สสส. แนะวิธี ป้องกันลูกจากโควิด กับ 4 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง! - Amarin Baby & Kids
ป้องกันลูกจากโควิด

สสส. แนะวิธี ป้องกันลูกจากโควิด กับ 4 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง!

event
ป้องกันลูกจากโควิด
ป้องกันลูกจากโควิด

ไทม์ไลน์บอกทุกอย่าง!  เผยตัวการ “ทำลูกเสี่ยงตาย” จากข่าวเด็กไทยติดโควิด-19 สูงขึ้น แม้ “ทารก” ก็ไม่เว้น! อะไรคือสาเหตุ และจะ ป้องกันลูกจากโควิด ได้ยังไงคลิกอ่านเลย!

เด็กติดโควิด เพราะ “พ่อแม่” คือ คนพาเชื้อ จริงหรือ?

จากสถานการณ์ โควิดระลอกใหม่ newly emerging ของประเทศไทย ที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นอีกครั้งโดยจุดเสี่ยงสูงของการติดเชื้อโควิด-19 ในครั้งนี้เกิดขึ้นใน “จ. สมุทรสาคร” ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ และผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประกาศ “ล็อกดาวน์” จังหวัด ตั้งแต่คืนวันที่ 19 ธ.ค. 63 ซึ่งเมื่อดูลักษณะการระบาด พบว่าเกิดจากการติดเชื้อใหม่จากอีกกลุ่มก้อนหนึ่งซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าว ไม่ได้เชื่อมโยงกับการระบาดในระลอกแรกอย่างตอนสนามมวยหรือผับที่ทองหล่อ

Must read >> เด็กติดโควิด ระวังเชื้อจากพ่อแม่ แพร่ Covid-19 สู่ลูก

Must read >> เด็กติดโควิด-19 เพิ่ม เตือนพ่อแม่ระวัง อย่าพาเชื้อเข้าบ้าน

ทั้งนี้จากการแพร่ระบาดของ โควิดระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2564 มีผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อ สะสม แล้ว 11,450 คน และเสียชีวิต 69 คน >> ซึ่งก็มีผู้ป่วยทั้งชาย-หญิง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่วัยทำงาน ผู้สูงอายุ และ ทารก โดยจะเห็นได้ว่า จากข่าวมีผู้ป่วยส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ที่ไปในสถานที่เสี่ยง เช่นเดียวกับการระบาดครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างไปตรงที่เริ่มมีเด็กเล็กป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น อาทิ จากข่าว โดยมีการระบุไทม์ไลน์ ไว้ดังนี้..

  • เด็ก 1 ขวบ 10 เดือน จ. นครนายก ติดเชื้อจากผู้เป็นพ่อ พ่อค้าขายอาหารทะเลผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันก่อนหน้า

 

  • เด็ก 1 ขวบ 3 เดือน ป่วยโควิด-19 ใน อ.สองพี่น้อง เปิดไทม์ไลน์คาดติดจากย่า

 

  • เป็นเด็กหญิงอายุ 4 ปี อ.บางกรวย พบประวัติเป็นลูกสาวของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 255 (แม่) และ 256 (พ่อ)

ป้องกันลูกจากโควิด

 

  • เด็กหญิงอายุ 8 ปี ชาวอำเกอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี มีประวัติติดตามบิดา-มารดา ไปบ่อนไก่ จ.อ่างทอง

 

  • ด.ญ.วัย 7 เดือน ติดเชื้อโควิด-19 เป็นรายที่ 3 ของ จ.สุพรรณบุรี พบมีประวัติแม่พาไปธนาคาร-ตลาดนัด

ป้องกันลูกจากโควิด

 

จะเห็นได้ว่า จากข่าวสรุปไทม์ไลน์ในเคสเด็กติดโควิด ทั้ง 6 คน ไม่ว่าจะเป็นทารก เด็กเล็ก เด็กโต ที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่เด็กอาศัยอยู่ที่บ้านไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นพื้นที่เสี่ยง รวมไปถึงเด็กมักคลุกคลีอยู่กับพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ที่เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะไปทำงาน หรือไปทำธุระ จับจ่ายใช้สอยของจำเป็นเข้าบ้านก็ตาม ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้จะ ป้องกันลูกจากโควิด โดยใส่หน้ากาก หรือพกแอลกอฮอล์ล้างมือ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่พาเชื้อมาติดลูกหลาน

ทั้งนี้เพราะด้วยร้อยละ 70 ของผู้ที่เข้ารับการตรวจหาเชื้อปอดอักเสบโคโรนา 2019 ได้ผลเป็นบวก แต่ไม่แสดงอาการป่วยออกมา เมื่อติดเชื้อแล้วสามารถส่งเชื้อแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้อย่างไม่รู้ตัว จึงทำให้การแพร่ระบาดของ โควิดระลอกใหม่ เข้าถึงเด็กๆ ได้ง่าย เพราะพ่อแม่ชะล่าใจนั่นเอง

Must read >>โควิดรอบใหม่ ไร้อาการ ปอดอักเสบ หมอย้ำ “ติดง่ายเป็นหนัก” วัยทำงานต้องระวัง

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาเหตุของการที่โควิดระลอกใหม่ ระบาดในครั้งนี้ มีข่าวเด็กติดเชื้อเยอะเพิ่มมากขึ้น ต้นเหตุ ก็คือ พ่อแม่ และคนใกล้ชิดเด็กๆ นั่นเอง … อย่างไรก็ตามเมื่อรู้สาเหตุแล้ว หากต้องการ ป้องกันลูกจากโควิด และบ้านปลอดเชื้อโควิด-19 ก็ต้องเริ่มต้นที่ พ่อแม่ มาร่วมมือกันดูแลตัวเองเพื่อคนที่คุณรัก ป้องกันลูกจากโควิด– 19 พร้อมระวังตัวให้มากขึ้นกันนะคะ

ป้องกันลูกจากโควิด

ป้องกันลูกจากโควิด 4 ข้อพ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง

ซึ่งทีมแม่ ABK มีคำแนะนำดีๆ  จากเพจ Social Marketing Thaihealth by สสส. กับเรื่องที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง (นอกเหนือจากเรื่องการดูแลป้องกันขั้นพื้นฐาน) ถ้าไม่อยากให้ลูกติดโควิด 4 ข้อสำคัญดังนี้

1. ระวัง! กลับถึงบ้าน อย่าเพิ่งรีบกอดลูก >> อาบน้ำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน <<

เวลาคุณพ่อคุณแม่ออกไปทำงาน มีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคต่าง ๆ อาจติดมาตามเสื้อผ้า และร่างกาย ดังนั้นเมื่อกลับถึงบ้านคุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปล้างมือ ล้างหน้า เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือทางที่ดีควรอาบน้ำก่อนไปสัมผัสใกล้ชิดลูก เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคไปติดลูก

2. ระวัง! ไม่เป่าอาหารให้ลูก >> เชื้อโควิดอาจปะปนอยู่ในน้ำลาย ควรรอให้อาหารเย็นลงเอง <<

เนื่องจากเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย ดังนั้นเวลาที่พ่อแม่เป่าอาหารให้ลูก จึงมีความเสี่ยงที่เชื้อโรคต่าง ๆ จะปนเปื้อนในอาหารของลูก ทางที่ดีควรรอให้อาหารร้อนน้อยลง ก่อนที่จะป้อนให้ลูกกิน

3. ระวัง! ไม่ใช้ช้อนส้อมร่วมกัน >> ใช้ช้อนกลางเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ <<

เวลากินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นช่วงเวลาสุขสันต์ของครอบครัว บางครั้งคุณพ่อ คุณแม่อาจเผลอใช้ช้อนส้อมตักอาหารให้กัน ซึ่งการทำเช่นนี้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ให้กัน ดังนั้นควรใช้ช้อนกลาง นอกจากเพื่อสุขอนามัย ยังเป็นการสอนนิสัยที่ดีให้แก่ลูกอีกด้วย

4. ระวัง! ของเล่นลูก แหล่งหลบซ่อนของเชื้อโรค >> หมั่นทำความสะอาดออยู่เสมอ <<

เด็ก ๆ มักไม่ค่อยระวังตัวเอง หยิบจับสิ่งต่าง ๆ มาเล่นแล้ว มักใช้มือมาสัมผัสใบหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นให้ลูก

ป้องกันลูกจากโควิด

วิธีสังเกต โควิดไม่แสดงอาการ เกิดขึ้นกับเรา และลูกหรือยัง

ทั้งนี้เนื่องจากหลังรับเชื้อระยะแรกผู้ป่วยเองอาจยังไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ ก็ยังเข้าสู่สังคม ใช้ชีวิตประจำวันปกติ เดินทางไปมาหาสู่ครอบครัวและเพื่อนพ้อง เมื่อละเลยการป้องกันตัวเอง กลายเป็นพาหะส่งเชื้อให้คนรอบข้างไม่รู้ตัว จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ควรสังเกตอาการตัวเอง หลังจากไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วภายใน 14 วัน ดังนี้

  • มีไข้ ไอ จาม
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ลิ้นแยกรสชาติไม่ได้
  • ปวดเมื่อยร่างกายเล็กน้อย
  • ท้องเสียเล็กน้อย
  • เมื่อยล้า อ่อนเพลีย

โดยอาการของไข้หวัดใหญ่ กับอาการโควิด-19 คล้ายคลึงกัน สิ่งที่พอจะแยกได้คือเรื่องการรับกลิ่นและรับรสชาติ อย่างไรก็ดีหากเดินทางไปยังสถานที่ที่ระบุว่าพบเชื้อสูง ควรแจ้งกับเจ้าหน้าที่คัดกรองก่อนเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย

Must Read >> โควิด อาการ ที่ต้องสังเกต! สัญญาณอันตรายที่ต้องไปโรงพยาบาล

อาการต้องสงสัยว่าเด็ก ๆ เข้าข่ายติดเชื้อไวรัส COVID-19

โดยทั่วไป หากแพทย์จะสงสัยว่าเด็ก ๆ เข้าข่ายติดเชื้อไวรัส COVID-19 หากตรวจพบว่าเด็ก ๆ มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 °C (เด็กส่วนหนึ่งอาจไม่มีไข้ รายงานผู้ป่วยเด็กโรค COVID-19 มีไข้ร้อยละ 40-56) ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก หายใจเร็ว หรือหายใจหอบเหนื่อย ร่วมกับในช่วง 14 วันที่ผ่านมามีประวัติเดินทางไปหรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อนี้อย่างต่อเนื่อง หรือเด็ก ๆ อาจจะมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เข้าข่ายสงสัยหรือยืนยันว่ามีการติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในบ้านเดียวกัน หรือมีประวัติไปในที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด ที่ขนส่งสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น … นอกจากนี้ถ้าเด็กมีอาการปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่พบ หรือเป็นปอดอักเสบที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการตรวจเพื่อหาการติดเชื้อ COVID-19 เช่นกัน

เมื่อสงสัยว่าลูกเข้าข่ายติดเชื้อไวรัส COVID-19 ป้องกันลูกจากโควิด สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ

1. โทรสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (24 ชั่วโมง) ซึ่งหากเด็ก เข้าเกณฑ์จะมีการประสานรถพยาบาลไปรับถึงที่พัก เพื่อไปทำการตรวจยืนยัน

2. ควรเดินทางไปที่สถานพยาบาลด้วยยานพาหนะส่วนตัว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องแจ้งให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทราบว่าเด็กมีความเสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค COVID-19

 


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokbiznews.comwww.si.mahidol.ac.thddc.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓

รวมประกันโควิด 2021 เทียบเบี้ยประกันไวรัสโคโรน่า COVID-19

เชื้อโควิดบนสิ่งของ เกาะลูกบิดประตู อยู่ได้นานแค่ไหน

เรื่องจริงจากหมอ “ทำคลอดแม่ติดโควิด” อันตรายสุด เตือนแม่ อย่าเสี่ยง อย่าปิดข้อมูล

คนท้องตรวจโควิดได้ไหม จำเป็นต้องตรวจไหม อาการแบบไหนไม่ควรปล่อยไว้

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up