วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
วิธีสังเกตสุนัขหรือแมวว่า เป็นโรคดังกล่าวหรือไม่นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากอาการของสัตว์เลี้ยงซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบด้วยกันดังนี้ค่ะ
- แบบดุร้าย สัตว์เลี้ยงจะมีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนรวมถึงสัตว์อื่น ๆ ถ้าผูกโซ่หรือขังกรงไว้ ก็จะกัดโซ่และกรง รวมถึงข้าวของต่าง ๆ จนบางครั้งฟันหักหรือลิ้นเป็นแผลไปเลยก็มี และภายหลังจากที่แสดงอาการดังกล่าวได้แล้วครบ 2-3 วันก็จะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด
- แบบเซื่องซึม สัตว์ที่เป็นโรคดังกล่าวจะชอบอ้าปากหุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ บางครั้งมีสิ่งสกปรกติดอยู่และลิ้นห้อยออกมานอกปาก มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ โดยเจ้าของมักจะเอามือล้วงแต่ไม่พบกระดูก สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้มปากและคอบวม สุนัขจะลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ กินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง ไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน สุนัขแบบหลังนี้จะสังเกตอาการยากมาก ดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ วิธีการตรวจสอบที่ดีที่สุดคือ การตัดหัวไปตรวจสอบนั่นเองค่ะ
กรมควบคุมโรคได้ขอให้ประชาชนป้องกันอย่าให้ถูกลูกสุนัขกัดหรือข่วน โดยยึดหลัก 5 ย. ดังต่อไปนี้
1. อย่าเหยียบ บริเวณลำตัว ขา หรือหางของสัตว์
2. อย่าแยก สัตว์ที่กำลังกัดกัน
3. อย่าแหย่ สัตว์เพราะอาจโดนข่วนหรือกัดได้
4. อย่าหยิบ อาหารขณะสัตว์กำลังกิน
5. อย่ายุ่งกับสัตว์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคย
ดังนั้น ขอให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอย่าชะล่าใจกันนะคะ แค่โดนลูกสุนัขหรือแมวข่วน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยนะคะ เพราะอาจจะเสี่ยง ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ได้โดยที่ไม่รู้ตัว เป็นแล้วไม่มีทางรักษาหายนะคะ ไม่อยากให้ลูกหลานหรือสมาชิกในบ้านต้องเสี่ยง ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ไปด้วยอย่าลืมนะคะ! รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาและฉีดวัคซีนทันที หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมอะไร สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 นะคะ
ขอบคุณที่มา: ไทยโพสต์
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ คลิก!!
-
Kid safety รักน้องแมวรักน้องหมา ต้องพาไปฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า
-
เช็กเลย! ตารางวัคซีน 2561 ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่