโนมและอัปโหลดขึ้นไปแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิด-19 โลกแล้ว มากกว่า 600 ตัวอย่าง
โอมิครอนสายพันธุ์ XE
โอมิครอนสายพันธุ์ XE แพร่ง่าย-เร็วกว่า สายพันธุ์เดิม 43%

สายพันธุ์ XE แพร่เชื้อได้เร็วกว่าถึง 43%

WHO ประเมินว่าสายพันธุ์ลูกผสม “XE” มีอัตราการแพร่ระบาด (growth advantage) เหนือกว่า BA.2 ถึง 10% อย่างไรก็ตามยังต้องรอข้อมูลจากทั่วโลก ที่ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกระยะหนึ่งเพื่อการยืนยัน
ตามรายงานของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UK Health Services Agency) หรือ “UKHSA” ยืนยันเช่นเดียวกันว่า สายพันธุ์ลูกผสม “XE” สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า “BA.2” ประมาณ 10% และแพร่ได้รวดเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1.1.529) ถึง 43%

พบผู้ป่วยสายพันธุ์ XE รายแรกในไทยแล้ว

ล่าสุดศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม “XE” จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และได้ติดตามกับแพทย์ผู้รักษาจึงได้ทราบว่าเป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่ม “สีเขียว” มีอาการเล็กน้อย ปัจจุบันหายดีแล้ว มีการสุ่มตรวจ ATK คนรอบข้างไม่พบใครติดเชื้อ
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยอีก 1 ราย ที่พบเชื้อ และเมื่อเข้ารับการตรวจกรองการกลายพันธุ์ 40 ตำแหน่งด้วยเทคโนโลยี “Massarray Genotyping” ซึ่งรวดเร็วและประหยัดกว่าการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม ก็พบว่าคนนั้น ติดโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน (เดลตา X โอมิครอน)” ทั้งนี้ ยังต้องยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้ง

การจัดหมวดหมู่ลูกผสมของโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ

เป็นการจัดหมวดหมู่ลูกผสมโดย Phylogenetic Assignment of Named Global Outbreak Lineages (PANGOLIN) มีดังนี้
หมวด 1 สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “Delta x BA.1” ประกอบด้วยสมาชิก 2 สายพันธุ์
1. XD– เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่าง Delta x BA.1 lineage พบในฝรั่งเศส ประกอบด้วยยีน S ที่สร้างหนามแหลม ส่วนอื่นเป็นจีโนมจากเดลตา
2. XF– จีโนมมีส่วนผสมระหว่าง ยีน S และยีนที่สร้างโปรตีนสำคัญของอนุภาคไวรัส มาจาก BA.1 กับส่วน 5’ จากจีโนมของเดลตา
หมวด 2 สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง BA.1XBA.2 ประกอบด้วยสมาชิก 6 สายพันธุ์
3. XE– พบในอังกฤษ จีโนมมีส่วนผสมระหว่าง ยีน S และยีนที่สร้างโปรตีนสำคัญของอนุภาคไวรัส มาจาก BA.2 กับส่วน 5’ จากจีโนมของ BA.1 แสดงอัตรา
การแพร่ระบาด (growth advantage) เหนือ BA.2  ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีถอดรหัสพันธุกรรมพบแล้ว 1 ราย
4. XG– พบในเดนมาร์ก
5. XH– พบในเดนมาร์ก
6. XJ– พบในฟินแลนด์
7. XK– พบในเบลเยียม มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” เกือบ 100 ตำแหน่ง มากกว่าทุกสายพันธุ์ ยังไม่พบในประเทศไทย
8. XL– พบในอังกฤษ
ขอบคุณข้อมูลจาก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

CDC ชี้ ไฟเซอร์เด็ก ลดเสี่ยงโอมิครอน พร้อมจุดฉีดล่าสุด!

เช็กเลย! อาการ โอมิครอน ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ต่างกันอย่างไร

เด็กเล็กติดโควิด ดับรายวัน! มีโรคร่วม แนะรีบหาหมอ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up